ทุกคนรู้ดีว่า ‘ยุง‘ เป็นสัตว์พาหะที่นำโรคมาสู่มนุษย์มากมายหลายชนิด ทั้งไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย หรือโรคภัยอื่นๆ คนส่วนใหญ่จึงมักจะไม่ปล่อยให้ยุงมากัด เห็นเมื่อไหร่ก็ต้องตบ ต้องตี หรือต้องมียาจุดกันยุงไว้เป็นอาวุธ
ยิ่งหน้าฝน น้ำขัง ยุงร้ายยิ่งระบาดหนัก นอกจากจะต้องคว่ำหม้อ คว่ำไหแล้ คนส่วนใหญ่ก็มักจะใช้วิธีไล่ยุงโดยการ “จุดยากันยุง” ตามมุมต่างๆของบ้าน เมื่อยุงได้กลิ่นของยากันยุง มันก็จะกลัวและไม่กล้าบินเข้ามาใกล้ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความปลอดภัยจากการโดยยุงกัดได้มากขึ้นนั่นเอง
แต่ประโยชน์ของยากันยุงอาจจะไม่เพียงพอในการกลบโทษของมัน เพราะคุณรู้ไหมว่า…การสูบดมกลิ่นของยาจุดกันยุงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มีผลทำให้คนได้รับอันตรายได้ ยาจุดกันยุงไม่ใช่แค่ไล่ยุงเท่านั้น แต่คนเองก็ไม่ควรสูดดมกลิ่นเหล่านี้เข้าไปมากๆเช่นกัน ทั้งนี้เพราะว่ายาจุดกันยุงมีส่วนประกอบเป็นสารเคมีหลายชนิด หากใช้อย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกวิธีก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนได้
หากไม่ต้องการวางยาตัวเองด้วยยาจุดกันยุง ต้องรับทราบถึงข้อเสียของมันให้ละเอียดลึกซึ้ง “ยาจุดกันยุงเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างไรบ้าง” “มีวิธีป้องกันอันตรายจากยาจุดกันยุงอย่างไร” ตามไปหาคำตอบกันค่ะ
ซึ่งเป็นสารเคมีที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ โดยสารไพรีทรอยด์ตัวนี้จะเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทของยุง ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตายในเวลาต่อมา ส่วนควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงก็ยังช่วยลดอัตราการกัดของยุงได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราจุดยาจุดกันยุงเมื่อไหร่ จึงช่วยในการป้องกันยุงได้นั่นเอง
แต่ก็เหมือนกรรมตามสนอง เพราะเมื่อเราฆ่ายุงจากยาจุดกันยุง สารจากสิ่งนี้ก็ย้อนกลับมาทำร้ายเราได้เช่นกันหากเราใช้มันในปริมาณที่มากเกินไป หรือจุดยาจุดกันยุงในบริเวณที่คับแคบ ไม่มีอากาศถ่ายเทนานๆ
เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุง มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้แบบปกติ จึงมักไม่พบการเกิดพิษแต่อย่างใด
![[ยาจุดกันยุง] ยุงไม่เหลือ คน(อาจจะ)ไม่รอด](https://xn--22c0cohr1b8cc2cr6npa.com/wp-content/uploads/2016/08/083016_1346_2-1.jpg)
อาการเบื้องต้น
1. การสูดดม หากเป็นการสูดดมในปริมาณมากและยาวนาน จะทำให้รู้สึกหายใจติดๆ ขัดๆ หรือหายใจไม่สะดวก
2. การสัมผัสทางผิวหนัง ก่อให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะคนที่ผิวหนังแพ้ง่ายจะมีอาการคัน มีผื่นแดง ทั้งนี้เพราะสารระเหยสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย
3. การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
4. การสัมผัสทางตา เมื่อสารจุดกันยุงเข้าตาจะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง เจ็บตา น้ำตาจะไหล
ทั้งหมดนี้จะไม่เป็นอันตรายหากได้รับปริมาณน้อย หรือแก้ไขได้ทัน แต่ถ้ามีการสะสมของสารระเหยในยาจุดกันยุงเป็นเวลานานๆ สารระเหยจะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือก และทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ อีกทั้งยังเข้าไปทำลายปอด ทรวงอก ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจถี่รัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และหากได้รับในปริมาณสูงมากๆจะมีอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้
หากไม่อยากจะต้องมาเจ็บป่วยเพราะยาจุดกันยุง ก็ต้องรู้จักวิธีการป้องกันอันตรายที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการใช้ยาจุดกันยุงให้ได้มากที่สุด จุดเฉพาะเวลาที่จำเป็น และใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
- จุดให้ห่างจากบริเวณที่มีคนอยู่ และวางไว้เหนือลม
- จุดยากันยุงเฉพาะในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดีเท่านั้น หากเป็นห้องปิดหรือห้องที่มีอากาศอับชื้นไม่ควรจุดเด็ดขาด
- ขาตั้งและสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะหรือวัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ และวางให้ห่างจากของไวไฟ ทั้งนี้เมื่อเลิกใช้ยากันยุงแล้วควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้
- ระวังไม่ให้สารระเหยจากยากันยุงสัมผัสถูกอาหาร หรือไม่ควรจุดยากันยุงใกล้กับบริเวณที่รับประทานอาหาร
- ล้างมือให้สะอาดทุกๆ ครั้งหลังการหยิบหรือสัมผัสยาจุดกันยุง
สารจากยาจุดกันยุงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของมารดาอย่างสูง เพราะฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงไม่ควรใช้หรืออยู่ในบริเวณที่มีการจุดยากันยุง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงจะมีการปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอม เพิ่มกลิ่นอื่นเข้าไปเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นที่เหม็นจนคนทนไม่ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้อันตรายของยาจุดกันยุงลดน้อยลง
ดังนั้น หากต้องการปลอดภัยและหายใจอย่างสะอาด เราจึงควรปฏิบัติตนเพื่อถูกต้องเพื่อให้ห่างไกลจากอันตรายของยาจุดกันยุง ใช้มันอย่างพอเหมาะและถูกวิธี เพียงเท่านี้สุขภาพที่ดีก็จะอยู่กับเราตลอดไปแล้ว