การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ

หิวบ่อย เพราะอะไร

หิวบ่อย เพราะอะไร

ความหิวเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ เพราะมนุษย์จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเพื่อเติมพลังงานให้แก่ร่างกาย นำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารจำเป็นที่จะต้องรับประทานในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถที่จะนำเอาสารอาหารต่างๆไปใช้ประโยชน์ และเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนชีวิตได้

แต่หลายคนก็มักมีปัญหาในเรื่องของการรับประทานอาหาร เพราะบางคนกินจุทำให้เกิดอาการหิวบ่อย ทั้งที่เพิ่งจะรับประทานอาหารไปไม่นาน แต่ก็ยังคงมีความหิวเกิดขึ้นอยู่แทบจะตลอดเวลา สิ่งต่างๆเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังมีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับระบบภายในร่างกาย จนทำให้เกิดเป็นอาการหิวบ่อยจนเกินไป และมันอาจจะเป็นผลกระทบต่อภาวะโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้าด้วย

1 พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

อาหารบางประเภทสามารถจะส่งผลต่อความหิวที่แตกต่างกันได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือมีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวในปริมาณมาก อาหารต่างๆเหล่านี้จะย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว หากคุณรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นปริมาณมาก ก็จะทำให้คุณเกิดอาการหิวได้บ่อยๆ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและลดลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน อาหารที่มีเส้นใยอาหารในปริมาณมาก จะช่วยชะลออาการหิวของคุณได้ เนื่องมาจากร่างกายจะค่อยๆย่อยอาหารต่างๆเหล่านี้อย่างช้าๆ ทำให้อาการหิวบ่อยลดลง

หิวบ่อย เพราะอะไร
หิวบ่อย เพราะอะไร — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/hungry-woman-pajamas-eating-sweet-cakes-night-near-refrigerator-stop-diet-gain-extra-pounds-due-high-carbs-food-unhealthy-night-eating_7060035.htm#page=1&query=hungry&position=14

2 รับประทานยาบางชนิด

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้คุณหิวบ่อย ก็คือ การรับประทานยาบางชนิด เนื่องมาจากยาบางประเภทจะกระตุ้นให้เกิดอาการอยากอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะยาในกลุ่มยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน รวมไปถึงยาที่รักษาอาการซึมเศร้าในกลุ่ม SSRIs หรือกลุ่มยาระงับอาการทางจิตก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหิวได้บ่อยมากขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน

3 ตั้งครรภ์

สาเหตุสำคัญของอาการหิวบ่อยที่เกิดขึ้นมาจากตั้งครรภ์ก็เป็นเพราะว่า คุณจำเป็นที่ต้องเร่งเติมสารอาหารต่างๆเพื่อเป็นอาหารให้กับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ที่ยังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงที่ครรภ์มีอายุประมาณ 17 สัปดาห์ คุณแม่จะมีการรับประทานอาหารที่จุมากกว่าปกติ เนื่องจากต้องรีบเสริมสร้างร่างกายของทั้งทารกในครรภ์และคุณแม่ให้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลให้กินจุมากขึ้น และอาจจะมีผลที่ทำให้น้ำหนักขึ้นสูงมากเกินกว่ามาตรฐานได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราคุณแม่จำเป็นจะต้องมีการเสริมสารอาหารให้ลูกน้อย แต่ก็ต้องควบคุมไม่ให้น้ำหนักไม่ให้เพิ่มสูงมากจนเกินไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยไม่ควรที่จะให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิน 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งหากมีปัญหาต่างๆเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลในขณะตั้งครรภ์โดยตรง

4 ทิ้งช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหารมากจนเกินไป

สำหรับบางคนแล้วอาจจะทำงานหนักจนลืมเวลา และหลงลืมการรับประทานอาหารในบางมื้อไป จนทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหารมากกว่าปกติโดยไม่รู้ตัว เนื่องมาจากทิ้งช่วงเวลาในการรับประทานอาหารที่นานจนเกินไป ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายก็คือ ร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘เกรลิน’ ซึ่งจะส่งผลทำให้กระตุ้นความอยากอาหาร และรู้สึกหิวจนทำให้รับประทานมากกว่าปกติ

