การดูแลสุขภาพ, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้

ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้

ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้

 

ร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าค้นหา และมีประเด็นบางอย่างที่ทำให้เราต้องสงสัยอยู่เสมอ แม้ว่าปัจจุบันจะมีความรู้ทางการแพทย์ออกมาอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในหลากหลายประการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในทุกๆวันจะมีข้อสงสัยใหม่ๆ ให้นักวิชาการค้นหาเพื่อตอบข้อสงสัยในความพิศวงของร่างกาย ซึ่งคำตอบในวันนี้อาจจะขัดแย้งกับคำตอบในอดีตก็เป็นได้ หากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนมากขึ้น

ยกตัวอย่างความน่าพิศวงของร่างกายที่หลายคนอาจจะสงสัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกๆคน ก็คือการเกิดทักษะบางอย่าง เช่น หากเรามีทักษะอะไรบางอย่างที่เคยทำอย่างต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน จนเราสามารถทำได้ดีในระดับหนึ่ง พอถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เราห่างหายจากทักษะนั้นๆไป และเว้นระยะไปสักพักหนึ่ง เมื่อวันใดวันหนึ่งกลับมาทำกิจกรรมหรือทักษะเดิมๆอีก เราจะสามารถกลับมาทำมันได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราเองแทบไม่อยากจะเชื่อว่าเรายังคงจำทักษะที่เคยทำนี้ได้ทั้งที่ไม่ได้ทำมันมานานแล้ว

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ความจำของกล้ามเนื้อ” หรือเรียกว่า (Muscle Memory) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่เรามีการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งซ้ำๆเป็นประจำ จนสมองสร้างเป็นความจำขึ้นมาช้าๆ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อกับสมอง ที่จะทำให้กล้ามเนื้อจำบางสิ่งบางอย่างได้โดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ ในอดีตเราอาจจะเคยคิดว่า ระบบประสาทและกล้ามเนื้อไม่สามารถจะมีความจำได้ แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยหลายตัวที่มีการศึกษา และพบว่าสมองและกล้ามเนื้อเมื่อมีการทำงานร่วมกันจะเกิดเป็นความจำของกล้ามเนื้อที่เก็บเอาไว้อยู่ในกล้ามเนื้อโดยตรง โดยมีชื่อเรียกว่า ‘Epigenetic Memory ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อถูกพัฒนาเนื้อเยื่อให้แข็งแรงมากขึ้น

แต่เมื่อใดก็ตามที่เราห่างเหินจากการเคลื่อนไหวนานๆ กล้ามเนื้อก็จะถดถอยลงแต่ไม่ลดลงเป็นศูนย์อย่างแน่นอน และเมื่อเรากลับมาฟื้นฟูความแข็งแรงของมันอีกครั้ง เราก็จะใช้ระยะเวลาเพียงไม่นานในการที่จะเรียกเอาความทรงจำนั้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทักษะฝีมือจากการฝึกความแข็งแรงจะมีเวลาเสื่อมถอยและส่งผลต่างกันไปในคนแต่ละคน ซึ่งในแต่ละบุคคลก็อาจจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูได้ไม่เท่ากัน

ส่วนงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Medicine & Science In Sports & Exercise ก็พบว่า กล้ามเนื้อสามารถเก็บความทรงจำได้จริงในระดับโมเลกุล ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาการหรือทักษะต่างๆของคุณเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นแม้จะหยุดฝึกมานานก็ตาม

ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้
ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/man-doing-a-dunk-2820906/

หากย้อนไปเรื่องของความจำ ระบบความจำในสมองของคนจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ คือระบบความจำการรับความรู้สึก ระบบความจำระยะสั้น และระบบความจำระยะยาว ซึ่งความจำที่จะทำให้เราทำทักษะต่างๆได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการใช้ความคิด จะเป็นหนึ่งในประเภทของความจำระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นทักษะในเรื่องของการขับรถ การขี่จักรยาน การชู้ตบาส เป็นต้น

ทั้งนี้คำว่า Muscle Memory ถือเป็นคำที่ค่อนข้างแพร่หลายและเป็นคำที่หลายๆคนเข้าใจกัน แต่ถ้าจะใช้ศัพท์ทางการแพทย์ หรือทางสรีรวิทยา

ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้
ทำซ้ำๆ จน “กล้ามเนื้อจำ” ได้. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/man-wearing-black-jacket-and-black-pants-3693131/

การดำเนินชีวิตประจำวันสามารถใช้หลักการของความจำกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆได้ เพราะหลักการของ Muscle Memory คือ การทำซ้ำจนกล้ามเนื้อจำได้ ซึ่งกระบวนการในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่ควรที่จะเร่งรีบมากจนเกินไป และจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลา เพราะทุกอย่างไม่สามารถเปลี่ยนไปได้ภายในพริบตาเดียว

ขอเพียงให้มั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังทำซ้ำอยู่นั้นเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าช่วงแรกๆจะยังไม่คล่อง แต่เวลาจะทำให้กล้ามเนื้อค่อยๆจดจำ และทำให้เกิดเป็นความเคยชินได้ในที่สุด ทั้งนี้ ระยะเวลาของความจำกล้ามเนื้ออาจจะอยู่ในช่วง 72 ชั่วโมงถึง 15 ปี หรืออาจจะเป็นไปอย่างถาวร และเป็นที่เชื่อกันว่าอายุของกล้ามเนื้อที่ได้ออกกำลังต่างกัน จะส่งผลต่อระยะเวลาที่ต่างกันไปด้วย

ประโยชน์ของ Muscle Memory โดยส่วนใหญ่แล้ว คือการฝึกฝนทักษะต่างๆที่จำเป็นในการชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่จะมีประโยชน์ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดขึ้นในทุกช่วงชีวิต ทำให้อาจหลงลืมไปบ้าง แต่หากกล้ามเนื้อจดจำได้แล้ว จะเรียกมันกลับมาใช้งานเมื่อไหร่เพียงแค่ปัดฝุ่นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถกลับมาทำได้ราวปาฎิหารย์

Muscle Memory ยังเป็นผลดีต่อนักกีฬาที่ต้องอาศัยทักษะบางอย่างที่ฝึกซ้อมมาอย่างยาวนาน เช่น การฝึกซ้อมวงสวิงของนักกอล์ฟ การฝึกชูตบาสของนักบาสเกตบอล หรือการง้างคันธนูของนักยิงธนู เป็นต้น นักกีฬาสามารถทำหรือเล่นกีฬาได้อย่างคล่องแคล่วและแม่นยำในทุกๆครั้ง เพราะกล้ามเนื้อจำทักษะที่ถูกฝึกมาอย่างหนักหน่วงและยาวนานได้อย่างแม่นยำแล้ว ต้องเอี่ยวตัวอย่างไร? หันทำมุมกี่องศา? หรือใช้แรงมากน้อยเท่าไหร่? สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการจดจำทางสมอง แต่กล้ามเนื้อจดจำไว้ให้แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ศักยภาพของบุคคลนั้นๆอย่างแน่นอน

มนุษย์ทุกคนล้วนแต่สามารถสร้างความจดจำของกล้ามเนื้อได้ หากผ่านการฝึกฝนในระยะเวลาที่นานตามที่ควรจะเป็น ซึ่งทักษะนี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และสามารถถูกพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องแบบไร้ข้อจำกัด ขอเพียงแค่คุณให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อมบางสิ่งบางอย่างด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และทำมันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทักษะใดก็ไม่ยากเกิดความสามารถของมนุษย์อย่างแน่นอน