การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, เกี่ยวกับโรค

ใครเป็นบ้าง…โรคอยากนอนตลอดเวลา

ใครเป็นบ้าง…โรคอยากนอนตลอดเวลา

 

แต่ละคนก็ต่างมีความชอบหรือความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่รักการพักผ่อนก็มักจะใช้เวลาโดยส่วนใหญ่ในการนอนหลับอยู่บนเตียง หรือพักผ่อนทำกิจกรรมทุกๆอย่างบนเตียงของตัวเอง ซึ่งการกระทำแบบนี้จะช่วยให้เขารู้สึกผ่อนคลาย แต่ในขณะเดียวกันการที่คุณมีพฤติกรรมแบบนี้ซ้ำๆอาจจะทำให้เกิดเป็นโรคชนิดหนึ่งขึ้นมาได้ นั่นก็คือ “โรคเสพติดการนอน”

โรคชนิดนี้มีความอันตรายหรือร้ายกาจอย่างไรต่อสุขภาพของเรา ใครกันบ้างที่มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ ต้องมาหาข้อมูลเพิ่มเติมกันสักนิดค่ะ

โรคเสพติดการนอนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Clinomania เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล เช่นเดียวกันกับกลุ่มโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเภทอื่นๆ ซึ่งการเกิดโรคชนิดนี้มีการศึกษาในเบื้องต้นว่าเกี่ยวข้องกับสารตัวหนึ่งที่อยู่ในสมองที่มีชื่อว่าโดปามีน

ใครเป็นบ้าง...โรคอยากนอนตลอดเวลา
ใครเป็นบ้าง…โรคอยากนอนตลอดเวลา — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/couple-lying-bed-twin-pijamas-feet-view_9108412.htm#page=1&query=sleep%20addict&position=23

สารตัวนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดเป็นอาการป่วยขึ้นมา เมื่อสารตัวนี้ผิดปกติจะทำให้คุณมีแต่ความรู้สึกที่อยากจะนอนอยู่บนเตียง ไม่อยากออกไปทำกิจกรรมอื่นๆใด ลองมาเช็คกันหน่อยว่าคุณเข้าข่ายที่จะป่วยเป็นโรคนี้บ้างหรือยัง

สำหรับคนที่มีอาการต่างๆเหล่านี้ให้ระวังว่าคุณจะเริ่มมีอาการเสพติดเตียงนอนเข้าแล้ว อาการที่ว่าได้แก่

1 ชอบนอนเป็นชีวิตจิตใจ

ถ้าว่างเมื่อไหร่ต้องหาเวลานอนหลับทุกครั้ง ถึงแม้จะนอนหลับเต็มอิ่มในตอนกลางคืนมากี่ชั่วโมงแล้วก็ตาม ก็ยังคงอยากที่จะนอนต่ออยู่อย่างนั้น คนกลุ่มนี้จะคิดว่าเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของ ก็คือ เวลาที่คุณได้ใช้ชีวิตในการนอนหลับอยู่บนเตียงนอนนั่นแหละ

2 ทำทุกสิ่งทุกอย่างบนเตียง

นอกเหนือจากการนอน มนุษย์ก็ยังจำเป็นต้องทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อให้ชีวิตขับเคลื่อนต่อไป แต่ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ เช่น การรับประทานอาหาร การทำงาน การเล่นเกม หรือการหนังสือ เป็นต้น ทุกๆกิจกรรมจะต้องนำขึ้นมาทำอยู่บนเตียงนอนทั้งหมด เพราะเตียงนอนเป็นสถานที่ที่คุณรู้สึกปลอดภัย จึงพร้อมที่จะทำทุกอย่างอยู่บนเตียงนอนของตัวเอง

3 นอนเท่าไหร่ก็คงไม่พอ

อาการที่สำคัญของอาการนี้ ก็คือ คุณจะรู้สึกนอนหลับไม่เพียงพอ แม้ว่าตัวคุณเองจะนอนอย่างต่อเนื่องนานมากกว่า 12 ชั่วโมงก็ตาม คุณเองก็ยังอยากจะงีบหลับตอนกลางวันอยู่อย่างนั้น

