หญิงตั้งครรภ์กับความเสี่ยงขาดน้ำ
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่คุณผู้หญิงจำเป็นจะต้องดูแลตัวเองให้ดีมากที่สุด เพราะนอกจากชีวิตของคุณแล้ว ยังมีอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะให้กำเนิดออกมาในอีกไม่ช้า ซึ่งก็เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของคุณเอง ทั้งนี้ การดูแลร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะต้องมีความละเอียดอ่อนมากกว่าคนทั่วๆไป ทั้งในด้านของสารอาหาร รวมถึงน้ำที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ หากมีการดื่มน้ำในที่ไม่เพียงพอ อาจจะมีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์คนนั้นเกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทั้งตัวเองและเด็กในครรภ์
ภาวะการขาดน้ำ (Dehydration) คือ การที่ร่างกายมีน้ำหรือของเหลวน้อยกว่าปริมาณน้ำหรือของเหลวที่สูญเสียไป ซึ่งจะมีผลให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานผิดปกติ และถือเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์
ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/a-woman-smelling-her-cup-of-hot-tea-7155642/
ทั้งนี้ ภาวะการขาดน้ำสามารถีเกิดได้มาจากหลายๆสาเหตุ ได้แก่
1 อาการแพ้ท้อง
ผู้หญิงประมาณ 50 % จะต้องพบเจอกับอาการแพ้ท้อง ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และทำให้มีการปัสสาวะมากกว่าปกติ รวมไปถึงอาการที่เหงื่อออกมากกว่าปกติด้วย เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีการเติมน้ำเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหากคุณเติมน้ำเข้าไปไม่เพียงพอ ก็ย่อมมีผลทำให้เกิดเป็นอาการขาดน้ำได้
2 ปริมาณเม็ดเลือดที่เพิ่มขึ้น
หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ขาดน้ำ ก็คือ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 50% ทำให้ร่างกายจำเป็นจะต้องได้รับน้ำในปริมาณที่มากกว่าปกติ หากคุณยังคงดื่มน้ำในปริมาณเท่าเดิม ก็ย่อมทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้
3 การสร้างน้ำคร่ำ
ในระหว่างการตั้งครรภ์จะต้องมีช่วงเวลาที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตอยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งจะเป็นน้ำที่ช่วยให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวและพัฒนาอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างสะดวก และยังช่วยปกป้องทารกจากแรงกระแทกต่างๆภายนอกร่างกายของคุณแม่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ การสร้างน้ำคร่ำจำเป็นจะต้องใช้น้ำ จึงอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกขาดน้ำได้
4 เสียเหงื่อมาก
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์อาจจะทำให้คุณแม่บางคนมีภาวะของอาการเหงื่อออกที่มากกว่าปกติ หรือรู้สึกขี้ร้อนกว่าที่เคยเป็น ดังนั้น ก็จะทำให้ร่างกายมีโอกาสสูญเสียน้ำที่มากขึ้น จึงอาจจะทำให้เกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้
5 ท้องเสีย
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาจจะพบว่าคุณแม่มีอาการท้องเสียได้บ่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้น จึงควรจะต้องมีการชดเชยด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำของคุณแม่นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/crop-pregnant-woman-taking-vitamins-6991891/
สำหรับสัญญาณหรืออาการของการขาดน้ำที่คุณสามารถสังเกตได้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกกระหายน้ำ ความรู้สึกร้อนมากกว่าปกติ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มขึ้น รวมไปถึงอาการต่างๆที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน ปวดศีรษะ ท้องผูก หรือมีการหดรัดตัวของมดลูก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้มากจนเกินไป เพราะหากคุณเกิดภาวะการขาดน้ำ ก็ยังสามารถบรรเทาภาวะนี้ได้ด้วยการพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือตกอยู่ในภาวะการขาดน้ำขั้นรุนแรง ก็ควรที่จะต้องให้คุณหมอช่วยรักษาให้ตรงจุด ทั้งนี้ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้ร่างกายเกิดภาวะการขาดน้ำที่รุนแรง เพราะนอกจากการมีผลกระทบในเรื่องของสุขภาพของคุณแม่แล้ว ยังส่งผลต่อลูกน้อยคุณด้วย
โดยผลกระทบที่เกิดกับคุณแม่ จะมีในส่วนของหัวใจที่เต้นรัวมากขึ้น การหายใจถี่มากขึ้น ความดันโลหิตที่ต่ำลง ผลิตน้ำนมได้น้อยลง เป็นตะคริวได้ง่าย หรือมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงมากขึ้น ส่วนผลกระทบต่อทารก อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการพิการตั้งแต่กำเนิดได้
แน่นอนว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน วิธีการในการป้องกันภาวะขาดน้ำของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จึงเป็นวิธีการในการปฏิบัติง่ายๆที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว ยังต้องไม่ลืมทำสิ่งเหล่านี้ด้วย
1 การงดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลสำคัญที่ทำให้คุณเกิดการขาดน้ำได้มากกว่าปกติ
2 หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนในร่างกายมากจนเกินไป และเกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้
3 การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อบรรเทาภาวะขาดน้ำในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้หากคุณแม่รู้สึกว่าการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีเลือดหรือของเหลวไหลออกมา มดลูกหดรัดตัว อาเจียน ไม่ปัสสาวะเลย หรือเป็นลมหมดสติ จำเป็นจะต้องรีบส่งตัวเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการทันที ก่อนที่จะเกิดเป็นอันตรายที่ร้ายแรงตามมา
ในส่วนของวิธีการรักษาภาวะขาดน้ำในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถที่จะรักษาได้หลายวิธี ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษาอาจจะเริ่มต้นจากการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา หรือการให้อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมของเหลวได้ดีมากขึ้น และช่วยบรรเทาอาการขาดน้ำได้
คนที่อยู่รอบข้างของหญิงตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความใส่ใจ และสังเกตอาการของคุณแม่อยู่เสมอ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะเกิดอาการบางอย่างที่สื่อให้เห็นถึงภาวะขาดน้ำได้
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่คุณผู้หญิงจำเป็นจะต้องดูแลตัวเองให้ดีมากที่สุด เพราะนอกจากชีวิตของคุณแล้ว ยังมีอีกหนึ่งชีวิตที่กำลังจะให้กำเนิดออกมาในอีกไม่ช้า ซึ่งก็เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของคุณเอง ทั้งนี้ การดูแลร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะต้องมีความละเอียดอ่อนมากกว่าคนทั่วๆไป ทั้งในด้านของสารอาหาร รวมถึงน้ำที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ หากมีการดื่มน้ำในที่ไม่เพียงพอ อาจจะมีผลทำให้หญิงตั้งครรภ์คนนั้นเกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทั้งตัวเองและเด็กในครรภ์
ภาวะการขาดน้ำ (Dehydration) คือ การที่ร่างกายมีน้ำหรือของเหลวน้อยกว่าปริมาณน้ำหรือของเหลวที่สูญเสียไป ซึ่งจะมีผลให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานผิดปกติ และถือเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์

ทั้งนี้ ภาวะการขาดน้ำสามารถีเกิดได้มาจากหลายๆสาเหตุ ได้แก่
1 อาการแพ้ท้อง
ผู้หญิงประมาณ 50 % จะต้องพบเจอกับอาการแพ้ท้อง ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และทำให้มีการปัสสาวะมากกว่าปกติ รวมไปถึงอาการที่เหงื่อออกมากกว่าปกติด้วย เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีการเติมน้ำเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหากคุณเติมน้ำเข้าไปไม่เพียงพอ ก็ย่อมมีผลทำให้เกิดเป็นอาการขาดน้ำได้
2 ปริมาณเม็ดเลือดที่เพิ่มขึ้น
หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ขาดน้ำ ก็คือ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 50% ทำให้ร่างกายจำเป็นจะต้องได้รับน้ำในปริมาณที่มากกว่าปกติ หากคุณยังคงดื่มน้ำในปริมาณเท่าเดิม ก็ย่อมทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้
3 การสร้างน้ำคร่ำ
