การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้

สมองฝ่อ…ชะลอได้

สมองฝ่อ…ชะลอได้

 

มีความเชื่อที่ว่า…หากเราใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่รู้จักใช้สมองในการคิดหรือทำอะไรที่สร้างสรรค์ สักวันหนึ่งสมองก็จะฝ่อลงเรื่อยๆ คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือเปล่า? จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคนเราเมื่อไร? หากคุณอยากจะมีสมองที่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้าง เพราะรับรองว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณอย่างแน่นอน

โรคสมองฝ่อ (Brain Atrophy) เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์สมองจะเสื่อมลงเมื่อมีอายุที่มากขึ้น โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือการดูแลตัวเองที่ไม่ดีเพียงพอ จนทำให้เกิดเป็นอาการหลงลืม อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวสามารถที่จะชะลอได้ด้วยการพยายามหมั่นดูแลสุขภาพ และทำกิจกรรมบางอย่างที่เสริมสร้างพัฒนาการของสมอง

หากพูดถึงโรคสมองฝ่อแล้วต้องบอกว่าโรคนี้พบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป โดยจะพบว่าปริมาณของเซลล์เนื้อสมองจะลดน้อยลง ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุ และมีปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคนี้มากขึ้น ดังต่อไปนี้

1 พันธุกรรม

ถือเป็นสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

2 การไม่รับประทานอาหารเช้า

การที่เรางดเว้นอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญที่จะไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายรวมไปถึงสมองด้วย โดยเฉพาะมื้อเช้าซึ่งถือเป็นมื้อที่สำคัญมาก เพราะช่วงเวลาก่อนหน้ามื้อเช้าจะเป็นช่วงเวลาที่เรานอนหลับพักผ่อนหลายชั่วโมง หากเรายังเว้นมื้อเช้าไปอีกก็จะทำให้สมองขาดสารอาหารเป็นระยะเวลานาน เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าจึงควรเร่งเติมสารอาหารให้สมองด้วยการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของสมองที่ดีขึ้นนั่นเอง

สมองฝ่อ...ชะลอได้
สมองฝ่อ…ชะลอได้ — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/crop-girl-playing-blocks-on-carpet-5063379/

3 การทานอาหารมากจนเกินไป

การที่เราทานอาหารมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย นอกจากจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนแล้ว ยังอาจจะพ่วงโรคความจำสั้นเข้าไปด้วย เนื่องมาจากการที่เรารับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้หลอดเลือดในสมองมีโอกาสที่จะแข็งตัวมากขึ้น และนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของสมองในระยะยาว จึงจำเป็นต้องลดความอยากให้อยู่ในระดับพอดีๆ เพื่อให้สมองใช้ต่อไปได้ยาวๆ

4 การสูบบุหรี่

บุหรี่ไม่ได้ทำร้ายเพียงแค่อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของการทำลายสมอง มีผลทำให้สมองฝ่อ หรือกระตุ้นปัจจัยในการเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

ดังนั้น หากหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่ได้ ก็จะเป็นการดีต่อสมองมากกว่า และยังทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆได้รับการฟื้นฟูปด้วย

5 การรับประทานของหวานมากเกินไป

แม้ว่าของหวานจะเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำให้คุณมีความสุขทุกครั้งที่รับประทาน แต่น้ำตาลที่มากจนเกินไปจะไปขัดขวางการดูดซึมของโปรตีนและสารอาหารอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อสมอง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการสมองเสื่อมได้ไวมากขึ้นกว่าเดิมได้ ดังนั้น ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดเกินไป และ รับประทานอาหารอื่นที่มีประโยชน์ดีๆเข้ามาแทนที่

6 สภาพอากาศเป็นพิษ

หากต้องอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นพิษเสมอ ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะจากควันรถยนต์ ฝุ่น PM หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการหายใจลดน้อยลง ก็จะมีผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะมีผลที่ทำให้สมองได้รับผลกระทบตามไปด้วย

7 การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนหลับคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูร่างกาย หากเราพักผ่อนไม่เพียงพออวัยวะทุกอย่างก็จะได้รับการฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ รวมถึงสมองที่เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากไม่ต้องการที่จะทำลายสมอง ก็ต้องไม่ลืมที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ และทำให้การนอนหลับมีคุณภาพดีด้วย เพื่อให้ทุกอวัยวะทั่วร่างกายได้รับการฟื้นฟูที่ดีที่สุดนั่นเอง

สมองฝ่อ...ชะลอได้
สมองฝ่อ…ชะลอได้ — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/crop-girl-playing-blocks-on-carpet-5063379/

8 ขาดการบริหารสมองอยู่เสมอ

ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ควรจะทำอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ การทบทวนความจำ หรือทำกิจกรรมใดๆที่เป็นการกระตุ้นให้สมองได้คิด การใช้สมองจะช่วยเพิ่มรอยหยัก ทำให้สมองไม่ฝ่อ และช่วยทำให้ความทรงจำดีมากขึ้น

สำหรับคนที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่อใช้ในการกระตุ้นสมองอยู่เป็นประจำ อาจจะทำให้เกิดเป็นอาการป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ ซึ่งจะมีอาการสำคัญ คือ การหลงลืมเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น รวมไปถึงบางรายอาจจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาด้วย

ทั้งนี้วิธีการในการรักษาโรคสมองฝ่อคงไม่สามารถทำให้สมองกลับมาดีได้ดังเดิม เพียงแค่เป็นการชะลอการเสื่อมสภาพ ไม่ให้สมองเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ตามกิจกรรมที่กล่าวไปข้างต้น

การพยายามดูแลสมองไม่ให้เสื่อมสภาพ เป็นสิ่งที่เราควรที่จะทำตั้งแต่ตอนที่ยังมีอายุไม่มาก ไม่ต้องรอให้สมองเสื่อมหรือรอให้แก่ตัวลงก่อนจึงค่อยทำ เพราะยิ่งทำเร็วเท่าไหร่ก็จะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคสมองฝ่อได้มากเท่านั้น ซึ่งการที่สมองยังมีประสิทธิภาพที่สูงตลอดเวลา ก็ย่อมช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้มากขึ้นเท่านั้น

Sending
User Review
0 (0 votes)
error

Enjoy this blog? Please spread the word :)