จะเห็นได้ว่าหากสังเกตจากอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถือว่าเป็นอาการที่ค่อนข้างหนักเลยทีเดียว การที่คุณอยู่บนเตียงนอนมากจนเกินไป และใช้ชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของวันทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียงนอน จะทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอลงอย่างแน่นอน

การขยับตัวที่น้อยลงหรือมีกิจกรรมนิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหวจะทำให้คุณอ้วน หรือมีความผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ และยิ่งใช้เวลาอยู่บนเตียงนอนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีแนวโน้มว่าจะยิ่งใช้เวลาอยู่บนเตียงนอนนานขึ้นมากเรื่อยๆ จนในวันหนึ่งคุณอาจจะไม่มีแรงที่จะลุกขึ้นจากที่นอนในอนาคตเลยก็ได้

อีกทั้ง การที่คุณชื่นชอบการนอนมากกว่าปกิ ยังอาจจะทำให้อารมณของคุณเกิดอารมณ์แปรปรวน เกิดความเครียด หรือเกิดความซึมเศร้าร่วมด้วยได้

ใครเป็นบ้าง...โรคอยากนอนตลอดเวลา
ใครเป็นบ้าง…โรคอยากนอนตลอดเวลา — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/horizontal-image-handsome-cute-young-man-with-bristle-posing-with-head-white-soft-pillow-sleeping-peacefully-smiling-seeling-good-dream-attractive-guy-napping-after-hard-working-day_11891855.htm#page=1&query=sleep&position=2

หากมีอาการแบบนี้ต่อไปคงจะไม่ดีแน่ๆ ควรที่จะทำอย่างไรเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณดึงตัวเองออกจากเตียงนอนได้ ก็คือ การปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อเสาะหาถึงสาเหตุที่ทำให้คุณชื่นชอบการนอนเป็นพิเศษ จากนั้น จึงค่อยๆปรับพฤติกรรมต่างๆให้ห่างไกลจากเตียงนอนให้มากขึ้นเรื่อยๆ

การปรับพฤติกรรมอาจจะเน้นการออกกำลังกายทดแทนช่วงเวลาที่เคยเสพติดเตียง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อาจจะอ่อนล้าไปในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้กลับมาแข็งแรงทีละน้อย เนื่องมาจากการขยับร่างกายที่น้อยกว่าปกต อย่าหักโหมเพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ รวมไปถึงจะต้องมีการปรับโภชนาการทางอาหาร เพื่อชดเชยในสารอาหารที่ขาดหายไปเพราะคุณให้เวลากับการนอนที่มากเกินไปนั่นเอง

เชื่อว่าอาการเสพติดการนอนสามารถเป็นหนึ่งในอาการที่แก้ไขได้ หากคุณรู้ถึงสาเหตุและแก้ไขให้ถูกจุด ลองหากิจกรรมอื่นๆที่มีความสำคัญในชีวิตมาทำ เพื่อดึงเอาตัวเองออกจากเตียงนอน หากสามารถทำได้รับรองว่ามันจะเกิดประโยชน์กับคุณอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ กิจกรรมที่นำมาใช้ในการดึงคุณออกจากเตียงก็ควรเป็นกิจกรรมที่จะทำให้คุณเกิดความสุขในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การออกไปศึกษาโลกภายนอก การได้รับประทานของอร่อยที่ชื่นชอบ รวมไปถึงการได้รับความรักจากบุคคลรอบข้าง ที่จะฉุดรั้งให้คุณทำสิ่งที่ดีๆและมีประโยชน์ต่อสังคม หรืออาจจะเป็นกิจกรรมอื่นๆที่ทำให้คุณรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น รู้สึกได้ทำประโยชน์ให้กับคนอื่น ก็จะช่วยให้คุณลดอาการเสพติดเตียงนอนได้

การพักผ่อนสามารถทำได้หากเราเลือกที่จะใช้เวลาพักผ่อนอย่างเหมาะสม ซึ่งคงไม่ใช่เป็นการพักผ่อนตลอดทั้งวันอย่างแน่นอน เพราะนอกจากสุขภาพที่จะต้องสูญเสียไปแล้ว เวลาที่มีค่าที่สุดในชีวิตของคุณ ก็ยังถูกเผาผลาญไปเรื่อยๆอย่างไร้คุณค่าอีกด้วย