Uncategorized

รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด

รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด

เคยได้ยินคำกล่าวว่า…เด็กดื้อมักจะเป็นเด็กฉลาด….บ้างหรือไม่คะ? คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือไม่ และเหตุใดความเชื่อว่าเด็กดื้อคือเด็กฉลาดจึงยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ความดื้อกับสมองมีความสัมพันธ์กันจริงหรือไม่ เราจะมาไขข้อข้องใจและตามตามหาคำตอบกันค่ะ

หลายคนชื่อว่าเด็กดื้อมันจะเป็นคนที่ฉลาด เนื่องมาจากการที่เด็กแสดงอาการดื้อออกมา นั่นหมายความว่าเด็กมีความคิดเป็นของตนเอง แต่สำหรับในบางครั้งแล้วพฤติกรรมการดื้อหรือไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ อาจจะสร้างความลำบากใจให้แก่ผู้ปกครอง รวมไปถึงพ่อแม่บางคนอาจจะคิดว่าอาการดื้อที่เด็กแสดงออกมานั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กสมัยใหม่ในยุค 4.0 พัฒนาการทางสมองของเด็กเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ก็ล้วนแต่ส่งผลให้เด็กมีแนวโน้มที่จะดื้อหรือต่อต้านพ่อแม่มากกว่าเด็กในสมัยเก่า

สิ่งต่างๆเหล่านี้จะส่งต่อการเจริญเติมโตของเด็ก และส่งผลต่อไปต่อพฤติกรรมของการเป็นวัยรุ่น ซึ่งอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้างในอนาคตได้

รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด
รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/father-talking-to-his-son-4260102/

โรคดื้อต่อต้านหรือ ODD (Oppositional Defiant Disorder) เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กที่มีต่อผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ โดยทั่วไปแล้วโรคนี้ก็จะพบในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ถึง 8 ปี และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ทั้งนี้ โรคนี้อาจจะสามารถพบได้ในวัยรุ่นไปจนถึงผู้ใหญ่เลยก็ได้เช่นเดียวกัน

โดยสาเหตุของโรคอาจจะมาจากพันธุกรรมของระบบประสาทที่จะส่งผลให้การส่งต่อความดื้อสามารถส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูกได้ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมที่เด็กๆพบเจอในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงลูกที่ผิดวิธี หรือการถูกรังแกจากคนอื่นๆ ก็ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ลูกของคุณดื้อต่อต้านมากกว่าเด็กคนอื่นๆได้

รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด
รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/ethnic-father-and-kid-relaxing-in-bedroom-4546116/

แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะพูดว่าเด็กคนนั้นเข้าข่ายของการเป็นโรคดื้อต่อต้าน?

สำหรับอาการที่จะเข้าข่ายการเป็นโรคดื้อต่อต้าน เด็กจะต้องมีอาการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้ปกครอง ดังต่อไปนี้

1 อารมณ์รุนแรง การแสดงอารมณ์รุนแรงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นความอดทนต่ำ โกรธง่าย ขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือเด็กบางคนไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ และมักจะระเบิดอารมณ์ออกมาในทุกๆครั้งที่รู้สึกไม่พอใจ

2 หยาบคาย ทั้งการพูดจาหยาบคาย ชอบเถียง ไม่รับฟังเหตุผลของผู้ใหญ่ และไม่ยอมรับผิดในสิ่งที่ตัวเองทำพลาด แต่ยังอ้างว่าไม่ใช่ความผิดของตนเอง

3 คุกคามผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะวิวาท การก่อกวนให้เกิดความรำคาญใจ หรือการกลั่นแกล้ง ผู้อื่นด้วยเจตนาที่ไม่ดี การตอบโต้ในบุคคลอื่นๆแบบไร้มารยาทเช่นนี้ ล้วนแต่เป็นอาการสำคัญของโรคนี้ได้ทั้งสิ้น

หากพฤติกรรมของเด็กในปกครองของคุณเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น และกินเวลานานมากกว่า 6 เดือน จะถือว่าเป็นโรคดื้อต่อต้านที่ต้องรับการแก้ไขโดยด่วน เพื่อไม่ให้โรคดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของเด็ก รวมไปถึงคนรอบข้างที่อาจจะได้รับผลร้ายจากอารมณ์ที่รุนแรงของเด็กคนนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็คือ การดูแลจากผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองคือคนที่อยู่ใกล้ตัวเด็กมากที่สุด และจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการในการปฏิบัติตนกับเด็กที่เป็นโรคนี้อย่างถูกวิธี เพราะหากปล่อยให้เป็นเรื่องของธรรมชาติ และคิดว่าเด็กจะดีขึ้นเองในอนาคต จะยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปเรื่อยๆ

สิ่งที่ต้องระวัง คือ ผู้ปกครองต้องละเว้นการลงโทษที่รุนแรง หรือการใช้คำพูดที่หยาบคายต่อเด็ก เมื่อเด็กมีการแสดงอาการที่ไม่เหมาะสมออกมา รวมไปถึงอย่าดัดนิสัยด้วยการส่งลูกของตนไปอยู่กับคนอื่น หรือส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ เพราะมันไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง และอาจจะทำให้ลูกเครียดจนหนีออกจากบริเวณที่ตัวเองอยู่ได้

รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด
รับมือเด็กดื้อให้อยู่หมัด — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/a-mother-and-daughter-mad-at-each-other-8489335/

ส่วนแนวทางในการแก้ไขที่ถูกต้องและสำคัญที่สุด ก็คือ การใช้ความเข้าใจและใส่ใจในตัวเด็กอย่างแท้จริง ผู้ปกครองต้องพยายามที่จะสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเองกับลูก พยายามเข้าใจและให้ความรัก รวมถึงการพยายามำหากิจกรรมในครอบครัวร่วมกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ได้รับการพัฒนาในทางที่ดีมากขึ้น

การมอบความรักให้แก่เด็กที่เป็นโรคนี้จะทำให้แผลเป็นในใจของเขาค่อยๆจางหายไป และพร้อมที่จะเปิดรับและปรับตัวให้เป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้ปกครองต้องงดเว้นการใช้ความรุนแรง หรือเว้นการใช้อำนาจในฐานะของการเป็นผู้ปกครอง แต่ควรที่จะแสดงพฤติกรรมด้านดีเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกทำตาม และต้องไม่ลืมที่จะเอ่ยชื่อชมทุกๆครั้งที่เขาทำดี พร้อมๆกับการฝึกวินัยและฝึกให้เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างสมเหตุสมผล

การแก้ไขและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแนวทางให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นทีละน้อยๆ และหายจากโรคดื้อต่อต้านในที่สุด

แม้ว่าการปรับตัวและแก้ไขเรื่องนี้จำเป็นจะต้องใช้เวลา ไม่สามารถที่จะหายได้เพียงช่วงเวลาข้ามวัน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าหาคุณให้ความรักและความเข้าใจกับเด็กที่มากเพียงพอ จะเป็นแต้มต่อที่ทำให้คุณสามารถที่จะเข้าใจในตัวของลูกได้มากที่สุด

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)