การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้, เกี่ยวกับโรค

ทำร้ายไต

อย่าทำร้ายไต

คุณกินเค็มมากเกินไปหรือเปล่า? คำถามนี้อาจจะยากที่จะตอบ เพราะหลายคนไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมในการรับประทานของตัวเองเรียกว่าเค็มหวานเปรี้ยวหรือเกินไป ต่างคนก็ต่างมีความชอบทางการการบริโภคที่แตกต่างกัน แต่ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าการรับประทานอาหารที่มีรสจัดมากเกินไปมีผลอย่างยิ่งต่อการทำลายไต ซึ่งหากไตได้รับอันตรายก็ย่อมส่งผลต่อระบบการขับถ่ายปัสสาวะหรือระบบการกำจัดน้ำในร่างกายซึ่ง หากระบบนี้รวนร่างกายก็จะอยู่ยากขึ้นอย่างแน่นอน

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกายที่มีหน้าที่ในการฟอกเลือด แม้ขนาดของไตจะใหญ่เพียงแค่กำปั้น และมีจำนวน 2 ชิ้นวางอยู่บริเวณกลางหลัง ไตก็ต้องรับบทหนักในการฟอกเลือดทั้งร่างกาย ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องกรองสุดมหัศจรรย์ เพราะในแต่ละวันจะมีเลือดทั่วร่างกายมาผ่านที่อวัยวะส่วนนี้ กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ รวมถึงสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ แล้วขับออกนอกร่างกายในรูปแบบของของเสียหรือน้ำปัสสาวะ ทำให้ไตมีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ถึงขนาดที่ว่าบางคนยอมเสียเงินจำนวนมากเพื่อซื้อไตแลกกับการมีชีวิตอยู่ต่อ แม้ว่าการขายอวัยวะจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่อนุญาตให้ค้าขายกันได้เลย

หากคุณยังไม่อยากจะเสียอวัยวะสุดพิเศษนี้ไปก็ต้องทราบวิธีการในการดูแลไตที่ถูกต้องเหมาะสม ต้องทราบว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่จะทำให้ไตเสื่อม เพราะคุณอาจจะยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ตัวเองทำอยู่ทุกวันเป็นหนึ่งในการทำร้ายไตในทางอ้อม เมื่อพฤติกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสมและเป็นสาเหตุที่ทำให้ไตถูกทำลายในที่สุด มาลองค้นหาสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคไตกันดูหน่อยดีกว่าค่ะ

อย่าทำร้ายไต
อย่าทำร้ายไต — ภาพจาก : https://www.gecce.com.tr/haber-bobrek-nakline-asiri-kilo-engeli

1. คุณทานอาหารรสจัดมากเกินไปหรือเปล่า?

บางคนอาจจะเข้าใจว่าโรคไตเกี่ยวข้องเฉพาะการรับประทานอาหารรสเค็ม แต่ความจริงแล้วไม่ใช่รสเค็มอย่างเดียวที่ทำลายตับ เพราะอาหารรสจัดทุกประเภทก็สามารถทำลายตับได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การปรุงอาหารให้มีรสหวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัดจึงเป็นสิ่งต้องห้ามของคนที่พยายามรักษาสุขภาพไต การรับประทานอาหารอ่อนพอประมาณจะช่วยถนอมไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไปได้

นอกจากอาหารรสจัดแล้วยังรวมไปถึงอาหารสำเร็จรูปที่มีโซเดียมในปริมาณสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องสำเร็จรูป อาหารกระป๋องสำเร็จรูป ซึ่งไม่ได้มีการควบคุมการใช้โซเดียมที่เพียงพอ และเน้นความสะดวกสบายและความอร่อยเข้าว่า การรับประทานอาหารแบบนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้ร่างกายได้รับเกลือในปริมาณที่มากเกินไป และส่งผลเสียต่อไตได้เช่นกัน

2. ดื่มน้ำเพียงพอหรือยัง?

เพราะไตมีหน้าที่กรองของเสียที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก การดื่มน้ำไม่เพียงพอย่อมมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของไตและมีผลทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ น้ำที่น้อยไปทำให้ไตทำหน้าที่ฟอกของเสียได้ไม่สมบูรณ์ เพราะน้ำเป็นตัวพาที่สำคัญและนำไปสู่การขับเป็นปัสสาวะออกมา อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำน้อยเกินไปเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย เพราะหากเมื่อใดที่ปัสสาวะมีสีเข้ม แสดงว่าไตและกระเพาะปัสสาวะเริ่มมีปัญหาแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ดื่มให้ไม่มากเกินไปด้วยเช่นกัน เพราะไตก็จะต้องทำงานมากเกินไปหากปริมาณน้ำในร่างกายมากเกินพอ

อย่าทำร้ายไต
อย่าทำร้ายไต — ภาพจาก : https://www.consumerhealthdigest.com/water-retention/why-water-retention-occurs-kidney-patients.html

3. ไม่ออกกำลังกายบ้างเลยหรือเปล่า?

ไม่เพียงเฉพาะการควบคุมเรื่องการรับประทาน แต่การออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการหลีกเลี่ยงโรคไตได้เช่นกัน เพราะการขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะนำพาสาเหตุของการเกิดโรคหลายๆโรค เริ่มต้นจากโรคอ้วน โรคไขมันอุดตัน โรคไขมันพอกตับ หรือโรคหัวใจ รวมไปถึงโรคไตที่อันตรายไม่แพ้โรคอื่นๆเลย

4. ทำงานเหนื่อยเกินไปหรือเปล่า?

เป็นไปได้ว่าการทำงานที่หนักและเหนื่อยมากเกินไปจะเป็นสาเหตุของโรคไตได้ ผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าของกิจการที่ทุ่มเทเวลาทั้งชีวิตให้กับงานมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยเป็นโรคไตหากร่างกายขาดการพักผ่อนที่เหมาะสมเพียงพอ เมื่อการพักผ่อนไม่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟูในส่วนที่ฝืนทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะไตที่แบกรับภาระการฟอกของเสียทั่วทั้งร่างกาย การทำงานหนักเกินไปจึงมีผลให้ไตเสื่อมสภาพลงได้นั่นเอง

5. เครียดมากเกินไปหรือเปล่า?

บ่อยครั้งที่คนเราปล่อยให้ความเครียดเข้าครอบงำตัวเอง ซึ่งความเครียดหรืออาการคิดมากเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้ตัวร่างกายพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับพักผ่อนหรือเหตุผลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเข้าร่างกายไม่เต็มที่ อวัยวะต่างๆก็จะได้รับการดูแลได้ไม่เต็มที่เช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงไตอวัยวะสุดแสนสำคัญในร่างกายด้วย

6. ความดันโลหิตสูงหรือปล่า?

โรคไตกับความดันโลหิตสูงมักเกิดอาการควบคู่กันไปได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการความดันโลหิตสูง โอกาสการป่วยเป็นโรคไตก็จะมากขึ้น หรืออาจนำไปสู่อาการไตวาย ซึ่งเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นให้เฝ้าสังเกตความดันของตัวเองด้วยว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไปแล้วหรือยัง

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงของโรคไตมีมากมาย หากอยากมีไตใช้ไปนานๆอย่าลืมดูแลร่างกายของตัวเองกันด้วยนะคะ

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)