การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, ลด น้ำ หนัก, ลด อ้วน, ลดความอ้วน, ลดพุง, วิธีการลดน้ำหนัก, วิธีลดน้ำหนัก, วิธีลดพุง, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้, อาหารลดความอ้วน, อาหารลดน้ำหนัก, อาหารเพื่อสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

ฉันอ้วนไปมั๊ยเธอ?

    “กระจกวิเศษบอกข้าเถิด ฉันอ้วนเลยเถิดไปหรือยัง?” ความอ้วนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงคนไหนๆก็คงไม่ชอบ และไม่ต้องการจะถูกมองว่าเป็นคนที่มีน้ำหนักมากเกินไป พวกเธอเหล่านั้นจึงคอยเฝ้าถามตัวเองในกระจกอยู่บ่อยครั้งว่าตัวเธอนั้น อ้วนมากเกินไปแล้วใช่หรือไม่? แล้วเมื่อไรที่จะผอมเสียที? ความวิตกกังวลเหล่านี้ถูกสะสมขึ้นเรื่อยๆ จนบางคนอาจเข้าขั้นโครม่า จนเป็นที่มาของ “โรคกลัวอ้วน หรือ อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (Anorexia Nervosa)” นั่นเอง

ฉันอ้วนไปมั๊ยเธอ?
ภาพจาก : http://blogilates.tumblr.com/post/8639689043/fat-mirrors-skinny-mirrors ฉันอ้วนไปมั๊ยเธอ?

    ชื่อโรคแสนแปลกประหลาดนี้ น้อยคนนักที่จะเคยได้ยิน แต่อาการของโรคเหล่านี้ไม่ใช่อาการใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ เพราะความวิตกกังวลในความอ้วนของตัวเองนั้น เป็นอาการที่สาวๆหลายต่อหลายคนกำลังประสบพบเจออยู่ แต่จะเป็นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล วันนี้เรามาลองเรียนรู้กันดีกว่าว่าโรคชนิดนี้ร้ายแรงมากน้อยแค่ไหนกัน
รคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) ถือเป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธที่จะรับประทานอาหาร เพื่อความต้องการที่จะคงน้ำหนักไว้ในระดับปกติ โดยพวกเขาเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ผิดที่เกี่ยวกับรูปร่างและน้ำหนักตัวของตัวเอง
บุคคลใดที่เป็นโรคนี้จะเป็นคนที่กลัวความอ้วนเอามากๆ และทนไม่ได้เลยที่จะเห็นว่าน้ำหนักของตัวเองกำลังเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ แม้ว่าความเป็นจริงแล้วพวกเขายังไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า ‘อ้วน’ เลยด้วยซ้ำ แต่ความคิดในสมองจะตอกและย้ำอยู่เสมอว่าตัวเองต้องการจะผอม จนทำให้ปฏิเสธการรับประทานอาหารจนผ่ายผอมผิดปกติ
    มีคนประเภทนี้อยู่ในสังคมของเรามากน้อยแค่ไหนกัน? คุณอาจจะกำลังสงสัยว่าจะมีสักกี่คนที่เป็นกังวลได้มากถึงเพียงนี้ ซึ่งเมื่อสำรวจประชากรโดยส่วนใหญ่แล้ว จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่มากเท่าไรนัก แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคดังกล่าวกลับสูงขึ้นทุกปี และโดยส่วนใหญ่ก็มักพบผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงมากกว่า แล้วสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวมาจากอะไรกันแน่ มาไขคำตอบไปด้วยกันได้เลยค่ะ

         สาเหตุการเกิดโรคยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัด
แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการขาดทักษะในการใช้ชีวิต จากผลการสำรวจมักจะพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กวัยรุ่นที่ย้ำคิดย้ำทำ มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็มักมีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจเรื่องความเป็นตัวของตัวเองอยู่เสมอ บางครั้งจึงรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า และมักทำตามความคาดหวังของผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับในตัวของตัวเอง ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของความต้องการผอมนั่นเอง

    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางสังคมอื่นๆที่เป็นผลให้เกิดค่านิยมแบบผิดๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยมเรื่องความผอมเพรียวที่มีต้นแบบมาจากดาราหรือนางแบบในละครทีวี การกลัวแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อน หรือความต้องการให้เป็นที่สนใจของเพื่อนต่างเพศ เป็นต้น

ฉันอ้วนไปมั๊ยเธอ?
ภาพจาก : http://www.minddisorders.com/A-Br/Anorexia-nervosa.html ฉันอ้วนไปมั๊ยเธอ?

    ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ก็คือ การมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานราว 15% ร่วมไปกับความรู้สึกผิดปกติทางจิตใจ ที่ยังคงมีความเชื่อว่าตัวเองยังคงมีน้ำหนักมากเกินไป หรือมีอวัยวะบางส่วนที่ใหญ่เกินไปอยู่ คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จึงมักจะติดกับความคิดในเรื่องของการควบคุมอาหาร และการลดน้ำหนัก จนไม่มีเวลาสนใจในเรื่องอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการเรียน การทำงาน และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์แย่ลง
    โดยหากแยกย่อย
พฤติกรรมของผู้ป่วย จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบด้วยกัน คือ 1) แบบจำกัด หมายถึง ผู้ป่วยจะรับประทานอาหารน้อย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูง พวกนี้มักจะเน้นการออกกำลังกายแบบหนักหน่วงเพื่อรีดน้ำหนักออกจากร่างกาย 2)
แบบกินมากและออกมาก หมายถึง ผู้ป่วยจะยังคงมีความอยากที่จะรับประทานอาหารอยู่ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้น้ำหนักของตัวเองเพิ่มมากขึ้น คนกลุ่มนี้จึงใช้วิธีทำให้ตัวเองอาเจียน ใช้ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ หรือสวนอุจจาระ หลังการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวขึ้น
    พฤติกรรมของผู้ป่วยทั้งสองแบบล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา จนเป็นผลให้เกิดเป็นความเครียดสะสมขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถทำลายความสุข และก่อให้เกิดความผิดปกติบางอย่างในร่างกายของเราได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะประจำเดือนมาผิดปกติ การขาดความสนใจทางเพศ การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และที่สำคัญคือ ผู้ป่วยจะไม่รับรู้ถึงความผิดปกติของตนเอง และปฏิเสธที่จะเข้ารับการรักษา

    อย่างไรก็ตาม คนรอบข้างจะต้องให้ความใส่ใจกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ และพาพวกเขาเข้ามารับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยการรักษาจะต้องพยายามป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการอดอาหาร โดยการกำหนดโภชนาการที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ อีกทั้งยังจะต้องฟื้นฟูสภาพจิตใจควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการซ้ำเดิมอีก
 ค่านิยมเรื่อง “การกลัวอ้วน” ที่มากจนเกินไป จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หากต้องการจะมีร่างกายที่ผอมได้รูป ก็ควรเปลี่ยนทัศนคติจากการอดอาหาร เป็นการเลือกรับประทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่แทน รวมไปถึงการไม่ลืมที่จะออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อและเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามารถมีหุ่นสวยดังใจแบบไม่ทรมานร่างกายได้แล้วละค่ะ

 

 

 

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)