เคยมั๊ยคะ เวลาที่เราเปลี่ยนสถานที่จากที่สว่างไปสู่ที่มืด เช่น การเข้าโรงภาพยนตร์ เป็นต้น ช่วงแรกที่เราเข้าไปจะไม่สามารถมองเห็นภาพต่างๆได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อใช้เวลาสักพัก ดวงตาของเราจะค่อยๆปรับสภาพ โดยรูม่านตาจะปรับขนาดให้เหมาะสม ทำให้สามารถมองเห็นได้แม้ในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
ภาพจาก : http://www.healthcareglobal.com/healthcare_technology/microchips-to-restore-useful-vision-in-rp-patients
แต่ก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มีความผิดปกติทางสายตา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในที่มืด เราเรียกอาการเหล่านี้ว่า ?ตาบอดกลางคืน?
อาการตาบอดตอนกลางคืนเป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นภาพวัตถุได้อย่างชัดเจนในสภาวะที่มีแสงสลัวหรือมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ การปรับสายตาให้มองเห็นภาพให้เห็นชัดจะทำได้ช้ากว่าคนปกติ หรือเรียกว่า ?สโลว์ ดาร์กอะแดปเตชัน? (Slow dark adaptation) ทางการแพทย์ จักษุแพทย์จะเรียกโรคนี้ว่า ?เรติไนติส ปิกเมนท์โตซา (Retinitis Pigmentosa)? หรือ โรค ?อาร์ พี? (RP)
อาการตาบอดกลางคืนนี้ถือเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น ต้อหิน เป็นต้น หรืออาจส่งผลให้ตาบอดเลยก็เป็นได้
โรคดังกล่าวเป็นโรคที่พบได้มากในเพศหญิง และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือหมายความอีกนัยหนึ่งว่าหากเรามีพ่อแม่พี่น้องหรือญาติที่เคยเป็นโรคนี้ ตัวเราเองก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้ มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้สายตาในทางที่ผิด ทำให้จอประสาทตาเสื่อมลง
หรืออีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคนี้คือการขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นตัวสร้างรงควัตถุที่มีความไวต่อแสง เมื่อรงควัตถุนี้ลดลงจะส่งผลให้ตาตอบสนองต่อแสงน้อยลง และส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดเจนในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไป ด้วยการรับประทานวิตามินเอเป็นอาหารเสริมหรือการรับประทานอาหารที่มีเบตาคาโรทีนสูง เช่น ฟักทอง มะละกอสุก ผักบุ้ง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นวิตามินที่ทุกคนควรบริโภคให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพตาที่สดใสและการมองเห็นที่คมชัดตลอดไป