การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ

ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่?

ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่?

ฟันเป็นหนึ่งในส่วนของร่างกายที่เราจำเป็นที่จะต้องดูแลให้ดี ไม่ใช่เพียงแค่รอยยิ้มที่สวยงาม เท่านั้น แต่ฟันยังต้องมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะเป็นอุปกรณ์ในการบดเคี้ยวอาหารเพื่อการรับประทาน หากมีปัญหาอาจจะเป็นการเพิ่มข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร และอาจจะทำให้เราได้รับสารอาหารบางอย่างไม่ครบถ้วน

ฟันคุด (Wisdom Tooth) เป็นปัญหาในช่องปากที่หลายคนมองข้ามไป แล้วจะรุนแรงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดฟัน จนทำให้จำเป็นต้องผ่าตัดหรือถอนออกไป จะเป็นการดีมากกว่าหากเรารู้จักวิธีการในการดูแลและจัดการกับมันตั้งแต่แรก เพื่อที่จะทำให้ฟันคุดไม่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตของเราอีกต่อไป จะต้องมีการถอนหรือผ่ามันเมื่อไหร่ มาติดตามข้อมูลจากบทความนี้ได้เลยค่ะ

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมาในปากของเราได้ตามปกติ เนื่องจากพื้นที่บริเวณขากรรไกรไม่เพียงพอ หรืออาจจะมีบางสิ่งขัดขวางไม่ให้ฟันงอกขึ้นมาได้ตามปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากขนาดของขากรรไกรที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ทำให้ฟันคุดมักจะเกิดขึ้นในบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย

ฟันคุดจะพบมากในคนที่มีอายุอยู่ในช่วง 18-20 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนทุกคนจะต้องเกิดปัญหาฟันคุดนี้ขึ้นมา เพราะขากรรไกรของคนบางคนก็มีขนาดที่จะใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับฟันที่ลึกที่สุดในปากเรา ทำให้ฟันซี่สุดท้ายสามารถโผล่ขึ้นมาได้อย่างปกติ และไม่เกิดเป็นปัญหาฟันคุด

ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่?
ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่? — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/asian-man-feeling-hurt-from-toothache-symptom_3017394.htm#page=1&query=Wisdom%20Tooth&position=1

เมื่อใดก็ตามที่เรามีปัญหาฟันคุดก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดมันออกไป เพื่อไม่ให้ฟันคุดส่งผลกระทบต่อฟันที่อยู่ใกล้เคียง จนอาจจะทำให้เกิดเป็นอาการอักเสบของเหงือกหรือฟันบริเวณใกล้เคียงได้ สำหรับคนที่ฟันคุดโผล่พ้นเหงือกแล้ว แต่การจัดเรียงของฟันไม่เป็นปกติ ก็จำเป็นจะต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยทั่วไปแล้วฟันคุดจะแบ่งออกเป็นตามลักษณะการขึ้น ได้แก่ ‘ฟันคุดแนวตรง’ ‘ฟันคุดแนวนอน’ และ ‘ฟันคุดแนวเฉียง’ ไม่ว่าจะเป็นฟันคุดแนวไหนก็ควรที่จะมีการจัดการที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากคุณมีความประสงค์ที่จะจัดฟันก็จำเป็นที่จะต้องมีการผ่าฟันคุดออกเช่นกัน เพราะฟันซี่นี้อาจจะกระทบกับแนวฟันกรามทำให้ไปเบียดกับฟันอื่นๆ ในขณะที่คุณกำลังจัดฟันอยู่อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการจัดฟันลดน้อยลง

หากยังไม่อยากที่จะกำจัดเอาฟันคุดออกไป คุณอาจจะมีอาการปวด ทรมาน นอนไม่หลับ เนื่องจากปวดฟันมากจนเหงือกบวม จนจำเป็นจะต้องทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการ

ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่?
ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่? — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-vector/wisdom-tooth-push-other-tooth-impacted-wisdom-tooth-character-pushing-adjacent-teeth-causing-inflammation-toothache-gum-pain-illustration_12437747.htm#page=1&query=Wisdom%20Tooth&position=8

สำหรับคนที่มีฟันโผล่ขึ้นมาตามแนวฟันปกติ คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องผ่าหรือถอนฟันคุดออกไป แต่หากไม่ใช่แบบนั้น ฟันคุดที่ขึ้นออกมาเป็นในลักษณะแนวอื่นที่จะทำให้คุณเกิดเป็นอาการดังกล่าวที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการบดเคี้ยวอาหาร คุณก็จำเป็นจะต้องเดินออกไปหาทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่

ฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาจากเหงือกอาจจะมีผลทำให้คุณทำความสะอาดฟันได้ยากมากขึ้น เนื่องมาจากฟันซี่ในสุดเป็นบริเวณที่แปรงสีฟันจะซอกซอนเข้าไปทำความสะอาดได้ยาก อาจจะทำให้เกิดเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหาร และเมือมีการสะสมของแบคทีเรีย จะทำให้ฟันผุบริเวณนั้นหรือมีกลิ่นปากตามมา

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจว่าเราจำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือถอนฟันคุดนั้นออกไปหรือไม่ ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าพบกับทันตแพทย์ เพื่อให้ทันตแพทย์เอกซเรย์ดูแนวการวางของฟันคุดว่าเป็นลักษณะอย่างไร และฟันดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณมากแค่ไหน เพื่อที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าควรที่จะกำจัดออกหรือว่าเก็บเอาไว้ได้

ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่?
ฟันคุด ต้องเอาออกหรือไม่? — ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-photo/dentist-using-surgical-pliers-remove-decaying-tooth-modern-dental-clinic_9242891.htm#page=1&query=Wisdom%20Tooth&position=19

หากคุณได้รับการพิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องมีการกำจัดฟันคุดออกไป ก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการให้ข้อมูลกับทันตแพทย์อย่างละเอียดว่ามีโรคประจำตัวใดๆหรือไม่ เนื่องมาจากว่าการผ่าฟันคุดอาจจะต้องมีการรับประทานยาละลายลิ่มเลือดหรือมีการฉีดยาชา ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่สามารถรับยาดังกล่าวได้ และอาจจะส่งผลต่อโรคประจำตัวอย่างอื่น

หลังจากที่ผ่าฟันคุดไปแล้ว คุณอาจจะรู้สึกไม่เจ็บปวดโดยทันที เพราะทันตแพทย์จะต้องมีการฉีดยาชาให้คุณ แต่หลังจากยาชาหมดฤทธิ์อาการระบมบวมจะเกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถแก้ไขได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการที่เป็น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจดูอาการและตัดไหม ก็จะเป็นการสิ้นสุดการผ่าตัดครั้งนี้

ทั้งนี้ ต้องระวังการแปรงฟันแรงๆในช่วงแรกหลังการผ่าฟันคุดด้วย แต่ให้ใช้ที่การบวมน้ำเกลือเบาๆเพื่อทำความสะอาดช่องปากและกำจัดแบคทีเรียแทน อีกทั้ง อาหารที่รับประทานก็ควรที่จะงดอาหารที่มีรสจัดหรือรสเผ็ด ซึ่งอาจจะมีผลทำให้แผลในช่องปากหายช้าได้

ฟันคุดไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากจนเกินไป คุณสามารถที่จะดูแลและกำจัดมันออกไปได้ เพื่อช่วยในการป้องกันปัญหาหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาในช่องปากภายหลัง หากคุณรู้จักวิธีการในการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าฟันคุดจะทำให้เราต้องเจ็บตัวอีกต่อไปแล้ว

Sending
User Review
0 (0 votes)