การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพดี

นั่งนาน…ระวัง!ตายเร็ว

นั่งนาน…ระวัง!ตายเร็ว

ในยุคปัจจุบันนี้การทำงานสามารถทำได้ทุกที่ บางคนมีเพียงแค่สมาร์ทโฟนหรือโน๊ตบุคแค่เครื่องเดียวก็สามารถที่จะทำงานได้จากทุกที่บนโลกนี้แล้ว ทำให้การทำงานนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้ในบางครั้งอาจจะหลงลืมไปว่าคุณนั้นกำลังทำงานหนักมากจนเกินไป และร่างกายไม่สามารถที่จะรับมือได้ไหว กว่าจะรู้ตัวอีกทีหนึ่งก็ต้องรอให้ป่วยเป็นโรคที่ร้ายแรงก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง

หากคุณเป็นคนที่อยากจะมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป ก็จำเป็นที่จะต้องหันมาดูแลใส่ใจในเรื่องเล็กๆน้อยๆแบบนี้ด้วย เมื่อเรามีการทำงานมากจนเกินไป อาจจะทำให้เราหลงลืมการทำกิจกรรม Outdoor อื่นๆ จนทำให้มัวแต่โฟกัสอยู่กับเรื่องงาน นั่งนิ่งนานๆติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยที่ไม่ได้มีเวลาออกไปผ่อนคลายหรือยืดเส้นยืดสายเสียบ้าง

การนั่งนานๆแบบนี้อาจจะทำให้งานของคุณเดินไปข้างหน้า แต่อาจจะทำให้สุขภาพของคุณเดินถอยหลังได้เลย เพราะการที่คุณนั่งนานอาจจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการตายได้เร็วมากกว่าคนที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา การนั่งนานๆบนเก้าอี้ติดต่อกันหลายๆชั่วโมงจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ลองมาดูกันดีกว่าค่ะ

นั่งนาน...ระวัง!ตายเร็ว
นั่งนาน…ระวัง!ตายเร็ว — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/mature-man-sitting-chair-suffering-from-backache-while-using-laptop_3688350.htm#query=sit%20office&position=0

ปัญหาหลักๆที่เราพบเมื่อคุณมีการนั่งติดต่อกันหลายๆชั่วโมงที่สามารถเห็นได้ชัดที่สุด ก็คงเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ นั่นก็คือ อาการปวดตาม บ่า หลัง หรือไหล่ เนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ลดน้อยลง นอกจากนี้ ยังส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายเกิดขึ้นน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น จนทำให้เกิดการสะสมของไขมันและตามมาด้วยน้ำหนักที่มากเกินกว่าเกณฑ์ปกติ หากยังคงปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆที่ทำร้ายร่างกายมากไปกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจโรค เบาหวาน โรคไขข้ออักเสบ หรือโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความอ้วน

นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดอีกหนึ่งปัญหาที่มักพบบ่อยๆ ก็คือ ‘การนั่งที่ผิดท่า’ เพราะการนั่งในบางท่าคุณอาจจะรู้สึกสบายในชั่วครู่ แต่ในระยะยาวอาจจะเป็นการทำร้ายอวัยวะในร่างกายบางส่วน โดยเฉพาะอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลัง อาการชา หรือปวดร้าวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆได้

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการนั่งนานๆมีอยู่หลากหลายโรคหรือกลุ่มอาการ เช่น

1 โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น เนื่องจากกระดูกสันหลังของเราจะมีเส้นประสาทวางตัวอยู่ตลอดตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นจะทำให้มีการกดทับของเส้นประสาท ซึ่งจะเกิดได้หากคุณมีการนั่งนานจนเกินไป โดยอาการที่เกิดขึ้น ก็คือ อาการชาและอาการปวดร้าว จนทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

2 ผลกระทบต่อระบบการหายใจ ท่านั่งที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรานั่งทำงาน ก็คือ ท่าที่เรามักจะห่อตัวหรือชะโงกศีรษะเข้าไปใกล้กับจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีความตั้งใจในการทำงานมากจนเกินไป ซึ่งการที่เราทำท่าแบบนี้นานๆอาจจะทำให้เกิดอาการหรือปัญหาต่างๆตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดขากรรไกร คอยื่น หรือสามารถกระทบกับระบบการหายใจได้

การนั่งท่านี้นานๆทำให้เราต้องออกแรงพยุงน้ำหนักของกะโหลกศีรษะเอาไว้ ซึ่งส่วนของร่างกายนี้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 70% ของน้ำหนักของร่างกาย เมื่อตำแหน่งของศีรษะเลื่อนออกไปจากฐานรองรับบริเวณกึ่งกลางลำตัว ก็จะทำให้อยู่ในตำแหน่งที่ร่างกายต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้กระทบต่อทั้งอวัยวะในส่วนของไหล่ บ่า คอ รวมไปถึงระบบการหายใจด้วย

การนั่งห่อตัวแบบที่กล่าวถึงนี้จะทำให้กระดูกซี่โครงถูกกด ทำให้ไม่สามารถที่จะหายใจได้เป็นปกติ ปริมาตรของปอดที่เคยเก็บกักอากาศได้มากก็จะแคบลง ทำให้การหายใจไม่เต็มปอด หายใจถี่ขึ้น หรือต้องออกแรงในการหายใจมากขึ้น ซึ่งหากเกิดปัญหาเกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ ก็ย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังระบบของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน ทำให้หัวใจจะต้องมีการทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งหากเกิดอาการเช่นนี้เป็นเวลานานๆ ก็ย่อมทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้

นั่งนาน...ระวัง!ตายเร็ว
นั่งนาน…ระวัง!ตายเร็ว — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/portrait-young-overworked-student-girl-sitting-table_1281595.htm#page=1&query=sit%20office%20pain&position=31

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีการนั่งนานๆ ซึ่งอาจจะเกิดโรคอื่นๆได้อีกหลายๆแบบ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการนั่งของคุณ เมื่อได้ยินแบบนี้แล้วเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากที่จะทำให้ร่างกายของเราทรุดโทรมหรือเกิดปัญหาต่างๆแน่นอน วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด ก็คือ การที่เราจะต้องรู้จักกำหนดระยะเวลาในการทำงานที่เหมาะสม มีการผ่อนคลายตัวเองตามช่วงเวลาที่ควรจะเป็น เช่น ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงจะต้องมีการเปลี่ยนท่าทาง มีเส้นยืดสาย เดินออกไปดื่มน้ำ และพักหายใจให้เต็มปอดมากขึ้น เป็นต้น เพื่อทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการผ่อนคลายหลังจากที่ตึงเครียดมาเป็นเวลานานๆ

การที่เราได้มีการออกไปพักผ่อนหย่อนใจบ้างเล็กน้อย อาจจะทำให้เวลาการทำงานของคุณ์ดลง แต่จะเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะต่างๆได้ในระยะยาว เพราะฉะนั้น อย่ามัวแต่ห่วงงานมากเกินไปนะคะ หันมาห่วงสุขภาพของตัวเองเสียบ้าง เพื่อให้ในวันข้างหน้ายังคงมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไปได้

Sending
User Review
0 (0 votes)