บทความน่ารู้

โนโมโฟเบีย เพราะชีวิตขาดมือถือไม่ได้

ในยุคที่การสื่อสารสามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายเพียงปลายนิ้วมือ มือถือหรือสมาร์ทโฟนจึงเปรียบเสมือนอวัยวะสำคัญชิ้นที่ 33 ที่ติดตัวเราไปในทุกๆที่ จนในบางที การใช้สมาร์ทโฟนมากจนเกินไปก็นำพาเราไปสู่โรคใหม่ที่ใกล้แค่เอื้อม

           ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า สมาร์ทโฟนถือเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะนอกเหนือจากความสามารถในการเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลกแล้ว ยังช่วยให้เรารับรู้ข่าวสารต่างๆได้อย่างทันท่วงที ไม่มีตกหล่น แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ สมาร์ทโฟนก็เช่นกัน เพราะมันก็ย่อมมีข้อเสียที่อาจทำร้ายคุณได้แบบไม่ทันตั้งตัว

Euphorbia-Mountain-district-because-they-do-not-run-out-of-lives โนโมโฟเบีย เพราะชีวิตขาดมือถือไม่ได้

ภาพจาก : http://blog.you-ng.it/wp-content/uploads/sites/4/2014/05/o-PHONE-ADDICT-facebook.jpg

          ?โนโมโฟเบีย (NoMophobia)? ย่อมาจากคำว่า “No Mobile Phone Phobia” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตที่พบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน ศัพท์คำนี้ได้รับการบัญญัติโดยองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ในปี 2008 และจัดเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มวิตกกังวล อาการของโรคชนิดนี้เป็นอาการของคนที่กลัวการขาดโทรศัพท์มือถือ และมักเกิดอาการกระวนกระวายหรือวิตกกังวลทุกครั้งที่จำเป็นต้องห่างจากมือถือของตน อาการดังกล่าวนี้สามารถพบในมากที่สุดในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่มีนิสัยที่ชอบอัพเดตข่าวสาร ชอบพูดชอบคุยมากกว่าในเพศชาย

           และเนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่ บางคนอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตนกำลังตกเป็นเหยื่อของเจ้าโรคโนโมโฟเบียนี้อยู่ วันนี้เรามีขอสังเกตเพื่อให้คุณลองพิจารณาดูว่า ?คุณนั้นตกอยู่ในภาวะดังกล่าวไปแล้วหรือยัง??

           ของสิ่งแรกและสิ่งสุดท้ายที่คุณจับ (ยกเว้นนาฬิกาปลุก) หลังจากตื่นนอนหรือก่อนเข้านอนคือสมาร์ทโฟนใช่หรือไม่?

           ลองเช็คตัวเองดูสิว่า หากในระหว่างที่คุณกำลังยุ่งอยู่กับการทำงาน แล้วมีเสียงเตือนจากโทรศัพท์ที่อาจจะมาจากไลน์แชทหรือวอทแอป เสียงเตือนเหล่านี้ทำให้คุณละทิ้งงานทุกสิ่งอย่างแล้วเบนความสนใจไปยังที่สมาร์ทโฟนเลยทันทีหรือไม่? แล้วถ้าไม่ได้หยิบมันขึ้นมาดูละ คุณรู้สึกกระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลน จนทำให้รู้สึกขาดสมาธิในการทำงานไปเลยหรือป่าว?

           เคยหรือไม่ ที่รู้สึกไปเองว่าโทรศัพท์ของคุณกำลังสั่นหรือมีเสียงดัง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วไม่ได้ใครโทรเข้าหรือทักคุณมาเลย

           ทุกๆครั้งที่หยิบสมาร์ทโฟนคู่ใจขึ้นมา คุณเกิดอาการ FOMO (Fear Of Missing Out) หรือไม่? อาการนี้ก็คือคุณจะต้องคอยอัพเดทข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรมอยู่ตลอดเวลา เพื่อตรวจดูว่ามีอะไรที่คุณยังไม่รู้หรือยังไม่ทันเห็นแล้วจะทำให้คุณพลาดข่าวสำคัญของดาราที่ชื่นชอบหรือกลัวจะไม่รู้ว่าวันนี้เพื่อนของคุณไปเที่ยวที่ไหน ทำอะไร หรือ กินอะไรบ้างหรือป่าว?

แล้วเวลาที่อยู่กับคนอื่นที่คุณรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นเวลาบนโต๊ะอาหารหรือในเวลาอื่นๆ คุณมัวแต่นั่งจิ้มมือถืออยู่ตลอดเวลาโดยไม่สนทนากับคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าบ้างเลยหรือไม่?

ถ้าวันใดวันหนึ่ง คุณเกิดลืมสมาร์ทโฟนสุดหวงไว้ที่บ้าน คุณจะรู้สึกอย่างไร? แทบจะขาดใจ หรือรู้สึกกะวนกระวายใจมากหรือไม่? หรือว่าไม่อยากทำอะไรอีกเลยในวันนั้นจนกว่าจะได้กลับไปหาสมาร์ทโฟนของคุณหรือป่าว?

           ถ้าคำตอบส่วนใหญ่ของคุณคือ ?ใช่? คุณก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าข่ายของโรคโนโมโฟเบียนี้ไปแล้วละคะ

           อย่าเพิ่งกังวลใจไปหากว่าคุณคือคนหนึ่งที่กำลังเป็นโรคโนโมโฟเบีย เพราะอาการนี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้กลับมาเหมือนคนปกติดังเดิม

           เริ่มต้นจากการพยายามใช้มือถือแต่เท่าที่จำเป็น หรือวางมือถือให้ไกลตัวมากที่สุด และลองหากิจกรรมอื่นๆที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมาทำทดแทน เช่น ออกกำลังกาย ร้องคาราโอเกะ จัดงานปาร์ตี้ เป็นต้น แต่ถ้ารู้สึกว่า ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็หักห้ามใจตัวเองไม่ไหว ก็อาจจะต้องลองปรึกษาจิตแพทย์เพื่อให้คุณหมอช่วยปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติด้วยวิธีการทางการแพทย์ ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อาการหนักสุดๆจริงๆ

 Euphorbia-Mountain-district-because-they-do-not-run-out-of-lives-2 โนโมโฟเบีย เพราะชีวิตขาดมือถือไม่ได้

ภาพจาก : http://www.idigitaltimes.com/articles/21047/20131205/smartphone-addiction-more-half-owners-believe-suffer.htm

           การพยายาม ลด ละ เลิก การใช้มือถือแบบเกินความจำเป็น นอกจากจะทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มากไป เช่น โรคนิ้วล็อก อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อลำคอ สายตาผิดปกติ หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือโรคอ้วน เป็นต้น
           นอกจากนี้ การที่คุณไม่หมกมุ่นกันข่าวสารในโซเชียลเนตเวิคมากเกินไป จะช่วยทำให้คุณมีเวลาในการทุ่มเทกับการเรียนหรือการงานมากขึ้น การพยายามจัดลำดับความสำคัญจะทำให้คุณรู้ว่าอะไรสำคัญมากกว่ากันระหว่างงานที่อยู่ตรงหน้า กับการตอบเพื่อนว่าวันนี้จะกินข้าวเย็นที่ไหน ซึ่งหากคุณสามารถปรับเปลี่ยนความคิดตรงจุดนี้ได้ก็จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

           ลองคิดย้อนกลับไปดูสิว่าในอดีตที่คุณเติบโตมา คุณก็สามารถใช้ชีวิตผ่านมาได้แม้จะไม่มีโทรศัพท์เลยสักเครื่องเดียว คุณผ่านช่วงเวลาเหล่านี้มาได้อย่างไร? อย่าปล่อยให้เทคโนโลยีอันแสนทันสมัยมาพรากคุณออกจากความรักและอบอุ่นของเพื่อน ครอบครัว และคนใกล้ชิดอีกเลย ใช้มือถือเท่าที่จำเป็นก็เพียงพอเพื่อต่อเวลาให้คนรอบข้าง…ใกล้ๆคุณ

 

Sending
User Review
0 (0 votes)