การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

วิธีการเก็บยาอย่างไรให้คง คุณภาพ

วิธีการเก็บยาอย่างไรให้คง คุณภาพ

เชื่อว่าไม่มีใครอยากที่จะต้องทานยาเพื่อรักษาอาการป่วยต่างๆ แต่ก็มีหลายๆครั้งที่เราจำเป็นที่ต้องทานยาเพื่อจะฟื้นฟูร่างกายของเราให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม ทำให้การมียาสามัญประจำบ้านหรือยารักษาโรคเฉพาะโรคติดอยู่ที่บ้านนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

Pills in woman hand Premium Photo
วิธีการเก็บยาอย่างไรให้คง คุณภาพ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/pills-woman-hand_6892031.htm#page=1&query=keep%20drug&position=1

แต่เชื่อเถอะค่ะว่า แต่ละคนกลับมองข้ามความสำคัญของยา จะเห็นมันสำคัญก็เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้มันเท่านั้น ทำให้ไม่รู้จักวิธีการในการดูแลรักษา หรือการเก็บยาที่ถูกวิธี ซึ่งการขาดการดูแลในสิ่งเหล่านี้จะทำให้ยาเกิดการเสื่อมสภาพ และทำให้ไม่สามารถที่จะรักษาโรคต่างๆได้ดีตามที่ควรที่จะเป็น

ปัจจัยที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพนั้นมีได้หลากหลายปัจจัย หากเราดูแลปัจจัยใดบ้างปัจจัยที่บกพร่องไป ก็จะทำให้ยานั้นมีอายุการใช้งานที่ต่ำลง หรือมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ต่ำลง การดูแลรักษายาที่ถูกต้อง ไม่เพียงเฉพาะแค่การดูเพียงแค่วันหมดอายุเท่านั้น เพราะยาอาจจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าวันที่ระบุไว้บนฉลากก็ได้ หากมีการเก็บรักษาที่ไม่ดีเพียงพอ

ยามีความจำเป็นต่อผู้ป่วยหลายๆโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นโรคเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่นโรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิต เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆนี้จำเป็นที่จะต้องมีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน และจำเป็นจะต้องมีการใช้ยาในปริมาณมาก หากพวกเขามีการเก็บรักษายาไม่ถูกต้อง ทำให้ยาเกิดการเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้การรักษานั้นได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรที่จะเป็น

รวมไปถึงคนทั่วไปก็เช่นกัน แม้คุณจะไม่ใช่คนที่ต้องทานยาทุกวัน และไม่สนใจวิธีการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง จะใช้ยารักษาโรคก็เมื่อมีอาการป่วยเท่านั้น คุณอาจจะไม่ได้รับการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพ กินยาแล้วไม่หายเสียที หรือทำให้เกิดอาการที่หนักมากขึ้น เพราะยาไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ทันท่วงที

ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ยาเสื่อมสภาพ ทุกๆอย่างในบรรยากาศสามารถทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความชื้น อุณหภูมิ สารเคมี หรือแสงแดด ซึ่งจะส่งผลให้ความเข้มข้นของยาตัวนั้นลดลง เมื่อเรารับประทานเข้าไปก็อาจจะทำให้ระดับยาไม่ถึงที่จะพอที่จะรักษาโรคต่างๆได้ดีดังเดิม

Close up view of child`s hands with pills, young child play alone with pills tablets at home. keep away from children reach concept. no medicine cabinet, raise awareness. Premium Photo
วิธีการเก็บยาอย่างไรให้คง คุณภาพ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/close-up-view-child-s-hands-with-pills-young-child-play-alone-with-pills-tablets-home-keep-away-from-children-reach-concept-no-medicine-cabinet-raise-awareness_10231873.htm#page=1&query=keep%20drug&position=42

วันนี้จะมาอธิบายให้เห็นถึงวิธีการในการดูแลยา ตามปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1 แสงแดด ยาหลายชนิดจะเขียนระบุเอาไว้ที่ฉลากเลยว่าไม่ควรที่จะโดนแสงแดด เพราะแสงแดดทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า Packaging ของยาประเภทนี้มักจะเป็น Packaging ที่สามารถป้องกันแสงแดดได้ อาจจะเป็นลักษณะของถุงสีชา หรือกระปุกสีชา ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะแกะเม็ดยาออกมานอกจากนอกภาชนะบรรจุเดิม หากยังไม่ต้องการจะใช้มัน หากเราไม่อยากให้ยาเสียสภาพก่อนเวลาอันควร

2 ความชื้น ตัวยาหลายๆชนิดจะเสื่อมไปเมื่อความชื้นมากเกินไป และยาส่วนใหญ่เมื่อโดนความชื้นจะมีผลต่อชั้นเคลือบเม็ดยา ทำให้ยาเกาะเป็นก้อนได้ ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะเก็บยาชนิดเอาไว้ในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ในห้องน้ำ เป็นต้น รวมไปถึงหากมีการแกะเอามาจากภาชนะแล้วจะต้องมีการปิดให้สนิททุกครั้งด้วย

3 อุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงเกินไปหรืออุณหภูมิที่ต่ำเกินไป ก็สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อตัวยาได้ทั้งสิ้นโดยทั่วไปแล้วแนะนำให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง หรือที่อุณหภูมิประมาณ 18 ถึง 25 องศาเซลเซียส ยกเว้นแต่ว่ายาบางชนิดอาจจะระบุว่าควรที่จะเก็บเอาไว้ในตู้เย็น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากฉลากยาที่ระบุเอาไว้บนบรรจุภัณฑ์

4 อากาศ ในอากาศที่เราหายใจมีแก๊สต่างๆที่สามารถเร่งให้เกิดการเสื่อมสภาพของยาได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อเปิดภาชนะแล้วจะต้องมีการปิดภาชนะให้มิดชิดทุกครั้ง และไม่มีการแกะเม็ดยาออกมาหรือย้ายภาชนะบรรจุโดยที่ยังไม่ได้ต้องการใช้มัน

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้น ก็คือ หลายๆคนมักจะแกะยาออกมาบรรจุในภาชนะอื่นเพื่อแบ่งปริมาณยาที่จะต้องรับประทานในแต่ละวัน ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการนี้อาจจะไม่เหมาะสม เพราะอาจจะทำให้ยามีการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องแกะออกมาจากแผง ควรที่จะแบ่งออกมาทีละน้อย หรือไม่ควรแกะออกมาในปริมาณที่มากเกินกว่าการรับประทาน 1 สัปดาห์ หากสามารถที่จะตัดแผงยาพร้อมบรรจุภัณฑ์ได้ก็ควรจะทำ เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ยังคงสามารถป้องกันสภาวะต่างๆได้ หรืออาจจะต้องมีการใช้บรรจุภัณฑ์อื่นช่วยในการป้องกันแสงแดด อุณหภูมิ หรือความชื้น เช่น มีการใส่ซองยาสีชาที่แน่นหนา มีการปิดมิดชิด เป็นต้น ก็จะสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียของยาได้

เราจะต้องไม่มองข้ามวิธีการในการดูแลเก็บรักษายาที่ถูกต้อง เพราะวิธีการเก็บรักษาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณหายจากอาการป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บได้เร็วหรือช้าเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น อย่าลืมดูแลในสิ่งนี้ให้ดีนอกเหนือไปจากการรับประทานยาที่ตรงเวลา และรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนั่นเอง เพื่อให้เม็ดยาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดด้วย

Sending
User Review
0 (0 votes)