โปรไบโอติกส์ จำเป็นต่อร่างกายแค่ไหน
หลายๆท่านอาจจะไม่คุ้นหูกับคำว่า ‘โปรไบโอติกส์’ หรืออาจจะเคยได้ยินผ่านหูแต่ไม่ทราบว่าคำว่าโปรไบโอติกส์นั้นคืออะไร รู้เพียงแต่ว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายในทางไหน? จะช่วยทำให้ร่างกายได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาลองทำความเข้าใจกับคำว่า ‘โปรไบโอติกส์’ ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
โปรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลชีพที่มีชีวิตหรือเรียกว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งคำว่าจุลินทรีย์ ก็คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากๆ เช่น แบคทีเรีย เป็นต้น โดยจุลินทรีย์เหล่านี้ถือเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อบริโภคเข้าในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น โปรไบโอติกส์ที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปมีประโยชน์กับร่างกายในส่วนของระบบการย่อยอาหารและระบบการขับถ่าย
โดยปกติแล้วในร่างกายของคนเราในส่วนของอวัยวะที่เป็นลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก หรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย จะมีแบคทีเรียประจำถิ่นที่ทำหน้าที่ในการย่อยสารอาหารและทำให้ระบบการขับถ่ายของเราเป็นปกติอยู่แล้ว แบคทีเรียประจำถิ่นนี้มีอยู่จำนวนมากมายหลายล้านตัว และช่วยกันทำหน้าที่ในการย่อยอาหารในร่างกาย ซึ่งการจะได้รับโปรไบโอติกส์เข้าไปก็จะได้มาจากการที่เรารับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์นั่นเอง

อาหารที่มีโปรไบโอติกส์ที่เราควรที่จะรับประทานหากคุณต้องการที่จะเสริมสร้างจุลินทรีย์ที่ดีให้กับร่างกายก็มีอยู่หลากหลายประเภท หากมีการรับประทานอาหารต่างๆเหมาะนี้เป็นประจำอย่างเหมาะสม ก็ย่อมทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์หลากหลายทาง ทั้งนี้ อาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกส์มีดังต่อไปนี้ เช่น
1 ชีส ชีสเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยและคุณประโยชน์รอบด้าน ซึ่งนอกจากชีสจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังมีแคลเซียมในปริมาณที่สูงที่จะช่วยบำรุงกระดูกได้ด้วย
2 กิมจิ อาหารสัญชาติเกาหลีนี้มีความเข้มข้นไปด้วยความอร่อย เกิดขึ้นจากการนำผักไปหมักจนเกิดเป็นเชื้อจุลิทรีย์ขึ้นมา จึงขึ้นชื่อในเรื่องของการมีโปรไบโอติกส์ด้วย
3 โยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์จากนมตัวนี้ถูกผลิตด้วยกรรมวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำให้เกิดเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารของมนุษย์ การรับประทานโยเกิร์ตจึงทำให้คุณได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน
4 มิโซะ อาหารสัญชาติญี่ปุ่นตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีโปรไบโอติกส์สูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามต้องระวังเล็กน้อยเพราะมิโซะเป็นอาหารที่ค่อนข้างเค็มและมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง
5 แตงกวาดอง การนำเอาแตงกวาไปดองจะทำให้เกิดเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงได้ด้วย
6 ไซเดอร์ น้ำส้มที่น้ำส้มสายชูหมักอย่างไซเดอร์ก็เป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่กำลังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและดูแลระบบย่อยอาหารในร่างกายได้
ประโยชน์ของการรับประทานโปรไบโอติกส์จะเกิดขึ้นได้ดีมากที่สุดหากเรารับประทานอย่างสมดุล เหมาะสม ไม่มากและน้อยจนเกินไป เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณจำนวนแบคทีเรียที่อยู่ในระบบการย่อยอาหารให้เหมาะสม โดยประโยชน์ของการรับประทานโปรไบโอติกส์แบ่งออกเป็นหลายๆประการ ดังต่อไปนี้
1 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคท้องเสีย รวมไปถึงโรคที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือในระบบทางเดินปัสสาวะได้ด้วย
2 ช่วยส่งเสริมการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่หลายๆชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเคหรือวิตามินบี
3 ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆรวมไปถึงสารก่อมะเร็ง
4 ช่วยลดอาการภูมิแพ้
5 ช่วยลดการดูดซึมไขมันหรือคอเลสเตอรอล

ในขณะเดียวกันหากเรามีการรับประทานโปรไบโอติกส์เข้าไปในร่างกายมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้ร่างกายของเราตั้งรับไม่ทัน เพราะอาหารจำพวกนี้ไม่ใช่ว่ายิ่งทานเยอะจะยิ่งได้รับประโยชน์ แต่การที่เรามีจำนวนของโปรไบโอติกส์มากเกินไป โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลงหรือร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอ จะกลับกลายเป็นโทษต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะโปรไบโอติกส์จะทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ และอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น สำหรับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆที่มีส่วนทำให้ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ก็ต้องระมัดระวังในการรับประทานโปรไบโอติกส์ไม่ให้มากจนเกินไปด้วย
ทางที่ดีที่สุดจึงควรที่จะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนว่า คุณสามารถที่จะรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์เหล่านี้ได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่กำลังได้รับการบำบัดทางเคมี จะเป็นช่วงที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอ เนื่องจากเป็นโรคที่ภูมิต้านทานร่างกายจะต่ำ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำก็ควรที่จะระมัดระวังการรับประทานโปรไบโอติกส์ให้มากกว่าปกติเช่นกัน และควรงดการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกส์ ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวด้วย
อาหารทุกชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ หากเราเรียนรู้และลงมือรับประทานด้วยความระมัดระวัง ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหารอย่างสูงที่สุดได้