พาราเซตามอลถือเป็นยาสามัญที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดได้ทั่วไป สามารถใช้ได้ทั้งในคนและในสัตว์ พาราเซตามอลที่วางขายในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งล้วนแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการบรรเทาอาการปวด กลไกการทำงานของยาพาราเซตามอลเกิดจากตัวยาจะมีฤทธิ์ไปยับยั้งการสร้างสาร เคมีบางตัวในสมอง เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ผู้ป่วยจึงมีไข้ลดลง ยาพาราเซตามอลมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดได้ตั้งแต่ระดับน้อยไปจนถึงระดับ ปานกลาง สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้โดยไม่มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่ไม่มีความสามารถในการลดการอักเสบหรือฟกช้ำของร่างกายจากการถูกกระแทกจาก ภายนอกได้
ยาพาราเซตามอลมีจำหน่ายในหลายรูปแบบทั้งแบบชนิดยาเม็ด ยาน้ำ และยาฉีด ขึ้นอยู่กับอาการของโรคและความต้องการยาของผู้ป่วย ซึ่งแต่ละบุคคลมีการตอบสนองต่อยาในรูปแบบที่แตกต่างกัน อีกทั้งโรคประจำตัวบางโรคอาจส่งผลต่อระดับการรับยาในปริมาณที่ต่างกันด้วย โดยปกติยาพาราเซตามอลกว่า 95% จะถูกเมตาโบไลซ์ที่ตับ ด้วยกระบวนการ conjugationกลาย เป็นสารที่ไม่เป็นพิษ แล้วถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ส่วนที่เหลืออีก 5% จะถูกเมตาโบไลซ์โดยเอนไซม์ Cytochrome P-450 ได้เป็นสารที่พิษ คือ N-acetyl-p-Benzoquinoneimine (NAPQI) แต่อย่างไรก็ตามสารพิษนี้จะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะอยู่แล้ว แต่ในภาวะที่ได้รับพาราเซตามอลเกินขนาด ความสามารถในการกำจัดสารพิษนี้จะลดลง จึงส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตับและไต เป็นต้น

แม้ว่ายาพาราเซตามอลจะเป็นยาที่ใช้กันได้ทั่วไป แต่การรับประทานยาเกินขนาดสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น อาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ความดันโลหิตสูง ผื่นคัน ปวดศีรษะ หรือหอบหืดสำหรับปริมาณที่แนะนำในผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคเกิน 4 กรัม/วัน การขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือ เภสัชกรถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา