บทความน่ารู้

ต่อชีวิตด้วยโลหิต

เลือดเป็นสิ่งที่คอยหล่อเลี้ยงทุกชีวิตบนโลก หรืออาจกล่าวได้ว่า ทุกชีวิตย่อมต้องการเลือดเพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือเพื่อให้ระบบอวัยวะภายในร่างกายดำเนินต่อไปได้ และเมื่อสิ่งๆนี้เชื่อมโยงอยู่กับการมีชีวิต จึงทำให้ ?เลือด? เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถขาดมันไปได้เลย

ทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถคิดค้นหรือประดิษฐ์เลือดเพื่อใช้หล่อเลี้ยงอวัยวะและระบบการทำงานต่างๆภายในร่างกายได้ ดังนั้น จึงยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับเลือดจากการผลิตโดยมนุษย์ หรือการบริจาคเลือดจากคนสู่คนเท่านั้น การบริจาคเลือดจึงถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเมื่อใดที่มีคนประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือต้องการใช้โลหิตเพื่อเยียวยาชีวิต การได้รับเลือดจากบุคคลอื่นจะสามารถช่วยต่อลมหายใจและทำให้ผู้ป่วยเหล่านั้นกลับมามีชีวิตต่อได้อีกครั้ง

ต่อชีวิตด้วยโลหิต
ภาพจาก : www.croftvetcentre.co.uk

???????? การบริจาคโลหิตสามารถทำได้หลายครั้งโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องมาจากในร่างกายของแต่ละคนจะมีปริมาณเลือดที่มากเพียงพอสำหรับการใช้ในร่างกาย และยังมีปริมาณเลือดส่วนเกินที่สามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ตราบใดที่ร่างกายยังแข็งแรง และเมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทนเม็ดเลือดเดิมที่สูญเสียไป ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายกลับเข้าสู่สมดุลเดิมอีกครั้ง แต่หากเราไม่ได้นำเอาปริมาณเลือดส่วนเกินนี้ออกไป เลือดส่วนนี้ก็จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่ออยู่แล้ว

นอกจากการบริจาคเลือดจะเป็นการทำบุญที่มีผลต่อบุคคลอื่นๆแล้ว ยังมีผลพลอยได้ที่ดีกลับสู่ร่างกายของผู้บริจาคอีกด้วย ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับก็คือ จะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เนื่องจากมีการพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเลือดเก่าและใหม่ ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดความแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส มีน้ำมีนวล และจากผลงานวิจัยที่ทดสอบในผู้ที่มีการบริจาคเลือดพบว่า การให้เช่นนี้จะทำให้บุคคลนั้นๆมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย หรือมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยบริจาคเลือดมาก่อน มากไปกว่านั้น การบริจาคเลือดยังมีผลดีทางจิตใจ ทำให้รู้สึกถึงการเป็นผู้ให้และการได้ช่วยชีวิตคน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกสุขใจที่ได้ช่วยต่อชีวิตให้กับผู้อื่นด้วย

อย่างไรก็ดี การบริจาคเลือดจำเป็นต้องมีข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าการทำบุญให้เลือดจะไม่ได้เป็นผลเสียต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่สามารถบริจาคเลือดได้จะต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ มีน้ำหนักตัวมากกว่า 45 กิโลกรัมขึ้นไป มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างการไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด หากเป็นผู้หญิงต้องไม่อยู่ระหว่างการมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเลือด

???????? หากผ่านคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนต่อไป ซึ่งก็คือ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการบริจาค ซึ่งขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการบริจาคเลือดจะต้องเตรียมพร้อมร่างกายดังนี้ ได้แก่ การนอนหลับพักผ่อนในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคเลือดให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคเลือดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่เพื่อให้ปอดฟอกเลือดได้ดีก่อนและหลังบริจาคเลือด 1 ชั่วโมง รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคเลือดและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่นจนไม่สามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ ควรจะต้องดื่มน้ำและเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เป็นต้น ให้มากเพียงพอประมาณ 3-4 แก้ว เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกาย ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็น อาการมึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังการบริจาคเลือดได้

ต่อชีวิตด้วยโลหิต
ภาพจาก : http://blogemia.com/motivation-towards-blood-donation/

หลังจากการบริจาคเลือด ร่างกายจะสูญเสียเลือดไปมาก ดังนั้น จำเป็นจะต้องมีการชดเชยสิ่งที่ขาดหายไปด้วยการรับประทานน้ำหวานเพื่อเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย และควรนั่งพักจนแน่ใจว่าร่างกายกลับสู่สภาวะเป็นปกติดังเดิมก่อนที่จะลุกขึ้นไปทำกิจกรรมอื่นๆต่อ หรือหากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เป็นต้น และรับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กหลังจากการบริจาคเลือดได้ดี มากไปกว่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะเลือด รวมถึงงดเว้นการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคเลือด เพื่อป้องกันการบวมช้ำ กรณีที่มีเลือดซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุด ให้กลับมายังสถานที่บริจาคเลือดเพื่อให้แพทย์หรือพยาบาลช่วยห้ามเลือด

สำหรับใครที่สนใจอยากทำความดีด้วยการบริจาคเลือด สามารถเดินทางไปบริจาคได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หรือตามศูนย์รับบริจาคเลือดอื่นๆทั่วประเทศ รับรองว่านอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่อต่อชีวิตให้กับเพื่อนมนุษย์คนอื่นแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายของผู้ให้ที่ล้วนได้รับประโยชน์ที่ดีไปตามๆกัน

Sending
User Review
0 (0 votes)