การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี

อย่าอั้นตดนะ

จะมีใครบางหรือไม่ค่ะที่ไม่เคยผายลมหรือตด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นกลไกของร่างกาย และเกิดขึ้นเพื่อปรับร่างกายให้สมดุล โดยในวันหนึ่งๆ คนเราอาจจะผายลมได้มากถึง 10-20 ครั้ง หรือคิดเป็นปริมาณแก๊สประมาณ 0.5-1 ลิตรต่อวัน…ไม่น้อยเลยใช่ไหมค่ะ?

    โดยสาเหตุของการผายลมเกิดได้มากมาย โดยหลักการเกิดเพราะมีการรวมตัวกันของแก๊สหลายชนิด มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน ซึ่งก๊าซจะเกิดขึ้นมากเมื่อเครียด สูบบุหรี่ มีน้ำมูก เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รวมทั้งการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเกิดขึ้นเพราะเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ไม่สามารถย่อยอาหารบางประเภทได้หมด และเมื่อมีก๊าซสะสมกันอยู่มากมาย ก็จำเป็นต้องปลดปล่อยออกมา

    อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยอยากจะพูดถึงกันซักเท่าไหร่ และไม่อยากจะต้องผายลมต่อหน้าที่สาธารณะ ส่งผลให้ต้อง “อั้น” มันเอาไว้ภายใน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้

อย่าอั้นตดนะ
อย่าอั้นตดนะ — ภาพจาก aroka108.com/ผายลม-สัญญานเตือนสุขภาพ/


    ทั้งนี้ เรายังยืนยันให้คุณปล่อยมันออกมาในเวลาและสถานที่ๆเหมาะสม เพราะการอั้นการผายลมส่งผลให้เกิดข้อเสียต่อร่างกายมากมาย และการได้ปลดปล่อยออกมาก็ทำให้ร่างกายได้ประโยชน์ด้วย ดังต่อไปนี้

    1. ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

    อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ และใช้ชีวิตไม่สนุกแน่นอน เพราะท้องของเรามีกรดในกระเพาะมากเกินไป ดังนั้น การได้ผายลมจึงเหมือนการได้ปลดปล่อยก๊าซส่วนเกิน ช่วยลดอาการท้องอืดได้เป็นอย่างดี

    2. ช่วยควบคุมอาหาร

    หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าการผายลมจะไปเกี่ยวอะไรกับการควบคุมอาหาร แต่รู้ไว้เลยว่า…การผายลมจะเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าเรากินอาหารมากเกินไปหรือเปล่า? กินเนื้อสัตว์มากเกินไปมั๊ย? กินผักน้อยเกินไปมั๊ย? เพราะกลิ่นจากการผายลมนี่แหละที่บอกลักษณะการกินได้อย่างชัดเจน โดยถ้าวันไหนที่ทานเนื้อสัตว์เยอะ ลมที่ผายออกมาจะน้อยแต่กลิ่นแรง ในขณะที่การทานผัก จะทำให้ผายลมเยอะลม แต่ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง

    3. ช่วยลดอาการปวดท้อง

    จากที่บอกไปแล้วว่าการผายลมช่วยให้ลดก๊าซในร่างกายได้ ดังนั้น จึงช่วยลดอาการปวดท้องได้เช่นกัน ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ส่งผล 100% ก็ตาม แต่ถ้าเรามีกรดแก๊สในกระเพาะมากเกินไป ก็อาจทำให้รู้สึกปวดท้องตามมาได้

    4. ไม่ส่งผลเสียต่อลำไส้เสีย

    โดยปกติแล้ว กลไกการทำงานของร่างกายจำเป็นต้องมีการกำจัดแก๊สของเสียอยู่แล้ว แต่ถ้าเรากลับเลือกที่จะอั้น ปิดกั้น และไม่ยอมให้มันปล่อยออกมาตามธรรมชาติ เท่ากับว่าเรากำลังไปฝืนการทำงานของระบบร่างกายอยู่ ช่วงแรกๆหรือเวลาที่ร่างกายยังไม่แก่คงจะไม่เป็นไร แต่ถ้าร่างกายแก่ตัวลงอาจส่งผลเสียและทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ในอนาคตได้

    5. ถึงจะเหม็น…แต่การดมกลิ่นตดเป็นสิ่งที่ดี

    คุณอาจจะไม่เชื่อ! แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter ได้ค้นพบว่า…การผายลมของเราจะมีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์อยู่ ซึ่งแก๊สนี้สามารถช่วยให้ไมโทคอนเดรียไม่ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเซลล์ในร่างกายของเรา นอกจากนั้น กลิ่นผายลมยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ หรือโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องระบุปริมาณที่เหมาะสม เพราะดมมากไปอาจเป็นอันตรายได้

    6. ผายลมบอกสุขภาพ

    เช่นเดียวกับเรื่องของอาหารการกิน เพราะนอกจากว่ากลิ่นผายลมจะบอกว่าคุณกินอะไรเข้าไปบ้างแล้ว พฤติกรรมการผายลมยังบอกสุขภาพของคุณได้ด้วย

    ลองสังเกตดูสิว่าในแต่ละวันคุณผายลมบ่อยแค่ไหน? กลิ่นรุนแรงไหม? เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นตัวชี้วัดสุขภาพร่างกายของเราได้ดีทีเดียว

    7. บ่งบอกอาการแพ้อาหาร

    บางครั้งอาการแพ้อาหารบางชนิดอาจจะไม่ได้บอกได้ในรูปของผื่นคัน แต่มาในรูปแบบของกลิ่นแทน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า…หลังจากที่ทานอาหารเสร็จแล้ว ถ้าคุณรู้สึกว่าร่างกายต้องการจะผายลมทันที นั่นบอกได้ถึงว่าร่างกายมีสิทธแพ้อาหารที่เพิ่งทานเข้าไปได้สูง

    สุดท้ายแล้ว การผายลมก็เป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อได้ปลดปล่อยแบบถูกที่ถูกเวลา คุณก็ย่อมรู้สึกดีอย่างแน่นอน แม้ว่าการผายลมในที่สาธารณะจะดูไม่ใช่เรื่องดี แต่ก็ต้องรู้จักปล่อยให้ถูกกาละเทศะด้วย

อย่าอั้นตดนะ
อย่าอั้นตดนะ — ภาพจาก :  aroka108.com/ผายลม-สัญญานเตือนสุขภาพ/


    อย่างไรก็ตาม ใครที่รู้สึกว่าตัวเองผายลมมากเกินไป และอยากจะลดๆให้มันน้อยลง ก็ต้องรู้จักวิธีป้องกันการผายลม ดังต่อไปนี้

เทคนิคป้องกันผายลม

     1.อย่ารับประทานอาหารหรือน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างกินเราจะกลืนอากาศเข้าไปด้วย ทำให้อากาศเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น วิธีที่ถูกต้องคือการเคี้ยวช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด ก็จะช่วยได้

    2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มมีแก๊ส เช่น เบียร์ โซดา น้ำอัดลม

    3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มปรุงสำเร็จที่มีส่วนประกอบของน้ำเชื่อมฟรัคโทส เพราะจะทำให้ท้องอืดหรือผายลมมากขึ้น

    4. หยุดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เปรียบเสมือนการสูบอากาศเข้าไปในร่างกายด้วย แถมยังไม่ดีต่อระบบทางเดินหายใจหรือปอดของเราด้วย

    5. ลดอาหารที่มีกำมะถัน เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ กะหล่ำปลี เพราะอาหารประเภทนี้จะทำให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น หรือลดการรับประทานถั่วสดและผักสด เพราะอาจมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะแทน

    ง่ายๆแค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการผายลมอีกต่อไปแล้ว