ที่สำคัญการปล่อยให้ท้องว่างเป็นระยะเวลานานๆหลายชั่วโมงก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกาย โดยทั่วไปแล้วควรจะทิ้งระยะห่างระหว่างมื้ออาหารไม่เกิน 4-5 ชั่วโมง หากไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารได้ตรงเวลา ก็ควรที่จะหาอาหารเล็กๆน้อยๆรองท้องเอาไว้จะเป็นการดีที่สุด

หิวบ่อย เพราะอะไร
หิวบ่อย เพราะอะไร — ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/hungry-young-woman-sitting-kitchen-home_6812752.htm#page=1&query=hungry&position=16

5 โรคเบาหวาน

สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน กลไกในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดจะผิดปกติไป ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกหิวได้บ่อยมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งนอกเหนือจากอาการหิวบ่อยแล้ว อาจจะมีอาการอย่างอื่นด้วย เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักเพิ่มโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น

ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องมีการรับประทานยา และเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป จนเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย

6 พักผ่อนไม่เพียงพอ

คนที่พักผ่อนน้อย หรือมักจะตื่นกลางดึก อาจจะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารมีความผิดปกติไป และกระตุ้นให้เกิดอาการอยากอาหารที่สูงมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีแนวโน้มในการรับประทานอาหารที่มากกว่าปกติ รู้สึกอิ่มช้าลง และมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารในกลุ่มที่มีแคลอรี่สูง เช่น ไขมัน แป้ง น้ำตาล เป็นต้น จนอาจจะทำให้เกิดเป็นปัญหาอื่นตามมา

7 ความเครียด

ยิ่งเครียดก็ยิ่งทานมาก ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าในระหว่างที่เรากำลังตึงเครียดอยู่ ฮอร์โมนแห่งความเครียดที่มีชื่อว่า คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน จะสูงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องการพลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย และกระตุ้นให้เกิดเป็นอาการอยากอาหารตามมา ซึ่งเราจำเป็นจะต้องมีการควบคุมร่างกายให้ถูกวิธี หากเครียดควรที่จะแก้ไขด้วยการระงับสติหรืออารมณ์ แทนที่จะใช้วิธีการรับประทานอาหารเพื่อชดเชยความเครียดนั้นๆ

หิวบ่อย เพราะอะไร
หิวบ่อย เพราะอะไร +— ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-photo/asian-woman-being-happy-after-buying-street-food_13844266.htm#page=1&query=hungry&position=28

8 อาการก่อนมีประจำเดือน

ผู้หญิงบางคนในช่วงที่ใกล้มีประจำเดือนมักจะเกิดอาการหิวบ่อยๆ หรืออยากอาหารมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นเหตุผลมาจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนหรือ PMS นอกจาก นี้ก็อาจจะเกิดเป็นอาการอื่นๆตามมาได้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้าง่าย เป็นต้น

การพยายามบรรเทาอาการในกลุ่ม PMS ควรที่จะใช้วิธีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเพื่อที่จะบรรเทาอาการต่างๆเหล่านี้อย่างถูกวิธี

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่อาจจะส่งผลให้คุณรู้สึกหิวได้บ่อย ซึ่งคุณจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาการหิวบ่อยคุณนั้นเกิดจากความผิดปกติใดในร่างกาย เพื่อที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด อย่าแก้ไขเพียงแค่การรับประทานอาหารทดแทนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมันไม่ใช่การแก้ไขที่ยั่งยืน และอาจจะทำให้เกิดเป็นปัญหาอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐานตามมาจนทำให้เกิดความเครียดสะสมอย่างอื่นตามไปได้

error

Enjoy this blog? Please spread the word :)