บทความน่ารู้

ไม่ต้องเป็นห่วง(ยาง)

?พุง? ไขมันส่วนเกินที่เกาะอยู่บริเวณหน้าท้องที่ใครหลายๆคนยากจะกำจัดออกไป พุงที่เกิดขึ้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากเฉพาะเรื่องอาหารการกินเพียงเท่านั้น แต่ปัจจัยในการใช้ชีวิตก็ส่งผลต่อการมีพุงด้วยเช่นกัน

Do-not-worry-rubber-float ไม่ต้องเป็นห่วง(ยางลอย)

ภาพจาก : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=homeindy&month=06-2014&date=03&group=6&gblog=20

           ลักษณะพุงของคนเราสามารถแบ่งแยกได้เป็นหลายประเภท โดยประเภทแรกเรียกว่า ?พุงเป็นชั้น? (Spare Tyre Tummy) จะเป็นพุงที่ได้มาจากการรับประทานอาหารเกินความต้องการร่วมกับการขาดการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่จะเป็นมนุษย์ออฟฟิตที่ทำงานแบบนั่งโต๊ะ และมีนิสัยชอบรับประทานบุฟเฟ่ต์หรือสังสรรค์ยามดึก

            ลักษณะพุงแบบที่สองเรียกว่า ?พุงเครียด? (Stress Tummy) พุงชนิดนี้มักจะเกิดกับคนที่มีนิสัยชอบรับประทานอาหารไม่ตรงตามเวลาหรือมีปัญหาในเรื่องระบบย่อยอาหาร จึงทำให้มีอาการหน้าท้องบวมอืดยื่นออกมาระหว่างช่วงสะดือและกระบังลม กลไกการเกิดพุงเกิดขึ้นได้เมื่อมีความเครียด ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ที่เร่งการผลิตไขมันขึ้นที่บริเวณหน้าท้อง พุงจึงเกิดขึ้นมานั่นเอง

           พุงแบบต่อมามักเกิดขึ้นกับผู้ที่ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ แต่การออกกำลังกายที่ทำอยู่เป็นการออกในท่าซ้ำๆ หรือเป็นการบริหารร่างกายเฉพาะส่วน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจทำให้ร่างกายของคุณดูผอม แต่กลับมีพุงยื่นออกมาเนื่องจากเน้นการออกกำลังกายส่วนท้องมากเกินไป จึงทำให้หน้าท้องมีกล้ามเนื้อป่องออกมา เรียกพุงแบบนี้ว่า พุงหมาน้อย หรือพุงป่องช่วงล่าง (The Little Pooch)

           พุงคุณแม่ ?The Mummy Tummy? เป็นลักษณะพุงแบบเฉพาะของบรรดาคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะกลับสู่สภาพปกติหรือที่เราเรียกว่า มดลูกเข้าอู่ นั่นเอง

          พุงประเภทสุดท้ายก็คือ พุงป่อง (The Bloated Tummy) ซึ่งเกิดมาจากอาหารไม่ย่อยหรืออาจมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหาร ทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ไม่สมบูรณ์ ลักษณะของพุงประเภทนี้จะแบนราบในช่วงเช้าและบวมอืดในช่วงกลางวัน เนื่องจากเกิดแก๊สจากการที่อาหารไม่ย่อยนั่นเอง

           พุงประเภทต่างๆสามารถกำจัดออกไปได้หากทราบสาเหตุของการเกิดพุง ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นพุงจากการรับประทานอาหารที่มากเกินไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการลดปริมาณการรับประทานลงและหมั่นออกกำลังกายที่เป็นการบริหารร่างกายในทุกส่วนของร่างกาย หรือหากเป็นอาการพุงป่องจากแก๊สที่เกิดขึ้นก็อาจแก้ไขด้วยการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดหรือรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักจนเกินไป

           ด้วยรักและห่วง(ใย) คะ

 

Sending
User Review
0 (0 votes)