แก้หลังค่อมให้ได้ผล
ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือการทำงานแบบผิดๆ อาจทำให้คุณมีปัญหาในเรื่องของอาการหลังโก่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการยกของไม่เหมาะสม การนั่งด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การเอี่ยวตัว เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีผลทำให้แนวกระดูกสันหลังเกิดการบิดเบี้ยวหรือผิดรูป ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการหลังค่อม ไหล่ห่อ จนไม่สามารถที่จะยืดตัวกลับมาให้ตรงได้เหมือนเดิม
อาการหลังค่อม คือ การที่กระดูกสันหลังมีการโค้งนูนผิดปกติ บางรายอาจสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่บางรายจะค่อยๆเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดหลังเจ็บที่กระดูกสันหลัง หายใจลำบาก รับประทานอาหารลำบาก
โดยปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนจะโค้งตามธรรมชาติอยู่ที่ 20 ถึง 45 องศา แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหลังค่อมจะมีความโค้งของกระดูกสันหลังตั้งแต่ 50 องศาขึ้นไป ร่วมไปกับความรู้สึกปวดตึงหรือเจ็บ รวมไปถึงอาการเมื่อยล้าของหลัง อาการหลังค่อมสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงของการพัฒนากระดูกอย่างรวดเร็ว สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการหลังค่อมสามารถที่จะแบ่งออกได้ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1 Postural Kyphosis มักพบในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งเกิดมาจากการที่นั่งหรือเดินด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อถูกยืดหรือทางออกและทำให้กระดูกผิดรูป
2 Scheuermann’s Kyphosis เป็นอาการหลังงอที่ชัดเจน ไม่สามารถแก้ไขได้แม้จะทำท่าที่ถูกต้องแล้ว และพบในวัยรุ่นชายมากกว่าในวัยรุ่นหญิง โดยเฉพาะคนที่ผอมเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงกระดูกไม่เพียงพอ ทำให้กระดูกสันหลังเจริญไม่เต็มที่ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านทางสายเลือดในครอบครัวได้
3 Congenital Kyphosis ภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยส่วนใหญ่จะมีการเชื่อมกันระหว่างกระดูกสันหลังตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดตั้งแต่ในวัยเด็กเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตที่ผิดรูปแบบไปมากกว่านี้ และรูปแบบนี้ก็สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เช่นเดียวกัน

การวินิจฉัยอาการหลังค่อมนอกจากจะดูได้ด้วยสรีระภายนอกแล้ว หากต้องการที่จะศึกษาถึงลักษณะของความผิดปกติที่ชัดเจนมากขึ้น อาจจะใช้วิธีการเอกซเรย์ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจระบบประสาท การตรวจสมรรถภาพของปอด หรือการตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยสาเหตุความเป็นไปของโรคอย่างชัดเจนมากขึ้นได้
ในส่วนของการรักษาอาการหลังค่อมก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยนั้นมีอายุเท่าไหร่ และอาการหลังค่อมที่เป็นอยู่นั้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเป็น 2 ประเภทในการรักษา ก็คือ การรักษาด้วยการผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด
สำหรับการรักษาโดยการไม่ต้องผ่าตัด จะเหมาะสำหรััับผู้ป่วยที่มีอาการหลังค่อมไม่รุนแรงมากนัก สาเหตุมักมาจากการทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งการแก้ไขก็สามารถทำได้หลายๆวิธี ได้แก่
1) การทำกายภาพบำบัด
2) การรับประทานยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด
3) การใช้อุปกรณ์ในการค้ำกระดูก อุปกรณ์ที่ใช้ในการค้ำกระดูกก็มีอยู่มากมายหลายแบบ การจะเลือกใช้แบบไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าองศาความโค้งของกระดูกสันหลังที่คุณเป็นอยู่นั้นมีความรุนแรงมากแค่ไหน ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จะช่วยในการค้ำกระดูก เช่น เข็มขัดพยุงหลัง เสื้อพยุงหลัง เสื้อดัดหลัง ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้จะช่วยแก้ไขรูปร่างของกระดูกสันหลังด้วยการพยุงหลังส่วนบนให้กลับมาเป็นเส้นตรง ไม่โค้งงอ และช่วยลดอาการปวดหลังหรืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากอาการหลังค่อมได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงต่อการผ่าตัดที่อาจจะเจ็บปวดมากกว่าหรือมีอันตรายได้
ในส่วนของการรักษาด้วยการผ่าตัด จะเป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง และอาการยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่บรรเทาลงแม้จะใช้วิธีการแก้ไขแบบไม่ผ่าตัดไปแล้ว การผ่าตัดจะช่วยในการลดความโค้งของกระดูกสันหลังให้ดีมากขึ้น และทุเลาอาการปวดหลังให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอาการหลังค่อมได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจหรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

สำหรับใครที่ยังไม่อยากป่วยหรือมีอาการหลังค่อมเมื่อมีอายุที่มากขึ้น คุณก็สามารถที่จะป้องกันตัวเองได้ด้วยการพยายามอยู่ในอิริยาบถที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ไม่ทำลายสุขภาพของกระดูกสันหลัง เช่น
1 การนั่ง/ยืน/เดินในท่าทางที่ถูกต้อง หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่ห่อไหล่
2 ไม่สะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป หากจำเป็นที่จะต้องขนย้ายของจำนวนมากหรือน้ำหนักมากควรใช้เป็นกระเป๋าล้อลากแทน
3 เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อหลัง ท้อง และหน้าอก ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น การเดินการเล่นโยคะ การว่ายน้ำ เป็นต้น
ผู้ทีเริ่มมีปัญหาหลังคด หลังโก่ง หลังค่อม ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แนะนำว่าให้ลองแก้ไขด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือก่อนในช่วงแรก เพราะการป้องกันในช่วงแรก ๆ ย่อมดีกว่าการแก้ไขในช่วงเวลาที่เป็นมาก ๆ ทั้งนี้ หากอาการรุนแรงมากขึ้นก็จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นช่วยแก้ไขปัญหาให้ ซึ่งจะเป็นไปตามอาการที่คุณเป็น