วิธีการเลือกฟิล์มติดรถอย่างไรให้ขั้นเทพ
ความร้อนของประเทศไทยทำให้เราจำเป็นต้องพยายามป้องกันตัวเองในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะอยู่กลางแดดจ้าหรืออยู่ในรถก็ตาม โดยเฉพาะคนที่จะต้องเดินทางบ่อยๆด้วยแล้ว การขับรถหรือต้องอยู่อาศัยอยู่ในรถทั้งวัน ย่อมเป็นการเปิดโอกาสการรับแสงแดดได้ตลอด
และถึงแม้ว่าในรถยนต์จะมีแอร์เย็นฉ่ำแค่ไหน แต่ก็ไม่สามารถหักล้างกับความร้อนของแสงแดดได้เลย การติดฟิล์มรถยนต์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ได้ทำเพื่อปรับอากาศให้เย็นขึ้นเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงยังมีความสามารถในการลดรังสี UV ที่จะส่องเข้ามาทำร้ายผิวหนังเรา และเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย ที่สำคัญ…ฟิล์มกรองแสงยังช่วยในการรักษาอุปกรณ์ต่างๆภายในรถ ไม่ให้เกิดความเสียหายเนื่องมาจากการโดนแดดแผดเผาอย่างยาวนานอีกด้วย

การเลือกฟิล์มกรองแสงรถยนต์ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป แต่คุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะเลือกให้ถูกต้องและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด ทั้งนี้ คุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้ถึงระบบการทำงานของฟิล์มกรองแสงในแต่ละรูปแบบว่ามีความสำคัญอย่างไร มาศึกษาเพิ่มเติมกันดีกว่าค่ะ
1 ต้องเลือกลักษณะฟิล์มที่เหมาะสม
ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ดีไม่เพียงทำหน้าที่เฉพาะการลดแสงแดดที่จ้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความสามารถในการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไปด้วย ดังนั้น การเลือกฟิล์มกรองแสงจะต้องพิจารณาถึงเปอร์เซ็นการลดความร้อน เปอร์เซ็นต์การลดรังสี UV เปอร์เซ็นต์การสะท้อนแสง และเปอร์เซ็นต์ที่แสงส่องผ่านกระจกเข้ามา
เมื่อเรารับรู้ถึงค่าสำคัญต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็จะใช้ในการตัดสินใจเลือกฟิล์มติดรถยนต์ที่เหมาะสมกับเราได้
2 ต้องรับประกันคุณภาพ
หลังจากที่สามารถเลือกฟิล์มกรองแสงคุณภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้แล้ว การรับประกันคุณภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ในการพิจารณาควบคู่ด้วย โดยทั่วไปแล้วบริษัทติดฟิล์มกรองแสงจะรับประกันคุณภาพไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีบางรายรับประกันยาวนานตั้งแต่ 7-10 ปี
ดังนั้น ต้องสอบถามถึงเงื่อนไขการรับประกันของบริษัทติดฟิล์มกรองแสง เพื่อใช้ในการพิจารณาควบคู่ด้วย
3 ต้องติดตั้งจากช่างผู้ชำนาญการ
หลังจากได้ฟิล์มที่ดีและรับประกันยาวนานแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือจะต้องมีการติดตั้งที่ถูกต้องจากช่างผู้ชำนาญ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะมีฟิล์มกรองแสงคุณภาพดีเท่าไหร่ แต่หากมีการติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้คุณภาพในการกรองแสงนั้นลดลง
ดังนั้น จำเป็นจะต้องค้นหาผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ในการติดตั้ง ให้คุณสามารถที่จะได้รับประโยชน์จากการติดฟิล์มกรองแสงมากที่สุดนั่นเอง

ในส่วนของประเภทของฟิล์มกรองแสงสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยหลักๆจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
1 ฟิล์มแบบธรรมดา
ฟิล์มชนิดเป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติทำให้แสงผ่านเข้ามาในรถยนต์ได้ลดลง โดยไม่มีส่วนผสมของสารที่จะช่วยในการป้องกันรังสีจากแสงแดด จึงทำให้ไม่สามารถที่จะลดความร้อนหรืออันตรายจากแสงได้หรือลดได้เพียงน้อยนิด ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นแค่ประมาณ 3-5 ปี ที่สำคัญคือมีราคาถูกทำให้หลายคนหลงดีใจคิดว่าได้ฟิล์มราคาประหยัด
2 ฟิล์มแบบลดความร้อน
ฟิล์มกรองแสงประเภทนี้จะมีส่วนผสมของสารบางอย่างที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีจากแสงแดดได้เป็นอย่างดี โดยฟิล์มจะมีเนื้อฟิล์มที่เคลือบด้วยโลหะพิเศษที่ช่วยป้องกันทั้งความร้อนและอันตรายจากรังสีที่มาจากแสงแดดได้
สามารถแบ่งย่อยฟิล์มกรองแสงแบบลดความร้อนได้อีกหลายแบบ เช่น
1) ฟิล์มปรอท ฟิล์มชนิดสามารถลดความร้อนภายในห้องโดยสารได้เป็นอย่างดี สามารถกันแดดได้สูงสุดถึง 90% แต่ฟิล์มชนิดนี้หากมองในช่วงตอนกลางวันจากภายนอกรถเข้าไปในรถ จะพบว่ากระจกจะมีลักษณะคล้ายกับสีรุ้ง ไม่สามารถมองเข้าไปในตัวห้องโดยสารได้อย่างชัดเจน
2) ฟิล์มนิรภัยฟิล์มตัวนี้จะช่วยป้องกันการแตกร้าวของกระจก ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ทั้งแบบที่ทนความร้อนและไม่ทนความร้อน
3) ฟิล์มอินฟราเรด เป็นพื้นที่ช่วยในการตัดรังสีอินฟราเรด จึงทำให้สามารถช่วยป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี
4) ฟิล์มใสนาโน ฟิล์มชนิดนี้ช่วยลดความร้อนในห้องโดยสารได้เป็นอย่างดี และยังช่วยในการป้องกันรังสี UV ได้สูงมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์แบบไม่มีเงาสะท้อน
5) ฟิล์มเซรามิค ฟิล์มที่ได้รับความนิยมสูงมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องมาจากจะมีการเคลือบอนุภาคนาโนลงบนแผ่นฟิล์มทำให้สามารถที่จะป้องกันรังสี UV และความร้อนได้อย่างดี และยังช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็นได้ดีกว่าฟิล์มแบบอื่น แต่ยังคงมีความเป็นส่วนตัว คนภายนอกไม่สามารถเข้ามาในได้อย่างชัดเจน
โดยสรุปแล้วการเลือกฟิล์มติดรถยนต์ก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการขับรถของคุณด้วยว่ามักจะชอบขับรถอย่างไร ตอนไหน ขับในช่วงกลางวันหรือกลางคืน เพราะหากคุณขับรถกลางคืนบ่อยมากกว่าแต่เลือกฟิล์มที่ค่อนข้างเข้ม ก็อาจจะเกิดเป็นปัญหาในการมองเห็นในที่มืดได้ ในทางตรงกันข้าม หากคุณขับรถในช่วงกลางวันมากกว่า แต่ติดฟิล์มที่ติดบางเกินไป ก็ย่อมไร้ประโยชน์ในการป้องกันแสง UV นั่นเอง
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาพฤติกรรมการขับรถและค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปด้วย จึงจะทำให้คุณสามารถเลือกฟิล์มติดรถได้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด