บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพดี, เกี่ยวกับโรค

เทคนิครับมือไบโพล่าร์

เทคนิครับมือไบโพล่าร์

คุณอาจจะเคยเจอกับคนที่มีหลากหลายบุคลิก บ้างก็สนุกสนานแต่ไม่นานก็ดูซึมเศร้า ทำให้คนรอบข้างรู้สึกสับสนว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นคนเช่นไรกันแน่ การที่บุคคลเหล่านั้นมีบุคลิกมากกว่าหนึ่งแบบอาจจะเป็นเพราะพวกเขามีความผิดปกติทางอารมณ์ที่เป็นโรคชนิดหนึ่งหรือการเป็นโรคไบโพลาร์นั่นเอง ซึ่งโรคที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติเกี่ยวข้องกับสารตัวหนึ่งในสมอง

วันนี้เราจะมาลองดูกันดีกว่าว่าไบโพลาร์มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และเราจะรับมือกับคนที่มีอาการไบโพลาร์ได้อย่างไร เพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะอยู่ได้อย่างปกติบนโลกใบนี้ และไม่เป็นคนผิดปกติในสายตาของคนอื่น

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าไบโพลาร์ คืออะไร?

ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) อาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่มีความไม่สมดุลกัน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการแสดงอารมณ์ออกมา 2 ขั้ว คือ ไม่ซึมเศร้ามากๆ ก็คึกคักมากจนเกินไป หรือคนรอบข้างอาจจะรู้สึกว่าเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึมเศร้า ทำให้หลายคนรู้สึกสับสน และทำตัวไม่ถูกเมื่อพบเจอกับคนที่มีอาการดังกล่าวนี้

โดยทั่วไปแล้ว…อาการของไบโพลาร์จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากในสองระยะนี้ ดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 เรียกว่า ระยะพลุ่งพล่าน (Manic Episode) หรือมาเนีย อาการของระยะนี้จะเป็นลักษณะของคนที่คิดเร็วทำเร็ว และมีความมั่นใจในตัวเองสูง ทำให้มีอารมณ์พลุ่งพล่าน บ้างทีคนรอบข้างอาจจะคิดว่าเป็นอาการของไฮเปอร์ และไม่ได้มีความผิดปกติใดๆ ซึ่งอาการมาเนียอาจจะเกิดขึ้นได้เป็นเดือนหรือหลายๆสัปดาห์ก็ได้

ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะซึมเศร้า หลังจากที่เกิดอาการในระยะแรกไปแล้ว ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีอาการตรงกันข้ามกับระยะแรกโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็คือผู้ป่วยจะรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไร้ค่า สิ้นหวัง อ่อนเพลีย หรือบางรายอาจจะมีการทำร้ายตัวเอง อาการซึมเศร้าก็สามารถเกิดขึ้นติดต่อกันได้นานเป็นเดือนเช่นกัน ซึ่งหลังจากหมดระยะนี้แล้วก็อาจจะกลับเข้าไปสู่ในช่วงคึกคักหรือพลุ่งพล่านในช่วงแรกได้อีกครั้ง

เทคนิครับมือไบโพล่าร์
เทคนิครับมือไบโพล่าร์ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/post-traumatic-stress-disorder_5284736.htm#page=2&query=bipolar&position=42

ในฐานะที่เป็นคนข้างๆที่ไม่ได้มีอาการไบโพลาร์ หากสังเกตว่าคนรอบข้างของเรามีอาการสลับไปสลับมาระหว่างระยะพรุ่งพล่านและระยะซึมเศร้า แสดงว่าเขาอาจจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอาการของกลุ่มอาการไบโพลาร์ ซึ่งไม่ควรจะปล่อยเลยตามเลยแต่ควรที่จะรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ก่อนที่อาการที่เป็นอยู่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

กลุ่มคนเหล่านี้ในระยะพลุ่งพล่านอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือตัวเองได้ เช่น มีการทะเลาะวิวาท ใช้ความรุนแรง หรือใช้เงินฟุ่มเฟือยเนื่องจากขาดความยั่งคิด เป็นต้น ส่วนในช่วงซึมเศร้าก็สามารถที่จะทำลายตัวเองได้เช่นกัน หรือบางรายอาจจะคิดสั้นฆ่าตัวตายด้วยซ้ำ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคไบโพลาร์อย่างที่กล่าวไว้แล้ว ก็คือ เป็นเพราะความผิดปกติของสารเคมีบางตัวในสมองซึ่งมีความไม่สมดุลกัน ทำให้อารมณ์มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา นอกจากนี้ ยังอาจสามารถเกิดได้จากสาเหตุของพันธุกรรม นั่นก็หมายความว่า หากคุณเคยมีญาติที่เคยมีอาการไบโพลาร์ คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นนี้ได้เช่นกัน หรือบางรายอาจจะไม่เกี่ยวกับพันธุกรรมเลย แต่อาการต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุผลมาจากการถูกปัจจัยภายนอกกระทบกระเทือน เช่น เคยเสียใจอย่างรุนแรง มีความผิดหวังอย่างรุนแรง หรือมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็สามารถทำให้เกิดอาการไบโพลาร์ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ อาการไบโพลาร์ไม่ใช่อาการที่น่ากลัวจนเกินไป คุณสามารถที่จะรักษาให้หายได้ด้วยการรับยาที่จะช่วยในการปรับอารมณ์ของผู้ป่วย ปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล รวมไปถึงการทำจิตบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดโดยจิตแพทย์ ซึ่งถือเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้งหนึ่ง

การรักษาจากแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ หากต้องการให้อาการของผู้ป่วยหายอย่างรวดเร็วมากขึ้น ในส่วนของคนที่มีความใกล้ชิดกับคนที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ก็จำเป็นที่จะต้องรู้และเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคนี้มีอาการอย่างไร มีความคิดอย่างไร เพื่อที่จะช่วยในการดูแล และเป็นส่วนหนึ่งในแผนการรักษาที่จะทำให้ผู้ป่วยไบโพลาร์สามารถกลับมาเป็นคนปกติได้อีกครั้ง

คุณต้องมีความเข้าใจและรู้จักวิธีการในการรับมืออย่างถูกต้อง ต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงของการพลุ่งพล่านและช่วงซึมเศร้าว่ามันไม่ใช่นิสัยที่ไม่ดี แต่เป็นเพียงอาการเจ็บป่วยเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้หากสารเคมีในสมองกลับมาอยู่ในสภาวะที่สมดุล เพียงแต่ต้องคอยช่วยควบคุมไม่ให้ผู้ป่วยแสดงอาการที่รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างเท่านั้นเอง

เทคนิครับมือไบโพล่าร์
เทคนิครับมือไบโพล่าร์ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/emotion-control2_2456624.htm#page=1&query=bipolar&position=43

อาการโรคไบโพลาร์นี้ถือเป็นหนึ่งในอาการที่พบเจอได้บ่อยขึ้นมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ซึ่งมีสิ่งเร้ามาจากการใช้ชีวิตที่เคร่งเครียดมากขึ้นกว่าเดิม หรือปัจจัยอื่นๆที่ทำให้สารเคมีในสมองไม่สมดุล หากคุณไม่อยากที่จะต้องพบเจอกับโรคนี้ หรือไม่อยากให้คนรอบข้างต้องพบเจอ ก็ต้องรู้จักวิธีการรับมือและป้องกันไม่ให้ตัวเองตกไปอยู่ในภาวะที่ยากลำบากดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

Sending
User Review
0 (0 votes)