เพลียแดด ใครเป็นได้บ้าง
ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในฤดูกาลไหนๆ ทุกๆฤดูกาลก็มักจะต้องมีแสงแดดร้อนแรงอยู่เสมอ เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนภูมิอากาศเขตร้อนชื้น ทำให้ยากเหลือเกินที่คนไทยจะหลีกเลี่ยงการต้องพบเจอกับแสงแดดจัดๆได้ และถึงแม้ว่าแสงแดดจะเป็นผลดีกับต้นไม้บางชนิด การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการตากแห้งอาหาร แต่สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว กลับไม่ได้ต้องการการได้รับแสงแดดจ้าๆในระยะเวลาที่ยาวนานสักเท่าไหร่
สำหรับคนที่มีร่างกายที่ไม่แข็งแรงมากนัก ก็อาจจะเกิดอาการไม่สบายหรืออาการผิดปกติเมื่อต้องพบเจอกับแสงแดดจัดหรืออากาศร้อน ยิ่งถ้าจะต้องมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายกลางแดด ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ความร้อนภายในร่างกายสูงมากจนเกินไป และเกิดเป็นอาการที่ไม่ปกติที่สามารถแสดงออกมาได้
ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงหนึ่งในอาการที่มักเกิดขึ้น หากคุณได้มีการออกแดดบ่อยๆ และต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แสงแดดจากดวงอาทิตย์เป็นเวลานานๆ นั่นก็คือ “อาการเพลียแดด” นั่นเอง
อาการเพลียแดดคืออะไร? แล้วเราจะสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างไรบ้าง? ลองมาอ่านบทความเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ

อาการเพลียแดดเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณจำเป็นที่จะต้องออกแดด และได้พบกับอากาศที่ทั้งร้อนและชื้น บวกกับการที่มีการทำกิจกรรมอย่างหนัก ยิ่งมีการขยับเขยื่อนร่างกายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ขีดความสามารถในการทนต่ออุณหภูมิสูงลดลงเท่านั้น เมื่อร่างกายต้องตากแดดนานๆ จะทำให้ร่างกายมีความร้อนสูง เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หรือเป็นตะคริว พร้อมๆกับภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาการทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ทั้งสิ้น
โดยปกติแล้วอาการเพลียแดดไม่ถือเป็นอันตรายมากนัก หากคุณมีการแก้ไขอาการดังกล่าวโดยการกลบเข้าไปนั่งข้างในที่ร่มสักประมาณ 30 นาที ก็จะทำให้อาการเพลียแดดนั้นหายไปได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ยังคงฝืนทำกิจกรรมที่คุณไม่สามารถวางมือได้ และอดทนสู้แดดต่อไป ไม่ยอมดูแลรักษาอาการเพลียแดดที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ ก็อาจจะนำไปสู่ภาวะลมแดดหรือที่เรียกว่า “ฮีสโตรค” ได้ ซึ่งอาการฮีสโตรคจะเป็นอาการที่มีความอันตรายมากกว่า และจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉินเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับสุขภาพของคุณ
โดยส่วนมากแล้วอาการเพลียแดดมักจะเกิดกับคนที่จำเป็นจะต้องใช้ชีวิตอยู่กลางแดดจ้าบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น นักกีฬา หรือนักเรียนที่จะต้องทำกิจกรรมบางอย่างกลางแสงแดด ซึ่งสัญญาณที่เราจะใช้ในการ ตรวจสอบภาวะอาการเพลียแดด ก็จะเป็นอาการเหนื่อยล้า ปวดหัว เหงื่อออกมาก แต่ผิวหลังกลับเย็นแม้ว่าอากาศจะร้อนแค่ไหนก็ตาม รวมทั้งอาจจะเกิดอาการหน้ามืด เวียนหัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ เป็นตะคริว คลื่นไส้ เป็นต้น ร่วมด้วย
นอกจากการเข้าไปหลบพักในที่ร่มแล้ว ควรที่จะนั่งในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี และอาจจะต้องมีการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยแร่ธาตุที่เสียไปกับเหงื่อ ซึ่งหากมีการพักแล้วอาการดีขึ้น ก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่หากพักนานกว่า 1 ชั่วโมงแล้ว อาการเพลียแดดยังไม่หายไป หรือมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะต้องพบเจอกับอาการของภาวะฮีสโตกได้ ซึ่งจะมีความรุนแรงมากขึ้นไปกว่าเดิม ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินทันที เพื่อให้สามารถที่จะดูแลอาการและตอบสนองต่อสถานการณ์ในร่างกายของคุณได้ตรงจุด ซึ่งอาจจะมีความจำเพาะในแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการเพลียแดดได้มากกว่าคนปกติ ก็มักจะเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี หรือผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากจะมีความอ่อนแอและมักจะปรับตัวในสภาพอากาศร้อนจัดได้ไม่ดีเท่ากับคนในวัยอื่นๆ
รวมไปถึงผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคปอด ก็จะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเพลียแดดได้ง่ายขึ้น หรือหากใครที่มีการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน ยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ก็อาจจะทำให้คุณเกิดอาการเพลียแดดได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้น กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่จำเป็นจะต้องมีการออกแดด
ทางที่ดีที่สุดคือการพยายามที่จะป้องกันตัวเอง คุณจำเป็นจะต้องมีการป้องกันตัวเองให้มากกว่าคนอื่นๆทั่วไปหากรู้ว่าตัวเองอ่อนแอและมีโอกาสเพลียแดดได้สูง ซึ่งการป้องกันก็สามารถทำได้ทั้งการกางร่ม การสวมหมวก การทาครีมกันแดด การสวมเสื้อผ้าที่มีการระบายความร้อนได้ดี หรือวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การพยายามไม่ออกไปยืนหรือออกกำลังกายกลางแดดจ้า

อาการเพลียแดดไม่ใช่สิ่งที่รุนแรงจนรักษาไม่ได้ หรือไม่ใช่สิ่งที่ป้องกันไม่ได้ เพียงแค่คุณต้องรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการอดทนต่อความร้อนได้มากแค่ไหน หากรู้ตัวว่าตัวเองกำลังอ่อนแอเนื่องจากมีความผิดปกติในร่างกาย หรือมีการรับประทานยาบางตัว ก็จำเป็นที่จะต้องเอาตัวเองเข้ามาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยมากกว่า จึงจะเป็นการดีที่สุด และจะช่วยให้คุณปลอดภัยจากภาวะเพลียแดด รวมไปถึงภาวะวะฮีสโตรค ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ด้วย