การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา

 

หัวใจเป็นอวัยวะในร่างกายที่ต้องทำงานตลอดเวลา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่หัวใจหยุดเต้น นั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถชีวิตมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ และการทำงานของหัวใจก็ส่งผลกระทบสืบเนื่องกับอวัยวะทุกชิ้นในร่างกาย ดังนั้น จึงต้องดูแลหัวใจให้ดี แม้ว่าจะยากเพียงใดก็ตาม

อัตราการเต้นของหัวใจมีจังหวะที่สอดคล้องกับการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆภายในร่างกาย เมื่อใดก็ตามที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ย่อมทำให้เกิดเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากมาย ซึ่งมีหลากหลายพฤติกรรมที่จะสนับสนุนให้เกิดเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นสิ่งที่เราจำเป็นที่ต้องมีการรู้ให้ทันท่วงทีถึงอาการและความเสี่ยง ที่อาจจะทำให้เกิดเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ขึ้นมา

สำหรับอาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะหัวใจเต้นปกติ ก็คือ อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น หายใจติดขัด หรือรู้สึกแน่นหน้าอก และบางรายอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นการเป็นลมจนหมดสติไปเลย ทั้งหมดนี้คือสัญญาณเตือนที่อาจจะทำให้คุณต้องรีบระวังตัว และหันมามองดูว่าตนเองกำลังมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้อยู่หรือไม่

สาเหตุของโรคนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และเราจะพอที่จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเป็นภาวะนี้ขึ้นได้หรือไม่? หากทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ เชื่อว่าเราจะสามารถดูแลหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายได้อย่างดี ลองมาหาความรู้กันได้เลยค่ะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/crop-woman-with-heart-on-palms-5340280/

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) เป็นอาการที่หัวใจไม่เต้นในจังหวะตามที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ บางคนอาจจะเต้นเร็วเกินไป หรือบางคนอาจจะเต้นช้าเกินไป ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรที่จะเป็น เมื่อเลือดไม่สามารถเดินทางไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้อย่างมีระบบ ก็ย่อมทำให้อวัยวะทั่วทั้งร่างกายขัดข้อง และอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นๆเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาจจะเป็นหลอดเลือดอุดตันในสมองเพิ่มมากขึ้นได้

พฤติกรรมสำคัญที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็คือ การประพฤติตัวเองที่ไม่เหมาะสม ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ชา กาแฟ การสะสมของความเครียด หรือเป็นเพราะภาวะโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือบางคนอาจจะเป็นความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนา หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถตรวจวินิจฉัยร่างกายได้ก่อนที่อาการจะหนัก และพบว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่การใช้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือการใช้ไฟฟ้าในการกระตุกเพื่อปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้เหมาะสมมากขึ้น การใช้สายสวนเพื่อแก้ไขหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ รวมไปถึงการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน รวมถึงการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ต้องรีบรักษา — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/male-doctor-massaging-shoulders-of-patient-5473182/

ในปัจจุบัน ก็จะมีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการตรวจจับความผิดปกติและบ่งบอกได้ว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือ “Electrocardiogram (EKG หรือ ECG)” เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจับชีพจร เพื่อบอกอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วทุกโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม เครื่องมือตัวนี้เป็นเพียงเครื่องมือการวินิจฉัยเบื้องต้น ยังไม่สามารถที่จะบ่งบอกได้ว่าอาการผิดปกติของหัวใจนั้นเกิดขึ้นที่บริเวณจุดใด

ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมาเพื่อแก้ไขและตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ ในปัจจุบันก็มีอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีชื่อว่า “CardioInsight” ซึ่งเครื่องมือตัวนี้สามารถที่จะวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยการตรวจจับบริเวณของกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติได้อย่างแม่นยำ และมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นกว่าเดิม สามารถบ่งบอกได้ว่าความผิดปกติของการเต้นหัวใจเกิดขึ้นที่หัวใจตำแหน่งใด ห้องบนหรือห้องล่าง ห้องซ้ายหรือห้องขวา เมื่อทราบความผิดปกติอย่างตรงจุดทำให้แพทย์สามารถที่จะใช้วิธีการในการรักษาได้อย่างตรงจุดเช่นกัน และทำให้อาการของผู้ป่วยสามารถที่จะหายได้ง่ายมากขึ้น ใช้เวลาในการรักษาสั้นลง และสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามเดิมได้อีกครั้งหนึ่ง

เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากที่จะมีหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีที่ดีมากขึ้นเท่าไหร่หรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากแค่ไหนในปัจจุบัน แต่ก็คงยังไม่ดีเทียบเท่ากับการไม่ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่แรก ซึ่งจริงๆแล้วทุกคนสามารถที่จะป้องกันการเกิดโรคภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยการควบคุมพฤติกรรมในการใช้ชีวิตให้เหมาะสมในทุกๆด้าน ซึ่งหากคุณสามารถทำได้ ตามที่กล่าวไว้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงหรือลดความรุรแรงในการเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นกว่าเดิม

หวังว่าหัวใจของทุกคนคงเต้นไม่ผิดจังหวะ หากมีการดูแลหัวใจที่ถูกต้อง รวมไปถึงหากรับรู้ว่าตัวเองมีหัวใจที่เต้นผิดจังหวะก็ต้องหากทางในการแก้ไขที่ถูกต้องและทันเวลา…ขอให้คุณมีหัวใจที่แข็งแรงและพร้อมที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป