การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี

อวัยวะไหนซ่อมแซมตัวเองได้บ้าง

    อวัยวะของเรามีความมหัศจรรย์ซับซ้อน บางอย่างยากที่จะอธิบายได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่มันเกิดขึ้นขึ้นได้จริงๆในร่างกาย

    เป็นธรรมดาที่เมื่อเราใช้ร่างกาย อวัยวะบางส่วนอาจจะเสื่อมโทรมลงไปได้บ้างตามกาลเวลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย เพราะร่างกายจะเยียวยาตัวเอง และทำให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง อวัยวะส่วนไหนบ้างที่สามารถทำได้เช่นนี้ และมีความสามารถมากแค่ไหน ตามมาดูกันเลยค่ะ

    1. สมอง

    สมอง เป็นอวัยวะที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของร่างกาย จึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ และภายใต้กะโหลกศีรษะจะมีก้อนสมองที่มีอนูเซลล์สมองเล็กๆ มากมาย ทั้งหมดคอยทำงานด้วยกันอย่างเป็นระบบ ส่วนของสมองส่วนใดที่เสียไป มันก็จะสามารถสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ในภายหลัง คล้ายกับเวลาที่เราโดนมีดมาดแล้วแผลสมานกันเอง     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ช่วยทำให้สมองฟื้นฟูได้เร็วมากขึ้น ก็คือ การออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง

    2. ผิวหนัง


    ผิวหนังสามารถฟื้นฟูบาดแผลได้อย่างน่ามหัศจรรย์ เพราะมีกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อได้ดี โดยแทบจะไม่ต้องใช้ตัวช่วยอื่นใดเลย แผลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลถลอก แผลฉีก ก็สามารถสมานได้ ยกเว้นในกรณีที่เซลล์ผิวหนังตายจริงๆ

อวัยวะไหนซ่อมแซมตัวเองได้บ้าง
อวัยวะไหนซ่อมแซมตัวเองได้บ้าง — ภาพจาก : http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/osteoporotic-fractures-1


    3. กระดูก

    กระดูกบางส่วนในร่างกายสามารถเชื่อมต่อกันใหม่ได้ ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุหรือโชคร้ายที่ทำให้กระดูกหัก ในกรณีที่ไม่แตกเป็นเสี่ยง กระดูกก็ยังสามารถเชื่อมกันได้ โดยอาจจะต้องใช้แคลเซียมเป็นตัวช่วยเพิ่มเติม

    เมื่อเจาะลงไปในกระดูกจะพบว่า กระดูกมีเซลล์เล็กๆ ที่มีโปรแกรมการการสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ซ่อนอยู่ ดังนั้น จึงทำให้กระดูกที่หักหรือเปราะไปสามารถกลับมาแข็งแรงใกล้เคียงปกติได้

    ทั้งนี้ ถ้าอยากให้กระดูกฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เราจำเป็นต้องอาศัยอาหารเสริม โดยควรทานอาหารที่มีวิตามิน K ในปริมาณๆ เช่น ผักใบเขียว และแคลเซียมในนม งาดำ เป็นต้น รวมถึงการหลีกเลี่ยงกาแฟ และถั่ว หรือธัญพืชที่มีโฟเลตสูง เพราะอาหารในกลุ่มหลังนี้จะเข้าไปขัดควางการทำงานของแคลเซียมในร่างกาย ทำให้การซ่อมแซมของกระดูกเป็นไปได้ยากมากขึ้น

    4. ตับ

    ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับตับ สามารถฟื้นฟูสุขภาพตับให้กลับมามีสุขภาพดีได้ง่ายๆ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน ดื่ม หลีกเลี่ยงอาหารบางกลุ่ม หรือหยุดพฤติกรรมที่ทำร้ายตับทั้งหลาย
ดังนั้น หากร่างกายของคุณโดนทำร้ายจากไขมันพอกตับ สารพิษตกค้างที่ตับ ดื่มแอลกอฮอล์มากไป ทานยาปฏิชีวนะมากไป รับสารเคมีต่างๆมากไป ก็สามารถเรียกคืนสุขภาพตับที่ดีกลับมาได้ หากบางส่วนของตับยังไม่อักเสบมากจนแข็งไปเสียก่อน

