การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี

ปลดล็อก…นิ้วล็อก

ปลดล็อก…นิ้วล็อก

สภาพร่างกายของเราเสื่อมโทรมลงทุกวันๆ หากไม่มีการดูแลร่างกายหรืออวัยวะทุกๆส่วนอย่างเหมาะสม ก็ย่อมจะทำให้อวัยวะส่วนนั้นใช้การได้น้อยลงเรื่อยๆ หนึ่งในอวัยวะที่ทุกคนจำเป็นจะต้องใช้มากๆในทุกวันนี้ ก็คือ การใช้นิ้วมือในการที่จะหยิบจับสิ่งของ เขียนหนังสือ กดสมาร์ตโฟน พิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งการตักอาหารเข้าปากก็ จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วมือเป็นองค์ประกอบในการที่จะทำกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น

แต่หนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วๆไป ก็คือ อาการนิ้วล็อค ซึ่งเกิดมาจากการที่นิ้วมือมีการเคลื่อนไหวด้วยท่าเดิมซ้ำๆ จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น และไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้เป็นปกติดังเดิม

ในวันนี้เราจะมาลองดูกันว่าอาการนิ้วล็อคคืออะไรกันแน่ แล้วเราจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง ?

โรคนิ้วล็อค เป็นอาการที่เกิดขึ้นที่นิ้วมือ ทำให้ไม่สามารถที่จะเหยียดนิ้วมือให้ตรงได้เหมือนเดิม เพราะมีการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนิ้ว ทำให้เอ็นหรือกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างในไม่สามารถจะยืดหดได้ตามปกติ เวลาที่เราเกิดอาการนิ้วล็อคจะทำให้ไม่สามารถจะกลับมาเหยียดนิ้วมือให้ตรงได้ดังเดิม และมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้งนิ้วกลางและนิ้วนาง ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งมือซ้ายมือขวาหรือเป็นทั้งสองมือพร้อมกัน

อาการของนิ้วล็อคจะรู้สึกดังกึกเวลาที่เราจะต้องมีการงอนิ้วหรือนิ้วมือมักจะแข็งโดยเฉพาะในช่วงเวลาตอนเช้าจะรู้สึกตึงหรือรู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่บริเวณโคนนิ้วที่ล็อค ไม่สามารถที่จะงอนิ้วได้อย่างกะทันหัน สามารถแบ่งระยะออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 รู้สึกปวดบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือ แต่ยังไม่มีอาการติดล็อคของนิ้วมือ

ระยะที่ 2 รู้สึกปวดบริเวณโคนนิ้วมือด้านฝ่ามือมากขึ้นกว่าระยะที่ 1 และเริ่มมีการสะดุดเมื่อขยับนิ้ว

ระยะที่ 3 นิ้วติดล็อคเมื่องอ เหยียดไม่ออก จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยดึงนิ้ว

ระยะที่ 4 นิ้วอักเสบมากจนนิ้วงอติด เหยียดตรงไม่ได้ หากพยายามเหยียดจะปวดอย่างมาก

สาเหตุของอาการนิ้วล็อคเกิดมาจากการที่เราใช้นิ้วมือทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ มีการเกร็งนิ้วมือจนทำให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นอักเสบ ขาดความยืดหยุ่น

อาการนิ้วล็อคสามารถเกิดได้ทั้งในเพศชายและหญิง โดยอาการนิ้วล็อคมักจะเกิดขึ้นได้บ่อยในสุภาพสตรีมากกว่าสุภาพบุรุษ โดยหากเป็นผู้สูงอายุมักจะเกิดอาการนิ้วล็อคได้บ่อยกว่าคนที่มีอายุน้อยกว่า เพราะเกิดจากการสะสมใช้งานนิ้วมาเป็นเวลานาน และเกิดจากการเสื่อมของเส้นเอ็นบริเวณนิ้วด้วยนอกจากนี้ สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอาการนิ้วล็อคมักจะเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติด้วย ดังนั้น คนที่มีโรคประจำตัวนี้ต้องระวังตัวให้ดี

