ทำไมอายุมากถึงสายตายาว
ปัญหาด้านการมองเห็น ถือเป็นปัญหาพื้นฐานทั่วๆไปที่คนทุกๆคนสามารถพบเจอได้ ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมาเมื่อไหร่ก็จะกระทบต่อการใช้ชีวิต ทั้งนี้ มีปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมทำให้เกิดเป็นความผิดปกติทางสายตาได้หลากหลายประการ หากสามารถที่จะป้องกันความผิดปกติต่างๆได้ ก็จะมีส่วนช่วยให้สายตาของคุณสามารถใช้ได้นาน
หนึ่งในปัจจัยที่จะมีผลต่อสายตาอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นว่าคนที่มีอายุมากๆแต่ละคนจะต้องมีการสวมแว่นตาเพื่อปรับมุมมองการมองเห็น และเพื่อทำให้สามารถมองโลกได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากเมื่อไหร่ที่ทำแว่นตาหายหรือชำรุด จะมีผลอย่างยิ่งต่อการมองเห็นหรือทำให้ชีวิตสะดุดลง
หนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยก็คือ “ทำไมเมื่อมีอายุที่มากขึ้น มักจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสายตายาว?” ปัจจัยเสี่ยงเรื่องของอายุมีผลกระทบอย่างไรต่อปัญหาการมองเห็นในลักษณะดังกล่าวนี้ ลองมาไขข้อข้องใจกันได้เลยค่ะ

ดวงตาของเรามีความพิเศษกว่าเลนส์ชนิดไหนๆ ดวงตาสามารถที่จะปรับโฟกัสให้มองเห็นได้ชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล โดยมีระบบประสาทอัตโนมัติเป็นกลไกในการควบคุมเพื่อปรับระยะในการมองเห็นนี้ ซึ่งถือเป็นการควบคุมของร่างกายที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีการฝึกหัด แต่ทั้งนี้ การใช้งานดวงตาที่ยาวนานอาจจะทำให้กลไกการทำงานเหล่านี้เสื่อมลง และเป็นต้นเหตุที่ทำให้มองไม่ชัดเจน
โดยสามารถอธิบายกลไกการมองเห็นรวมถึงความผิดปกติในเรื่องของสายตาสั้นหรือสายตายาวได้ดังนี้
หากเราต้องการมองในระยะใกล้…ระบบประสาทจะสั่งคำสั่งมาให้กล้ามเนื้อมัดเล็กๆในลูกตาซึ่งอยู่รอบๆเลนส์ตา ทำให้เลนส์ในลูกตาโป่งออกเหมือนเลนส์นูน และมีความสามารถในการมองระยะใกล้ได้ ในทางตรงกันข้าม หากอวัยวะตัวนี้คลายตัวลงก็จะใช้ในการมองเห็นในระยะไกลนั่นเอง
แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้น กลไกการทำงานต่างๆเหล่านี้ก็ย่อมมีความเสื่อมไปตามอายุ ยิ่งเมื่อเรามีอายุเข้าใกล้เลขสี่เมื่อไหร่ กล้ามเนื้อตามัดเล็กๆที่อยู่รอบๆบริเวณตาจะมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้ไม่สามารถที่จะปรับโฟกัสให้ได้เหมือนที่เคยทำได้ในอดีต และเป็นปัญหาของอาการสายตายาวที่เกิดขึ้นเมื่อแก่ตัวลงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คนที่มีอายุมากขึ้นจะเกิดปัญหาเฉพาะเวลาการมองใกล้เท่านั้น ส่วนการมองไกลยังสามารถมองได้ตามปกติ เนื่องมาจากการมองไกลไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้ในการเพ่ง ซึ่งนั่นก็คือปัญหาของอาการสายตายาวนั่นเอง
อาการสายตายาวตามอายุจะมีปัญหาในระยะการมองใกล้ที่ระยะประมาณ 30 เซนติเมตรที่จะมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความไม่สบายตาในการอ่านหนังสือ มองตัวหนังสือได้ไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถอ่านหนังสือได้นานเท่าเดิม จำเป็นจะต้องยื่นมือเพื่อเพิ่มระยะการมองเห็นหรือพยายามถอยห่างจากระยะการมองเห็นเดิม เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือหากมีอาการสายตาสั้นเดิมอยู่แล้ว อาจจะต้องถอดแว่นเพื่อให้มองในระยะใกล้ได้ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ อาการสายตายาวและอาการสายตาสั้นไม่สามารถหักล้างกันได้ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นอาจจะพบเจอทั้งความผิดปกติของทั้งการสายตาสั้นและสายตายาวพร้อมๆกัน ซึ่งนั่นก็จะต้องมีวิธีการแก้ไขทั้งสายตาสั้นและสายตายาวไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ความสามารถในการมองเห็นทั้งระยะใกล้และระยะไกลสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ หากเราจะกล่าวถึงวิธีการแก้ไขสำหรับคนที่มีสายตายาว ในปัจจุบันก็มีวิธีการในการรักษาอาการสายตายาวตามอายุได้หลากหลายวิธี ได้แก่
1 การสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ การสวมแว่นตาเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะปรับโฟกัสการมองเห็นให้เป็นปกติ ซึ่งเลนส์ว่นตาสำหรับคนสายตายาวจะเป็นแว่นที่เป็นเลนส์นูนเพื่อที่จะเพิ่มกำลังในการโฟกัสให้มองใกล้ได้ชัดเจนมากขึ้น หรือหากใครไม่ถนัดในการสวมแว่นตา อาจจะใช้เป็นคอนแทคเลนส์ด้วยหลักการเดียวกันเพื่อแก้อาการสายตายาวก็ได้เช่นกัน
2 การผ่าตัดดวงตา การผ่าตัดดวงตาเป็นการรักษาอาการสายตาผิดปกติที่จะช่วยให้คุณสามารถกลับมามองเห็นภาพได้ชัดเจนเหมือนเดิม ซึ่งต้องแลกมากับการจ่ายค่าใช้จ่ายที่มีราคาแพง ในปัจจุบันมีหลักการในการผ่าตัดดวงตาเพื่อรักษาอาการสายตายาวได้ด้วยหลักการหลากหลาย เช่น LASIK, ReLEx เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์แบบนี้สามารถใช้การผ่าตัดเพื่อปรับระยะโฟกัสในการมองเห็น และรักษาอาการสายตายาวได้อย่างถาวร
ทั้งนี้หลังจากผ่าตัดจะต้องมีการใช้เวลาในการปรับตัวประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน แล้วแต่ในแต่ละบุคคล ซึ่งผลการรักษาจะสามารถอยู่ได้ในระยะยาว
เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของอวัยวะทุกส่วนในร่างกายก็จะตกลงเป็นธรรมดา ดวงตาก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะเช่นเดียวกันที่อาจจะมีความสามารถในการทำงานลดน้อยลง ซึ่งคุณสามารถที่จะดูแลดวงตาได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อที่จะทำให้ในอนาคตยังสามารถมองเห็นภาพได้ดีมากกว่าเดิม
แต่ถ้าสมมุติว่าไม่สามารถที่จะรักษาความสามารถในการมองเห็นได้จริงๆ ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีมากมายที่จะช่วยแก้ไขอาการผิดปกติทางสายตาของคุณได้ เพียงแต่คุณจะต้องเดินเข้าไปตรวจวัดสายตาหรือไปขอคำปรึกษาจากจักษุแพทย์ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดวงตาของคุณได้อย่างถูกต้อง และปรับการมองเห็นให้ชัดเจนดังเดิม