สาวๆหลายคนมักมีความกังวลในรูปร่างของตนเองอยู่เสมอ และเกิดความวิตกกังวลทุกคนที่ขึ้นชั่งน้ำหนัก บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าน้ำหนักเท่าไรจึงจะเรียกว่าอ้วนหรือไม่อ้วน แค่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมามีไม่กี่ขีด ก็พากันคิดไปว่าตนเองนั้นอ้วนขึ้นแล้ว

เมื่อไรจะเรียกว่าอ้วน
ระบบการทำงานของร่างกายหลายๆส่วนของเราก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัจจัยด้านความอ้วนหรือความผอมย่อมส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย การเผาผลาญและการกักเก็บพลังงานในร่างกาย รวมไปถึงระบบการปรับสมดุลต่างๆภายในร่างกาย
แล้วจะรู้ได้ไงละว่า ตนเองกำลังเผชิญกับความอ้วนอยู่? คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือการชั่งน้ำหนัก หากน้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นอยู่ ก็น่าจะแปลว่าอ้วนขึ้นหรือป่าว แต่คำตอบที่แท้จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปเพราะน้ำหนักที่เข็มตาชั่งชี้วัด อาจไม่ใช่เครื่องยืนยันความอ้วนที่ถูกต้อง เนื่องมาจากสรีระที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล แน่นอนว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคนที่ตัวสูงและคนตัวเตี้ย แม้จะมีน้ำหนักที่ทั้งสองคนชั่งได้จะเท่ากัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองนั้นอ้วนหรือผอมเท่ากันนั่นเอง
การทราบน้ำหนักร่างกายต่อสรีระจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณนั้น
?อ้วนแล้วหรือยัง?
ซึ่งในแต่ละบุคคลก็จะมีค่าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากเราทราบถึงเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสม ก็จะทำให้สามารถรักษาน้ำหนักมาตรฐานที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะสุขภาพดี และจะส่งผลทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มความสามารถมากขึ้น
???????? วิธีมาตรฐานโดยทั่วไปเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล หรือการประเมินปริมาณไขมันในร่างกายของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถคำนวณได้มาจาก
?ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI)?
ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลความสูงและน้ำหนักของแต่ละคนมาคำนวณออกมาเป็นค่าเฉลี่ย BMI โดยใช้สมการ
BMI = ?น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)? /? ส่วนสูง (เมตร) 2
สำหรับคนทั่วไป ควรมีค่า BMI อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 25 แต่ถ้าหากเกินกว่า 25 แต่ไม่เกิน 30 จะถือว่าอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์หรือจัดอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน แต่หากมากกว่า 30 ขึ้นไปจะจัดว่า อยู่ในภาวะอ้วนอันตราย ในทางกลับกัน ถ้าหากค่า BMI ที่คำนวณออกมาได้ต่ำกว่า 18.5 ก็จะจัดว่ามีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
ดังนั้น ค่า BMI ที่เหมาะสมจึงควรอยู่ในช่วง 18.5 ถึง 24.9 แต่สำหรับบางคนที่เมื่อคำนวณค่า BMI ออกมาแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองยังอ้วนอยู่ อาจเป็นเพราะค่านิยมในด้านการลดน้ำหนัก หรือ การเกาะกระแสดาราที่มีหุ่นฟิตเปี๊ยะสมส่วน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองอ้วน ทั้งนี้อาจมีเหตุผลมาจากการมีไขมันส่วนเกินสะสมเฉพาะจุด ซึ่งนับเป็นปัญหาที่สาวๆหลายคนกำลังเผชิญอยู่ อย่างไรก็ตามไขมันที่สะสมเฉพาะจุดนี้ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่บ่งชี้ว่าคุณมีปัญหาโรคอ้วน ดังนั้นเพียงแค่คุณหมั่นออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายโดยเฉพาะในส่วนนั้นๆ ก็จะทำให้คุณมีหุ่นที่ฟิตกระชับสมดังใจหวังได้
เนื่องจากค่า BMI เป็นดัชนีที่มีความสัมพันธ์กับระดับไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังทุกๆส่วนภายในร่างกาย และเป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดในการประเมินความอ้วนหรือผอมในแต่ละบุคคล แต่ก็จริงอยู่ที่หลายคนอาจกล่าวว่า ค่า BMI ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุดในการชี้วัดค่าน้ำหนักที่เหมาะสมแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะด้วยความหลากหลายของโครงสร้างรูปร่างของแต่ละบุคคล ทำให้ค่า BMI ที่คำนวณออกมาอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ยกตัวอย่างเช่น คนบางคนมีกระดูกเล็ก แต่บางคนก็มีกระดูกใหญ่ ทำให้ค่า BMI ที่คำนวณได้ไม่ตอบโจทย์ถึงน้ำหนักที่แท้จริง และวิธีการนี้ก็ไม่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ความอ้วนในคนที่มีปริมาณกล้ามเนื้อมากอย่างนักกีฬาหรือนักเพาะกายด้วย อย่างไรก็ตาม ค่า BMI ก็ยังถือเป็นค่าคำนวณที่เหมาะสมและง่ายมากที่สุดในการประเมินสรีระเบื้องต้น อย่างไรก็ดี หากต้องการทราบถึงความอ้วนหรือผอมแบบแท้จริง ก็อาจจะต้องไปขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ค่าที่คุณต้องการแบบเชิงลึกได้

เมื่อไรจะเรียกว่าอ้วน
อย่างไรก็ดี การจะชี้วัดว่าตัวเองอ้วนหรือผอมเกินไปมั๊ย ไม่ควรยึดติดกับตาชั่งน้ำหนักแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆอีกที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดน้ำหนักที่อาจทำให้คุณรู้สึกไขว้เขวไปได้ อาหารเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไป การรับประทานอาหารที่เค็มจัดอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำ และส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย ดังนั้น จึงไม่ควรจะชั่งน้ำหนักทุกวัน เพราะ อาจมีการเหวี่ยงของน้ำหนักตามประเภทของอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ ทางที่ดีควรเว้นระยะห่างประมาณ 2-3 วัน เเละชั่งน้ำหนักในช่วงเวลาเดิมทุกครั้ง ก็จะทำให้ได้น้ำหนักที่ค่อนข้างถูกต้องตามความเป็นจริงมากที่สุด
นอกจากนี้ ค่า BMI ยังสามารถใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย ค่า BMI ที่มีค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป สามารถชี้วัดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ค่า BMI ยังสามารถบ่งบอกความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนหรือโอกาสการเกิดกระดูกหักในอนาคตได้ด้วย