บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

คุณเป็นหรือไม่?…โรคไม่กล้าทิ้งของ

คุณเป็นหรือไม่?…โรคไม่กล้าทิ้งของ

หลายคนมีปัญหากับการเก็บของในบ้าน เพราะไม่รู้ว่าสิ่งของใดบ้างควรที่จะเก็บ…หรือสิ่งของในบ้านที่สามารถทิ้งได้ รู้สึกเสียดายของทุกอย่างที่มีอยู่จนไม่กล้าที่จะทิ้งของรักของหวงของตัวเองเลย การเก็บสะสมของต่างๆเอาไว้จนกลายเป็นภูเขาอาจจะเป็นแหล่งที่มาของเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรก รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมที่ไม่น่ามอง ซึ่งการเก็บสะสมของที่มากจนเกินไปแบบนี้ถือเป็นหนึ่งในความผิดปกติที่เกี่ยวข้องทางจิต

วันนี้เราจะมาพูดถึงอาการของโรคเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder รวมไปถึงลองมาเช็คกันดูหน่อยว่าคุณนั้นเข้าข่ายความผิดปกติหรือเป็นภาวะเจ็บป่วยดังกล่าวนี้แล้วหรือยัง ?

โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) คือ อาการทางจิตที่มีอาการชอบเก็บสะสมของต่างๆเอาไว้มากมาย ไม่กล้าทิ้งอะไรเลย และรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งสำคัญจนทำให้สิ่งของที่สะสมเอาไว้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆนี้

คุณเป็นหรือไม่?...โรคไม่กล้าทิ้งของ
คุณเป็นหรือไม่?…โรคไม่กล้าทิ้งของ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/picture-girl-s-children-s-room-with-strong-mess_9761791.htm#page=1&query=mess%20room&position=2

โรคเก็บสะสมของไม่ได้หมายความว่าจะพบเฉพาะในผู้สูงอายุหรือต้องเป็นคนที่มีอายุมากเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วอาการของโรคสะสมของแบบนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ตอนที่คุณยังคงเป็นคนที่มีอายุไม่มาก เพียงแต่จะแสดงอาการชัดเจนเมื่อคุณมีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป เพราะในช่วงวัยที่คุณเกิดมาแล้วประมาณ 30 ปี คุณจะเริ่มมีข้าวของเครื่องใช้มากขึ้นและรู้สึกผูกพันกับมันจนไม่ยอมที่จะทิ้งอะไรเลย ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้มักจะแยกแยะหรือให้ความสำคัญกับการเก็บหรือทิ้งสิ่งของไม่ได้ ทำใจได้ยากหากจะต้องทิ้งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป จนเมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นก็จะเริ่มเก็บชิ้นของสิ่งของอื่นๆที่ไม่สำคัญ แต่ในใจกับคิดว่ามันยังมีประโยชน์ต่อตนเองอยู่

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคอาจจะยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเหตุผลจากอะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดมาจากพันธุกรรม สำหรับคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มักจะทำให้มีโอกาสที่จะพบว่าจะเป็นโรคชอบสะสมของสูงได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์

หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถเกิดโรคนี้ได้ก็อาจจะเป็นกลุ่มที่เคยได้รับการบาดเจ็บเกี่ยวกับสมองส่วนหน้าหรือสมองส่วนกลาง ก็อาจจะทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมจากคนที่ไม่เคยชอบสะสมอะไรเลย กลายมาเป็นคนที่ชอบสะสมของต่างๆมากมายจนเต็มบ้านก็เป็นได้

ต่อไป…เรามาลองเช็คดูกันหน่อยว่า…คุณนั้นเข้าข่ายของคนที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคเก็บสะสมของหรือยัง โดยมีอาการที่ต้องวังเกตดังต่อไปนี้

1 ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของและรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างมากที่จะต้องทิ้งอะไรลงไป

2 ไม่สามารถที่จะจัดเรียงข้าวของเป็นหมวดหมู่หรือรู้สึกยากลำบากอย่างยิ่งในการที่จะแยกแยะประเภทของสิ่งของออกจากกัน

