อย่ากลัวหมอฟัน
การเข้าพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนเป็นสิ่งที่บุคคลทุกๆคนควรที่จะทำเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพราะในแต่ละวันที่เรารับประทานอาหาร มีอาหารมากมายหลายประเภทที่ผ่านเข้าทางปาก อาจจะมีเศษอาหารบางส่วนที่เข้าไปติดตามซอกฟันอย่างไม่ได้ตั้งใจ บางอย่างมีส่วนผสมของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน หรือไขมัน ซึ่งเมื่อมีเศษอาหารคงค้างอยู่ภายในช่องปาก ย่อมทำให้เกิดปฎิกิริยาบางอย่างที่เป็นที่มาของเชื้อจุลินทรีย์
ในเมื่อการแปรงฟันในแต่ละวันอาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เศษอาหารเหล่านั้นหลุดออกมาได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้สิ่งสกปรกแปรสภาพเป็นคราบหินปูนและสะสมอยู่บริเวณซี่ฟัน ซึ่งคราบหินปูนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นที่มาของกลิ่นปากที่ผู้คนไม่ต้องการ และอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟันตามมาได้หลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น อาการเหงือกบวม เหงือกร่น ฟันโยก ฟันห่าง หรือฟันผุได้
ทั้งนี้ การเกิดหินปูนก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติหรือการกระทำของแต่ละบุคคลด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเรียงตัวของฟัน ความเป็นกรด-ด่างในช่องปาก พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และที่สำคัญที่สุดก็คือ พฤติกรรมการดูแลทำความสะอาดฟันหรือการแปรงฟันนั่นเอง
การแปรงฟันให้สะอาดทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ เพราะเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดสะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้มากที่สุดหากบุคคลเหล่านั้นรู้และทำตามวิธีการที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถแปรงฟันได้สะอาด ด้วยปัจจัยด้านความแตกต่างทางกายภาพบริเวณช่องปากและความละเอียดในการทำความสะอาดฟันของแต่ละบุคคลนั้น ทำให้คราบหินปูนเกิดการก่อตัวและสะสมในปริมาณที่ไม่เท่ากัน และกลายเป็นปัญหาที่ทำให้ต้องเข้ารับการขูดหินปูนกันทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน
ด้วยเหตุนี้ การเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดหรือขูดหินปูนเป็นประจำจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม การจะเข้าไปขูดหินปูนได้นั้นก็มีข้อควรระวังหลายประการที่คุณต้องรู้ หนึ่งในข้อควรระวังที่ทุกคนควรตรวจสอบตัวเองก่อนก็คือ “การสำรวจโรคประจำตัว” เพราะโรคประจำตัวบางโรคอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือไม่สามารถที่จะขูดหินปูนตามปกติได้ ทำให้จำเป็นต้องมีการแจ้งให้ทางแพทย์ทราบถึงอาการที่ตนเองเป็นอยู่ก่อนที่จะได้รับบริการการขูดหินปูน เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม
แล้วโรคอันตรายเหล่านั้นจะเป็นโรคอะไรบ้าง ลองมาหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

กลุ่มที่ 1 กลามโรคที่น่ากลัวและจำเป็นจะต้องบอกให้หมอฟันได้รับรู้ก่อนก็คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือด ใครที่มักเป็นโรคเลือดออกง่ายหรือหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) เป็นต้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้คุณหมอทราบก่อน เพราะโรคที่คุณเป็นอยู่อาจมีผลต่อการทำทันตกรรมได้ รวมไปถึงกลุ่มของผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไตหรือมีประวัติเคยล้างไตมาก่อน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะต้องมีการได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจมีผลต่อการขูดหินปูนได้ เช่นเดียวกับกลุ่มคนที่เคยใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือกลุ่มคนที่เคยผ่านการผ่าตัดหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับบริเวณหัวใจมาก่อน ก็ต้องระวังไว้เช่นกัน …เพราะพวกคุณมีความเสี่ยงที่เลือดจะหยุดไหลยากกว่าคนธรรมดาทั่วไป การดูแลจึงต้องเข้มข้นมากขึ้นนั่นเอง
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มคนที่จะต้องมีการแจ้งคุณหมอให้ทราบถึงประวัติการรักษาโรคก่อนที่จะได้รับการขูดหินปูนเช่นกัน คนกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มคนที่เคยหรือเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคลมชัก หากคุณทราบว่าตัวเองเคยรับการรักษาหรือเคยมีอาการต่างๆที่เข้าข่ายการเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ หรือได้รับการรับรองแล้วว่าคุณป่วยเป็นโรคนี้จริงๆ ก็จำเป็นที่จะต้องแจ้งให้คุณหมอให้ทราบถึงอาการที่คุณเป็นก่อนที่จะลงมือขูดหินปูน เพราะอาการต่างๆของโรคเหล่านี้มีผลอย่างยิ่งต่อการหยุดไหลของเลือด หรืออาจจะทำให้เกิดภาวะต่างๆที่ไม่เหมาะสมซึ่งสามารถเกิดขึ้นในระหว่างการทำทันตกรรมได้

แม้ว่าคราบหินปูนจะเป็นเพียงคราบจุลินทรีย์ที่เกิดจากการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย และเกิดการแข็งตัวคล้ายหินปูนเมื่อสะสมนานขึ้นในระยะเวลาหนึ่งๆ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้าม ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวมากจนเกินไป เพราะสามารถพบตามธรรมชาติและกำจัดได้ด้วยการขูดหินปูน แต่สิ่งที่น่ากลัวมากไปกว่านั้น คือความไม่รู้ของคนที่อาจจะทำให้เกิดเป็นอันตรายได้ หากไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกวิธี หรือไม่สนใจแม้ว่าจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเล็กๆน้อยๆก็ตาม
คนเราอาจจะเลือกที่จะมีหรือไม่มีโรคประจำตัวไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่อาจจะเป็นโรคจากพันธุกรรม เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเองก็ต้องยอมรับและเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่รอดไปกับมันให้ได้ และต้องแจ้งให้บุคคลอื่นที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกับโรคของคุณทราบด้วย ไม่ใช่เก็บงำเอาไว้เพียงผู้เดียว ดังนั้น การมีโรคประจำตัวตามที่กล่าวไปข้างต้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ไม่ใช่การตื่นตะหนก เมื่อต้องเข้ารับการบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำทันตกรรม ต้องไม่ลืมที่จะแจ้งอาการด้วย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของคุณ