การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, เกี่ยวกับโรค

เช็คความเสี่ยง [โรคซึมเศร้า] มีมากกว่า 6 ข้อ ต้องพบหมอด่วน!

    เวลาเจ็บป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะอื่นๆ ก็ยังพอที่จะสังเกตอาการของโรค หรือความผิดปกติที่แสดงออกทางใดทางหนึ่งได้ แต่สำหรับโรคที่เกี่ยวข้องทางจิตใจแล้ว ยากเหลือเกินที่จะรับรู้ได้ด้วยการสังเกต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ที่เป็นโรคเงียบๆที่น่ากลัวมากๆ และฆ่าชีวิตของคนไปอย่างช้าๆ แบบที่ผู้ป่วยไม่ทันตั้งตัว กว่าที่คนรอบข้างจะรู้ บางทีก็สายเกินไปเสียแล้ว

    โรคซึมเศร้า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คน ฆ่าตัวตายมากขึ้นทุกวัน และบางคนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังตกเป็นหนึ่งในผู้ป่วยทางจิตโรคนี้เข้าให้แล้ว หากคุณกำลังเป็นกังวลอยู่ ลองมาตรวจเช็กสภาพจิตใจกันสักนิดดีกว่าว่า คุณมีภาวะโรคซึมเศร้าติดตัวอยู่บ้างหรือเปล่า?”

 

    วิธีการตรวจสอบทำได้ง่ายๆด้วยตัวคุณเอง เพียงแค่ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดู โดยคำตอบที่ตอบจะต้องเป็นความจริง อย่าโกหกตัวเอง และตอบจากประสบการณ์โดยตรงของคุณในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านคำถามกันเลย

1. รู้สึกจิตใจหม่นหมอง(เกือบตลอดทั้งวัน) หรือไม่

2. รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้

3. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก

4. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ

5. รู้สึกผิดหวังในตนเอง และโทษสิ่งที่เกิดขึ้น

6. รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง

7. รู้สึกอยากอยู่คนเดียวไม่อยากสุงสิงกับใคร

8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า

9. คิดอะไรไม่ออก

10. หลงลืมง่าย

11. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ

12. ทำอะไรอืดอาด เชื่องช้ากว่าปกติ

13. รู้สึกอ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง

14. รู้สึกเบื่ออาหาร กินได้น้อยกว่าเดิม

15. นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท

 

    ถ้าคุณตอบว่า ใช่ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไปจาก 15 ข้อ นั่นหมายความว่า คุณเริ่มจะมีภาวะซึมเศร้าแล้ว และไม่ควรปล่อยไว้เช่นนี้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาต่อไป

    จากการสำรวจประชากรไทย พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วถึงร้อยละ 5 หรือกว่า 3 ล้านคน ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงคนที่ไม่รู้ตัวเองว่าป่วยเป็นโรคนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยจึงถือเป็นปัญหาที่ถูกเฝ้าจับตามองเป็นอันดับ 4 และพบว่ามีผู้ที่ฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 60 ในบรรดาผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ง่ายกว่าคนปกติถึง 3 เท่า ดังนั้น โรคนี้จึงเป็นโรคที่สังคมควรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด

เช็คความเสี่ยง [โรคซึมเศร้า] มีมากกว่า 6 ข้อ ต้องพบหมอด่วน!
ภาพจาก : http://www.thaihealth.or.th/Content/27133-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html เช็คความเสี่ยง [โรคซึมเศร้า] มีมากกว่า 6 ข้อ ต้องพบหมอด่วน!


    อย่าคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นความอ่อนแอ ความล้มเหลวในชีวิต หรือไม่มีความสามารถในการดำเนินชีวิต แต่โรคที่ว่านี้เป็นเพียงแค่การเจ็บป่วยทางจิตใจแบบชั่วคราวเท่านั้น และสามารถหายจากอาการดังกล่าวได้ หากได้รับการปฏิบัติดูแลอย่างถูกวิธีทั้งจากตัวคุณเองและคนรอบข้าง

    ความเจ็บป่วยทางจิตใจนี้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสาเหตุใด ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นแล้วก็ยังสามารถรักษาให้หายได้อยู่ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับยา การรักษาทางจิตใจ หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน

 

    ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะชอบเก็บตัว ย้ำคิดย้ำทำ เชื่องช้า เซื่องซึม ไม่เห็นความสำคัญของการมีชีวิตอยู่ และชอบพูดสั่งเสียอยู่เรื่อย ๆ อาการของผู้ป่วยจะหนักมากที่สุดในช่วง 2-3 เดือน ซึ่งถือเป็นช่วงที่อันตรายมากที่สุด
แต่ถ้าพ้นช่วงนี้ไปได้แล้วก็จะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งอาการสามารถกำเริบหนักอีกครั้งเมื่อใดก็ได้ทั้งนั้น

 

    สำหรับใครที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้ ต้องไม่ลืมที่จะดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด ให้ความใส่ใจ และสนใจพวกเขามากกว่าปกติ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ามีดังต่อไปนี้

  1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป
  2. แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ จัดลำดับความสำคัญและแก้ไขทีละเรื่อง
  3. อย่าพยายามบังคับตนเอง เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
  4. พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น
  5. เลือกทำกิจกรรมที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้นและไม่หนักเกินไป เช่น การออกกำลังกาย การชมภาพยนตร์ เป็นต้น
  6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออก การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิด
  7. ไม่ควรตำหนิหรือลงโทษตนเองที่ทำไม่ได้อย่างที่ต้องการ
  8. อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเอง เพราะมันสามารถหายไปได้เองเมื่อรักษาหายดี

    ญาติผู้ป่วยหรือคนรอบข้าง เป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยหายจากอาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่ได้ เพราะการรักษาต้องเน้นการช่วยเหลือผู้ป่วยด้านจิตใจเป็นหลัก นอกจากนี้จะต้องมีการได้รับยา
พร้อมทั้งการทำจิตบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจด้วย 
ผู้ป่วยจะได้หายได้เร็วขึ้น

 

    อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถเกิดซ้ำ ไม่ใช่โรคที่เป็นแล้วหายขาดในทันที หากได้รับการดูแลที่ไม่ดีเพียงพอก็อาจป่วยเป็นเช่นเดิมอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น การรักษาอย่างต่อเนื่องและการได้รับการดูแลอย่างดีด้านจิตใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ หากมั่นใจว่าสามารถควบคุมสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ก็คงไม่ยากที่จะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ดังเดิม

 


error

Enjoy this blog? Please spread the word :)