การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, อาหารเพื่อสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

เชื้อรา…อันตรายที่มองไม่เห็น

    เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ตาเรามองไม่เห็น แต่ที่เรามองเห็นมันตามชิ้นขนมปังหรือเฟอร์นิเจอร์ไม้ นั่นหมายความว่ามันเจริญเติบโตจนเกาะกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน และอันตรายมากแล้ว ซึ่งการได้รับเชื้อราเข้าไปในเวลานั้นอาจเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆไปจนถึงการเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ายังไม่อยากต้องเจ็บป่วยเพราะเชื้อรา มาลองหาวิธีการป้องกันเชื้อราเหล่านั้นกันสักหน่อยดีกว่าค่ะ

    เชื้อรามักจะพบในสภาพแวดล้อมที่มืดและชื้น อากาศหน้าฝนจึงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรามากที่สุด ส่วนในฤดูอื่นๆก็สามารถเกิดได้เช่นกันแต่มีโอกาสร้อยกว่า โดยเชื้อราจะพัฒนาเป็นเส้นใยเล็กๆและแพร่พันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ขนาดเล็กมากๆ ซึ่งมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความชื้นจะส่งเสริมต่อการเติบโตของเชื้อรา และอันตรายจะมากขึ้นเมื่อมีการสะสมของเชื้อราที่มากขึ้น

    อันตรายที่เกิดขึ้นจากเชื้อรานี้มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด อาการของการเจ็บป่วยจากเชื้อราสังเกตได้อย่างไร หากได้รับเชื้อราเข้าไปในร่างกายแล้ว คุณควรจะทำอย่างไรให้สามารถรักษาตัวเองได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา ถ้าต้องการมีร่างกายที่แข็งแรงตลอดไปต้องรู้เอาไว้เลย

    เพราะในสิ่งแวดล้อมมีสปอร์ของราล่องลอยไปมา ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการรับสปอร์ของราได้ 100 % อย่างไรก็ตาม ร่างกายก็มีระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นขนจมูกที่อยู่ปากทางของระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงระบบเม็ดเลือดที่คอยต่อต้านภายในร่างกาย

    แต่การปกป้องเพียงเท่านี้อาจยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอแค่เราได้รับเชื้อราในปริมาณเล็กน้อย ก็อาจเป็นอันตรายแก่สุชภาพของเราได้ ส่วนคนที่มีอาการภูมิแพ้หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็จะทำให้พวกเขามีอาการแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มการดูแลสุขลักษณะภายนอกที่ดี เพื่อป้องกันการแพร่ขยายของเชื้อราเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

เชื้อรา...อันตรายที่มองไม่เห็น
ภาพจาก : http://health.sanook.com/3909/ เชื้อรา…อันตรายที่มองไม่เห็น

    อันตรายของเชื้อราจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ชนิดของราด้วย ว่าเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดโรคหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เชื้อราเหล่านี้จะก่อให้เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งทางระบบหายใจหรือผิวหนังเฉพาะกับคนที่แพ้เท่านั้น แต่จะไม่เกิดกับคนทั่วไปที่แข็งแรง

    กลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น คนที่เป็นโรคเอดส์ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่กำลังมีการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์และเคมีบำบัด รวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น คนที่เป็นโรควัณโรค หรือ cystic fibrosis เป็นต้น

    โดยอาการแพ้ที่อาจพบได้ เช่น น้ำมูกไหล หายใจไม่ออก น้ำตาไหล มีผื่น ผิวหนังอักเสบ จมูกอักเสบ เป็นต้น
ส่วนอาการเจ็บป่วยจากเชื้อราก็มีได้หลากหลายอาการ เช่น

  1. อาการปวดหัว ศีรษะวิงเวียน คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง และ ท้องเสีย
  2. ช็อค มึนงง รู้สึกชา สมองตื้อ มีปัญหาเรื่องการโฟกัสและความจำ
  3. ปัสสาวะบ่อยขึ้น กระหายน้ำตลอดเวลา
  4. อ่อนเพลียเมื่อยล้าและหลังออกกำลังกายจะมีอาการป่วยไข้
  5. มีกลิ่นโลหะในช่องปาก
  6. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว ปวดข้อโดยที่ข้อไม่ได้อักเสบ ปวดเส้นประสาทเป็นประจำและรุนแรงขึ้น
  7. น้ำหนักเพิ่มเรื่อยๆ ทั้งๆที่พยายามคุมน้ำหนักอยู่เสมอ
  8. ตาแดง และ ตาพร่ามัวเมื่อเจอแสง
  9. สั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน และปัญหาการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  10. ไอ, หายใจช้าลง, ปัญหาไซนัส อาการของโรคหอบหืด และ หายใจถี่
เชื้อรา...อันตรายที่มองไม่เห็น
ภาพจาก : http://blog.bondsociety.com/2015/05/30/candida/ เชื้อรา…อันตรายที่มองไม่เห็น



    ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าววมานี้จะไม่เกิดขึ้น หากเรามีวิธีการป้องกันที่ดี โดยวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

    1. ควรรักษาความสะอาดภายในบ้านให้ดี โดยเฉพาะตู้เย็น ผ้าเช็ดจาน ภาชนะใส่อาหาร หรือแม้กระทั่งเคาท์เตอร์ในครัว เพราะนั่นเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำเพี่อป้องกันเชื้อรา

    2. หากทราบว่าบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ในบ้านมีเชื้อรา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้ หากจำเป็นควรป้องกันโดยหาที่ปิดปากและจมูกมาใส่

    3. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นละอองเยอะ บริเวณที่มีคนอยู่หนาแน่น เพราะบริเวณเหล่านั้นจะมีการระบายอากาศที่ไม่ดี และจะทำให้สปอร์ของเชื้อรากระจายอยู่ในบริเวณนั้นมาก

    4. หมั่นสำรวจส่วนต่างๆของบ้านว่ามีราแอบแฝงอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งบ้างหรือไม่ โดยบริเวณที่มักจะพบมากและควรตรวจสอบบ่อยๆ เช่น ห้องน้ำ ผ้าม่าน พรม หน้าต่าง เบาะนั่ง หมอน ผนังห้อง หวี เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อย่าอาศัยการดม เพราะเชื้อราไม่มีกลิ่น ทำให้การดมไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
แต่อาจจะลองสังเกตจากตัวเอง ว่าเมื่อเข้าใกล้บริเวณไหนแล้วเริ่มมีอาการแพ้ต่าง ๆบ้างหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ต้องตามหาเชื้อราให้เจอ

       5. เชื้อราเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้น ดังนั้น จึงควรควบคุมระดับความชื้นภายในบ้าน ไม่ให้เกิน 40%

    การทำเช่นนี้จะทำให้ร่างกายของเราห่างไกลจากเชื้อราได้มากขึ้น และทำให้ร่างกายที่อ่อนแอกลับมาแข็งแกร่งได้มากขึ้นเช่นกัน เมื่อเราป้องกันทุกอย่างได้ดี ร่างกายของเราก็จะปลอดภัยจาก “รา” ได้อย่างแน่นอน ลมหายใจจะสดชื่น และหมดสิ้นความกังวลเรื่องนี้อีกต่อไป ไม่เชื่อต้องลองดูค่ะ