บทความน่ารู้

เลือกแว่นกันแดดอย่างไรดี

แว่นกันแดดเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยกรองแสงจ้าจากดวงอาทิตย์หรือแสงสปอตไลต์ที่สว่างเกินกว่าดวงตาของเราจะทานทนได้เป็นระยะเวลานานๆ ในปัจจุบันแว่นกันแดดมีการออกแบบมาหลากหลายมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในด้านการป้องกันอันตรายทางสายตาและความสวยงาม แต่หากเราเลือกใช้แว่นกันแดดที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลเสียต่อดวงตาได้มากกว่าการไม่ใส่แว่นกันแดดเสียด้วยซ้ำ

How-great selection-of-Sunglasses เลือกแว่นกันแดดอย่างไรดี

ภาพจาก : http://grippu.com/what-do-you-think-are-the-must-haves-in-a-girls-wardrobe/

            รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) ในแสงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายกระจกตา(cornea) และเรตินา (retina) ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการตาบอดได้ การสวมแว่นกันแดดจึงถือเป็นวิธีการป้องกันดวงตาของเราจากอันตรายดังกล่าวนี้ได้

           แว่นกันแดดที่ดีควรมีเลนส์ที่ไม่ทำให้เกิดความบิดเบี้ยวหรือเกิดการกระจายสีรุ้ง และควรตัดความเข้มแสงได้ประมาณ 70-90% หรืออาจมากกว่านี้หากอยู่ในกิจกรรมที่ต้องเผชิญหน้ากับแสงแดดที่มีความเข้มแสงสูงๆ แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานจะต้องกรองรังสียูวีบี (UVB) หรือรังสีที่อยู่ในความถี่ 280-315 นาโนเมตร และรังสียูวีเอ (UVA) ที่อยู่ในย่านความถี่ 100-280 นาโนเมตรได้ ส่วนวัสดุที่นำมาใช้มีได้หลายชนิด เช่น เลนส์แก้ว เลนส์พลาสติก และเลนส์พลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต  การเลือกใช้ก็แล้วแต่ความต้องการและความชอบส่วนบุคคล ซึ่งแต่ละเลนส์ก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น เลนส์พลาสติกจะมีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทก แต่มีความแข็งต่ำและเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย เป็นต้น   

           สีของเลนส์ที่ต่างกันก็เหมาะกับการใช้งานในสภาพที่แตกต่างกันไป หากเป็นเลนส์สีชาและสีเทาดำจะเหมาะกับการใช้งานทั่วๆไป ในขณะที่เลนส์สีเหลืองหรือทองเหมาะกับการใช้ในภูมิประเทศที่มีหิมะ และเลนส์สีม่วงเหมาะกับการใช้ในการเดินป่าหรือเล่นกีฬาทางน้ำ
           แว่นกันแดดที่ไม่ได้มาตรฐานที่อาจพบเจอได้ เช่น สีเลนส์เข้มเกินไป เลนส์ทั้งสองข้างกรองแสงได้ไม่เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีปัญหาในการมองเห็นเมื่อสวมใส่ได้อย่างเกิดอาการมึนงงหรือมองเห็นภาพซ้อนได้ ในขณะที่แว่นกันแดดบางชนิดอาจป้องกันได้เฉพาะแค่แสงสว่าง แต่ไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ ทำให้เมื่อสวมแว่นชนิดนี้ ม่านตาจะสามารถเปิดรับแสงมากขึ้น จึงทำให้รังสี UV ทะลุเข้าสู่นัยน์ตาได้มากกว่าเดิมขึ้น ส่งผลกระทบต่อสายตาในระยะยาวได้

      

   

 

Sending
User Review
0 (0 votes)