การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง

เชื่อว่าคนทุกคนน่าจะเคยมีการเข้ารับการตรวจสุขภาพ ซึ่งอาจจะเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีหรือเป็นการตรวจสภาพในช่วงเวลาที่คุณเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในคลินิกหรือโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าก่อนที่คุณจะเข้าพบแพทย์ จะต้องมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รวมไปถึงการวัดค่าความดันโลหิตก่อนทุกครั้ง เพื่อดูว่าสภาพร่างกายของคุณ ณ ตอนนั้นเป็นอย่างไร มีโอกาสหรือความเสี่ยงในความเจ็บป่วยอย่างไรบ้าง

การตรวจวัดความดันจะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ทำให้คุณสามารถที่จะรับรู้ถึงสภาพร่างกายของตัวเองได้ ทั้งนี้ การอ่านค่าความดันก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนสงสัย ว่าตัวเลขที่ปรากฏแถวบนและแถวล่างนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร มีความหมายว่าอะไร และควรจะมีค่าอยู่ในช่วงใดจึงจะหมายความว่าความดันของเรานั้นปกติ เราจะมาทำความเข้าใจกับการอ่านเกณฑ์ความดันโลหิตในบทความนี้กันค่ะ

ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/woman-measuring-blood-pressure-with-electronic-tonometer-closeup-diagnosis-arterial_12637278.htm#page=1&query=Systolic&position=10

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเวลาที่เราวัดความดันด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เราจะได้ผลลัพธ์ออกมา 2 ค่า

เลขตัวแรก จะเป็นความดันตัวบน ซึ่งจะเป็นความดันในช่วงที่หัวใจบีบตัว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Systolic

เลขตัวที่สอง จะเป็นความดันตัวล่าง ซึ่งเป็นความดันในช่วงที่หัวใจคลายตัว หรือเรียกว่า diastolic

เหตุผลใดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ความดันใน 2 สภาวะ เพราะเป็นช่วงที่หัวใจมีการบีบหรือคลายตัว โดยหากคุณอยู่ในเกณฑ์ของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็จะมีค่าใดค่าหนึ่งหรือทั้งสองค่าสูงกว่าค่าปกติ ทั้งนี้ ยังมีเกณฑ์อื่นๆที่ประกอบการใช้ในการประเมินความดันโลหิตอีกหลายเกณฑ์

ในส่วนของการอ่านค่าความดันโลหิต หน่วยของตัวเลขที่เกิดขึ้นจะเป็นหน่วยความดันมิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นหน่วยที่เป็นมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ค่าความดันที่เหมาะสมของตัวเลขทั้ง 2 ตัวนั้นจะแตกต่างกันออกไป โดยหากเป็นความดันตัวบนควรที่จะต่ำกว่า 120 มิลลิเมตรตลอด ส่วนความดันตัวล่างควรที่จะต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากไม่ได้อยู่ในช่วงที่กล่าวไว้ ก็ให้ระวังไว้เลยว่าคุณอาจจะอยู่ในเกณฑ์ของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในเรื่องของความดันโลหิต

ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/measurement-blood-pressure-by-electronic-tonometer_6681494.htm#page=1&query=Systolic&position=23

ความร้ายกาจของโรคความดันโลหิตสูงโดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่แสดงอาการโดยทันที คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะของโรคความดันโลหิตสูงจนกระทั่งเกิดภาวะอาการแทรกซ้อน ซึ่งหากเกิดภาวะเช่นนั้นแล้ว ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการอีกหลายๆอาการที่มีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดสมองตีบ แตก หรือตัน หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน หรือหัวใจขาดเลือด ไตวายเรื้อรัง เลือดออกที่จอตา ประสาทตาเสื่อม เป็นต้น

ดังนั้น คนที่มักจะมีความเสี่ยงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตบ่อยๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบความดันโลหิตของตัวเองอยู่เสมอ เพราะในแต่ละเวลาที่ผ่านไป การทำกิจกรรมต่างๆที่เปลี่ยนแปลง ความเครียดในแต่ละช่วงเวลา ย่อมมีผลที่ทำให้ความดันโลหิตของเรานั้นเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ

ดังนั้น เราจึงควรจะมีการวัดความดันโลหิตในช่วงเวลาเดิมในทุกๆวัน เพื่อที่จะทำให้รู้ถึงความดันโลหิตเฉลี่ยที่เป็นจริง โดยช่วงเวลาหลังจากการตื่นนอนและช่วงก่อนนอน แต่ละช่วงเวลาควรวัดช่วงละประมาณ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำมากที่สุด และจะต้องทำการวัดความดันโลหิตติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันต่อเดือน เพื่อที่จะดูการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันโลหิตก่อนที่จะระบุได้ว่าคุณนั้นมีเกณฑ์ที่จะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ใครเสี่ยงความดันโลหิตสูง — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/close-up-female-doctor-with-measuring-pressure-arm-man-patient-wear-arm-with-digital-pressure-gauge-better-healing-room-hospital_7944862.htm#page=1&query=Systolic&position=16

หากเริ่มมีสัญญาณของความผิดปกติ ก็จำเป็นจะต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงมักจะเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคยอดนิยมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง หรืออัมพาต กลุ่มผู้ป่วย 5 โรคนี้มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องของโรคความดันโลหิตสูงพ่วงด้วย

สำหรับกลุ่มคนที่เป็นคนวัยทำงานทั่วไป ก็มีโอกาสที่จะมีความเสี่ยงของการเป็นความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน หากคุณมีกิจกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มกาแฟเป็นประจำ รวมไปถึงความเครียดจากการทำงาน หรือติดรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ก็จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

ดังนั้น วิธีการในการป้องกันการเกิดภาวะโรคความดันโลหิตสูงได้ดีที่สุด ก็จำเป็นจะต้องตัดความเสี่ยงทั้งหมดออกไป ไม่ว่าจะเป็นการพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นการออกกำลังกายเบาๆอย่างการเดินเร็วก็ได้เ แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต่อเนื่อง รวมไปถึงการพยายามควบคุมการรับประทานอาหาร ลดโซเดียมที่อยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะมาจากเกลือ น้ำปลา หรือผงชูรสก็ตาม หากสามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานหรือลดปริมาณการทานเนื้อสัตว์ได้ก็จะยิ่งดีมากขึ้น

อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยได้มาก ก็คือ การพยายามฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจให้ได้อย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ความดันลดลงได้เช่นเดียวกัน

แม้ว่าความดันโลหิตสูงอาจจะยังไม่ทำร้ายคุณในวันนี้ แต่มันจะเป็นตัวการที่กระตุ้นให้โรคร้ายอื่นๆของคุณนั้นมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม และจะเป็นตัวการที่ทำให้คุณป่วยหนักในอนาคต ดังนั้น หากในวันนี้มีความสามารถในการที่จะป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ก็ควรที่จะทำไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ร่างกายหรือชีวิตในอนาคตลำบากมากไปกว่าเดิม