การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, ผลไม้เพื่อสุขภาพ, ลด น้ำ หนัก, ลด อ้วน, ลดความอ้วน, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้, อาหารลดความอ้วน, อาหารเพื่อสุขภาพ, เกี่ยวกับโรค

ทำไมคำว่า ‘หวาน’ ของเราต่างกัน

ความหวานเป็นความรู้สึกพึงพอใจอันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน หรือการได้รับกลิ่นอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเข้าไปในร่างกาย ซึ่งระดับความหวานที่แต่ละบุคคลสัมผัสได้อาจไม่เท่ากันอันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ จะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาหาคำตอบกันที่นี้ได้เลย

ทำไมคำว่า ‘หวาน’ ของเราต่างกัน
ภาพจาก :http://immy724.deviantart.com/art/The-sweet-taste-of-success-179957176 ทำไมคำว่า ‘หวาน’ ของเราต่างกัน

 

สารให้ความหวานมีทั้งแบบที่พบได้ตามธรรมชาติและแบบที่ใช้สารเคมีบางอย่างช่วยในการสังเคราะห์ขึ้นมา ตัวอย่างความหวานในธรรมชาติ เช่น น้ำตาลในผักผลไม้ น้ำตาลในนม น้ำผึ้ง เป็นต้น ส่วนน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี เช่น น้ำตาลแอลกอฮอล์ น้ำตาลเทียม เป็นต้น ซึ่งอาหารแต่ละชนิดก็มีระดับของความหวานที่แตกต่างกัน รวมทั้งแต่ละคนก็มีความแตกต่างในการรับรสหวานที่ไม่เหมือนกันด้วย จึงทำให้ในโลกของเรานี้มีการปรุงแต่งรสหวานออกมาหลายแบบ หลายสไตล์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านรสหวานที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลนั่นเอง

แม้ว่าภายในปากของเราจะประกอบไปด้วยปุ่มรับรสมากมายกระจายอยู่ทั่วไปภายในช่องปาก แต่หากพูดถึงในด้านรสหวานแล้วนั้น กลไกการรับรสหวานจะเกิดขึ้นได้ดีที่บริเวณส่วนปลายลิ้นด้านหน้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยล
พบว่า ความร้อนหรือความเย็นของลิ้นสามารถทำให้การรับรสของลิ้นเปลี่ยนแปลงไปได้ กล่าวคือ หากเรารับประทานอาหารที่อุณหภูมิอุ่น บริเวณปลายลิ้นจะสามารถรับรสหวานได้ดี ส่วนบริเวณโคนลิ้นจะรับรสหวานได้เพียงเล็กน้อย แต่หากเรารับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิเย็น ส่วนของความเย็นจะนำมาซึ่งการรับรสเปรี้ยวที่ไวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ทำไมคำว่า ‘หวาน’ ของเราต่างกัน
ภาพจาก : http://www.nydailynews.com/life-style/health/15-sneaky-sources-sugar-article-1.1580421 ทำไมคำว่า ‘หวาน’ ของเราต่างกัน

จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าระดับความหวานที่แต่ละบุคคลสามารถสัมผัสได้จะแตกต่างกันไปตามเวลาและสภาพแวดล้อมบางอย่างที่ต่างกัน ระดับความหวานที่หลายๆคนชื่นชอบจะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

 1. ระดับความหิว-ความอิ่ม เคยหรือไม่ค่ะเวลาที่เรารับประทานอาหารใดก็ตามจนอิ่มท้องสุดๆแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าร่างกายยังจำเป็นต้องรับของหวานเข้ามาล้างปากอยู่ดี
แต่ในขณะที่เมื่อเรารับประทานของหวานจนอิ่มท้องแล้ว ความรู้สึกอยากจะรับประทานอาหารหวานที่เคยมีกลับหมดไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความหิวหรืออิ่มเป็นตัวการกำหนดความอยากหรือไม่อยากอาหารในคนเรา ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการเลือกรับประทานอาหารคาวหรือหวานนั่นเอง

2. อายุ เมื่อไล่ระดับความไวในการรับรสตามช่วงอายุต่างๆจะพบว่า คนในวัยเด็กจะมีความไวต่อรสหวานน้อยกว่าวัยหนุ่มสาวและผู้ใหญ่
ส่วนวัยหนุ่มสาวและผู้ใหญ่จะมีความไวต่อความหวานน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ
ดังนั้น จึงทำให้เด็กตั้งแต่แรกวัยแรกเกิดถึงอายุ10 ปี ชอบที่จะรับประทานอาหารรสหวานจัดหรือมีความเข้มข้นของน้ำตาลมากกว่าผู้ใหญ่
และเมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
ความชอบด้านความหวานก็จะค่อยลดลงเรื่อยๆตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปนั่นเอง
3. อารมณ์ ด้านของอารมณ์ก็เช่นกัน จากข้อมูลการวิจัยพบว่า ภาวะอารมณ์ที่ซึมเศร้าจะมีผลให้คนเราอยากที่จะรับประทานของหวานเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งหนึ่งในของหวานที่คนอารมณ์ขุ่นมัวชอบรับประทาน ก็คงหนีไม่พ้นช็อกโกแลต ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้ว ยังมีส่วนผสมอื่นๆที่ช่วยคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 4. ประสบการณ์ความชอบรสหวาน สำหรับประสบการณ์การรับรสหวานถือเป็นอีกปัจจัยที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อปริมาณการบริโภคของหวาน การที่แม่ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีรสหวานมาตั้งแต่เด็ก ย่อมส่งผลถึงพฤติกรรมการติดรสหวานตามมาจนโต ในขณะเดียวกัน หากเด็กเหล่านั้นไม่ได้ติดรสหวานมาก่อน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แนวโน้มการรับประทานหวานที่เพิ่มขึ้นก็จะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง

5. สิ่งแวดล้อมทางสังคม ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้คนเราบริโภครสหวานมากหรือน้อยแตกต่างกันไป ว่ากันว่า คนในเมืองมักจะบริโภคน้ำตาลสูงมากกว่าคนชนบท โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มาจากครอบครัวที่มีระดับการศึกษาน้อย มักพบว่าคนกลุ่มนี้ชอบที่จะบริโภคหวานในระดับสูงมากที่สุด ส่วนคนที่อยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงเหนือที่ระดับน้ำทะเลมากๆมักจะชอบกินหวานมากกว่าคนอื่นๆ เพื่อทดแทนภาวะการขาดออกซิเจนในที่สูง

6.รอบเดือน ผู้หญิงคนไหนที่กำลังอยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ลองสังเกตตัวเองดูสิว่า การรับประทานหวานของคุณเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพราะตามทฤษฎีแล้ว การรับรู้ความหวานจะมีการแปรเปลี่ยนไปตามรอบเดือน ยิ่งช่วงไหนที่ประจำเดือนกำลังจะมา จะสังเกตได้ว่าความอยากรับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์นั่นเอง

 7.การออกกำลังกาย เราจะพบว่า นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง มักจะลดความชอบในด้านการรับประทานอาหารรสหวานจัดและไขมันสูงได้ดีมากกว่าคนปกติที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

    จะเห็นได้ว่า ความอยากหรือความต้องการในการบริโภคอาหารหวานของคนเรานั้นแปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา สิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในร่างกายนับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความต้องการของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าคนเราไม่สามารถขาดรสหวานไปได้ ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานรสหวานในปริมาณที่เกินกว่าความต้องการ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราได้เช่นกัน

 

Sending
User Review
0 (0 votes)