ปลดล็อก...นิ้วล็อก
ปลดล็อก…นิ้วล็อก — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/asian-women-with-finger-pain-hand-pain-numbness_9342936.htm#query=Trigger%20Finger&position=31

วิธีการรักษาอาการนิ้วล็อคต้องดูก่อนว่าความรุนแรงของอาการนิ้วล็อคของคุณอยู่ในระดับใด และแก้ไขให้ถูกอาการ

หากเป็นอาการในระดับเริ่มต้น การพักผ่อนนิ้วมือโดยการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆเป็นเวลาเพียงแค่ 3 สัปดาห์ ก็จะสามารถช่วยให้อาการนิ้วล็อคนั้นหายเป็นปกติได้ หรืออาจจะมีการใช้การประคบร้อนหรือประคบเย็นเพื่อทำให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้นก็จะยิ่งทำใหเหายเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังอาจจะใช้วิธีการใส่ที่ดามนิ้วเพื่อยืดนิ้วให้ตรงและไม่งอ ก็จะเป็นการทำให้นิ้วได้พักอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งแนะนำให้ใส่ไว้ตลอดคืน จะช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วเกร็งในขณะนอนหลับได้ นอกจากนี้ก็จะเป็นการยืดเส้นด้วยการออกกำลังกายเบาๆเพื่อช่วยให้นิ้วสามารถจะเคลื่อนที่ได้ตามปกติ

สำหรับคนที่มีอาการที่มากขึ้นอาจจะมีการรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพื่อที่จะช่วยในการบรรเทาอาการปวด อย่างไรก็ตาม ยาตัวนี้จะไม่สามารถที่จะแก้หรือบรรเทาอาการบวมตรงปลอกหุ้มเอ็นนิ้วได้

ในกรณีของคนที่มีอาการนิ้วล็อคอย่างรุนแรงจะต้องมีการรักษาด้วยการศัลยกรรม อาจจะเป็นการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการบวมอักเสบของเอ็น และทำให้นิ้วสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ นอกจากนี้อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ก็สามารถรักษาอาการนิ้วล็อคในระดับร้ยแรงได้เช่นเดียวกัน

แต่สำหรับใครที่มีอาการนิ้วล็อคแล้วไม่เข้ารับการรักษา ข้อนิ้วที่ค้างอยู่อาจจะยึดอย่างถาวร และทำให้ไม่สามารถที่จะรักษาได้อีกเลยตลอดชีวิต

ปลดล็อก...นิ้วล็อก
ปลดล็อก…นิ้วล็อก — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/sore-fingers-palm-hand-pain-from-working-with-laptop-computer-inflammation-nerves-joint-symptom-rheumatoid-arthritis-office-syndrome_7567335.htm#query=Trigger%20Finger&position=23

เพราะฉะนั้นเราควรที่ควรปฏิบัติตนให้ถูกต้องเมื่อเกิอาการนิ้วล็อค ส่วนแรกคือต้องเข้าใจก่อนว่า นิ้วล็อคนั้นสามารถที่จะแก้ไขได้ แต่ต้องเข้าไปพบหมอเพื่อให้ดูก่อนว่าการแก้ไขนิ้วล็อคของอาการที่คุณเป็นอยู่นั้นควรจะใช้วิธีใดที่เหมาะสมมากที่สุด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เข้าสู่ในระยะอักเสบจนไม่สามารถแก้ไขได้

นอกจากนี้ก็ต้องมีการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการเสื่อมของเอ็น ไม่ว่าจะเป็นการใช้นิ้วมือในการบิดผ้าที่แน่นจนเกินไป การกำมือแน่นๆจนเกินไป ก็จะเป็นการกระตุ้นทำให้เอ็นถูกใช้งานอย่างหนัก และทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ง่ายมากขึ้น

หากมีการดูแลการออกกำลังกายนิ้วมืออย่างเหมาะสม ก็จะทำให้การนิ้วล็อกนั้นลดลงหรือหายไปได้อย่างแน่นอน

Sending
User Review
0 (0 votes)