    มากไปกว่านั้น ตับยังสามารถสร้าง กลูตาไทโอนได้ ซึ่งสารตัวนี้อยู่ในกระบวนการการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองของตับ ให้ตับกลับมาดูสุขภาพดีเหมือนเดิม

    5. ลำไส้

    ลำไส้เป็นทางเดินของอาหารที่ย่อยแล้ว และหากร่างกายรับประทานอาหารที่ไม่ดี ย่อยยาก ก็จะเกิดการสะสมคราบที่ไม่ดีในลำไส้ได้ เช่น หากเราทานอาหารที่เหนียวหนืดเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะเกาะตัวเป็นคราบอยู่ตามลำไส้ หรือเกิดบาดแผลจากการบีบตัวอย่างหนัก

    ทั้งนี้ ร่างกายของเราก็มีการเตรียมรับมือไว้เช่นกัน โดยลำไส้จะมีการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่าได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้การทำงานของลำไส้ติดขัด และเกิดการสะสมของของเสียในร่างกาย

    6. หลอดเลือด

    หน้าที่ของหลอดเลือด ก็คือ ลำเลียงเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ให้แห้งเหี่ยวตาย

     แต่หากหลอดเลือดอุดตัน ไม่มีเลือดไปถึง ร่างกายก็ยังสามารถปรับตัวได้ โดยร่างกายจะสร้างเส้นเลือดเส้นเล็กๆ ขึ้นมาใหม่ โดยอาจจะเป็นทางที่เล็กกว่าและอ้อมอยู่สักหน่อย แต่ทางนี้ก็ช่วยระบายเอาเลือดที่อุดตันอยู่ไปหล่อเลี้ยงในอวัยวะส่วนที่กำลังจะขาดเลือดได้

    7. ปอด

    ปอด ทำหน้าที่คอยกรองเอาสิ่งสกปรกต่างๆก่อนที่จะหายใจเข้า คอยดักสิ่งสกปรกก่อนที่จะเอาออกซิเจนดีๆ เข้าสู่กระแสเลือด

    หากเราหายใจเอาแต่สิ่งสกปรกเข้าไป ปอดอาจจะฟอกอากาศไม่ทัน ซึ่งเปรียบเหมือนเครื่องกรองที่มีประสิทธิภาพในการกรองต่ำลง อย่างไรก็ตาม ร่างกายรู้ดีว่าในขณะนี้ เราอาจจะไม่สามารถถอดหายใจได้ดีเท่าเดิม และมนุษย์ก็ไม่สามารถถอดปอดออกมาล้างได้ด้วย ดังนั้น ปอดจึงต้องมีโปรแกรมในการทำความสะอาดตัวเอง โดยสร้างเส้นขนเล็กๆ เพื่อคอยโบกพัดปัดเอาสิ่งแปลกปลอมออกไปจากปอด

    แม้กระทั่ง คนที่สูบบุหรี่เอง หากหยุดสูบบุหรี่เมื่อไหร่ ปอดก็จะสามารถสร้างกลไกในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมจากควันบุหรี่ออกไปได้
และช่วยให้ปอดสะอาดมากขึ้น

    แม้ว่าร่างกายจะมีกลไกพิเศษที่ช่วยซ่อมแซมอวัยวะให้กลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง แต่ประสิทธิภาพการซ่อมแซมของมันก็จะลดลงเรื่อยๆตามอายุ และขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราด้วย ดังนั้น หากเราใช้งานหนักมากเกินที่ร่างกายจะซ่อมแซมไหว อวัยวะของเราก็จะสึกกร่อนอยู่ดี

    หรือแม้ว่าจะมีอวัยวะที่สามารถเปลี่ยนอันไหม่ได้ เราก็ยังจำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างดีอยู่ดี จะมาหวังว่าจะให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้
เพียงแต่ที่เราเอาข้อมูลมาบอกก็เพื่อให้คุณแค่รู้เอาไว้ว่าร่างกายมันมหัศจรรย์มากแค่ไหน…ก็เท่านั้นเอง


error

Enjoy this blog? Please spread the word :)