3 รู้สึกทุกข์ใจเป็นอย่างมากหรือละอายใจกับข้าวของที่ตัวเองเก็บไว้

4 ไม่ไว้ใจคนอื่นและไม่กล้าให้คนอื่นแต่ต้องข้าวของตัวเอง หรือไม่ยอมให้ใครมาหยิบยืมข้าวของตัวเองไปด้วย

5 รู้สึกหมกมุ่นกับสิ่งของ กลัวว่าถ้าทิ้งสิ่งใดไปแล้วในอนาคตจะไม่มีสิ่งนั้นใช้ และเมื่อใดก็ตามที่เผลอที่จะทิ้งอะไรไป จะต้องรีบไปเช็คทันทีว่ายังจะสามารถจะกู้เอาสิ่งของสิ่งนั้นกลับคืนมาได้หรือไม่

6 ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เพราะไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย ทำให้จำเป็นต้องแยกตัวออกจากสังคม มีปัญหากับคนในครอบครัว มีปัญหาการเงิน รวมถึงปัญหาทางสุขภาพ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายๆอาการของ 6 ข้อที่กล่าวมานี้ ก็จะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่จะบอกได้แล้วว่าคุณกำลังจะต้องเจอกับโรคเก็บสะสมของเข้าแล้ว

คุณเป็นหรือไม่?...โรคไม่กล้าทิ้งของ
คุณเป็นหรือไม่?…โรคไม่กล้าทิ้งของ — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/collection-aged-retro-tools-accessories_6544447.htm#page=1&query=Collect%20old%20things&position=19

อ่านมาถึงตรงนี้…คุณอาจจะคิดว่า…แค่เก็บของมากๆก็ไม่น่าจะเป็นหนึ่งในโรคใดที่น่ากลัว หรือไม่อยากจะเชื่อว่าโรคแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ เพราะดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเจอได้ทั่วไป และไม่คิดว่าจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา แต่สิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเกิดโรคนี้ถือเป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสะสมเชื้อโรคที่เกิดขึ้นจากการเก็บของจำนวนมาก ทำให้มีฝุ่นหรือเชื้อจุลินทรีย์สะสมมากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งผลเสียต่อคุณและคนรอบข้าง รวมไปถึงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การล้ม การตกทับ หรืออื่นๆมากมาย ร่วมกับอาการทางจิตอื่นๆ เช่น การย้ำคิดย้ำทำ ความวิตกกังวล การเข้าสังคมยาก เป็นต้น

สำหรับอาการเก็บของมากเกินไปนี้สามารถรักษาได้ด้วยยา ซึ่งยาจะเข้าไปช่วยในการปรับสารเคมีที่อยู่ในสมอง เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนกระบวนการความคิดและบำบัดพฤติกรรมที่คุณเคยเป็น เนื่องจากเดิมทีคุณอาจจะมีปัญหาเรื่องของการแยกแยะประเภทของสิ่งของ ก็จะต้องรับประทานยาเข้าไปเพื่อปรับความคิดใหม่ และทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจ มีเหตุผล หรือเพื่อสร้างแรงจูงใจในการที่จะยอมตัดใจทิ้งสิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็น รู้จักการแยกประเภทสิ่งของออกจากกัน และทำให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างสงบสุขอีกหนึ่ง

สิ่งสำคัญที่จะช่วยเกื้อหนุนการรักษาในครั้งนี้อีกหนึ่งอย่าง ก็คือ คุณจะต้องมีคนรอบข้างที่มีความเข้าใจในตัวคุณเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้เป็นอาการความป่วยทางความคิด ซึ่งสำหรับคนปกติอาจจะง่ายมากในการตัดใจทิ้งี่สิ่งของอะไรบางอย่าง แต่มันยากเหลือเกินสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ ทำให้กำลังใจจากคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย หากมีคนข้างๆที่เข้าใจ โรคนี้ก็สามารถที่จะรักษาให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม โรคเก็บสะสมของอาจจะเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ง่ายๆ แต่ก็ยังจะสามารถที่จะทำให้อาการที่คุณมีนั้นค่อยๆดีขึ้นได้ จากการรักษาด้วยการใช้ยารวมถึงพฤติกรรมบำบัดตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

Sending
User Review
0 (0 votes)