ในระหว่างการตั้งครรภ์จะต้องมีช่วงเวลาที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตอยู่ในน้ำคร่ำ ซึ่งจะเป็นน้ำที่ช่วยให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวและพัฒนาอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างสะดวก และยังช่วยปกป้องทารกจากแรงกระแทกต่างๆภายนอกร่างกายของคุณแม่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ การสร้างน้ำคร่ำจำเป็นจะต้องใช้น้ำ จึงอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกขาดน้ำได้
4 เสียเหงื่อมาก
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์อาจจะทำให้คุณแม่บางคนมีภาวะของอาการเหงื่อออกที่มากกว่าปกติ หรือรู้สึกขี้ร้อนกว่าที่เคยเป็น ดังนั้น ก็จะทำให้ร่างกายมีโอกาสสูญเสียน้ำที่มากขึ้น จึงอาจจะทำให้เกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้
5 ท้องเสีย
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาจจะพบว่าคุณแม่มีอาการท้องเสียได้บ่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้น จึงควรจะต้องมีการชดเชยด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำของคุณแม่นั่นเอง

สำหรับสัญญาณหรืออาการของการขาดน้ำที่คุณสามารถสังเกตได้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกกระหายน้ำ ความรู้สึกร้อนมากกว่าปกติ ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มขึ้น รวมไปถึงอาการต่างๆที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน ปวดศีรษะ ท้องผูก หรือมีการหดรัดตัวของมดลูก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้มากจนเกินไป เพราะหากคุณเกิดภาวะการขาดน้ำ ก็ยังสามารถบรรเทาภาวะนี้ได้ด้วยการพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือตกอยู่ในภาวะการขาดน้ำขั้นรุนแรง ก็ควรที่จะต้องให้คุณหมอช่วยรักษาให้ตรงจุด ทั้งนี้ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้ร่างกายเกิดภาวะการขาดน้ำที่รุนแรง เพราะนอกจากการมีผลกระทบในเรื่องของสุขภาพของคุณแม่แล้ว ยังส่งผลต่อลูกน้อยคุณด้วย
โดยผลกระทบที่เกิดกับคุณแม่ จะมีในส่วนของหัวใจที่เต้นรัวมากขึ้น การหายใจถี่มากขึ้น ความดันโลหิตที่ต่ำลง ผลิตน้ำนมได้น้อยลง เป็นตะคริวได้ง่าย หรือมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงมากขึ้น ส่วนผลกระทบต่อทารก อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการพิการตั้งแต่กำเนิดได้
แน่นอนว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน วิธีการในการป้องกันภาวะขาดน้ำของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จึงเป็นวิธีการในการปฏิบัติง่ายๆที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว ยังต้องไม่ลืมทำสิ่งเหล่านี้ด้วย
1 การงดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจส่งผลสำคัญที่ทำให้คุณเกิดการขาดน้ำได้มากกว่าปกติ
2 หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนในร่างกายมากจนเกินไป และเกิดเป็นภาวะขาดน้ำได้
3 การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อบรรเทาภาวะขาดน้ำในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้หากคุณแม่รู้สึกว่าการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีเลือดหรือของเหลวไหลออกมา มดลูกหดรัดตัว อาเจียน ไม่ปัสสาวะเลย หรือเป็นลมหมดสติ จำเป็นจะต้องรีบส่งตัวเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการทันที ก่อนที่จะเกิดเป็นอันตรายที่ร้ายแรงตามมา
ในส่วนของวิธีการรักษาภาวะขาดน้ำในระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถที่จะรักษาได้หลายวิธี ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งวิธีการรักษาอาจจะเริ่มต้นจากการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา หรือการให้อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมของเหลวได้ดีมากขึ้น และช่วยบรรเทาอาการขาดน้ำได้
คนที่อยู่รอบข้างของหญิงตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความใส่ใจ และสังเกตอาการของคุณแม่อยู่เสมอ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะเกิดอาการบางอย่างที่สื่อให้เห็นถึงภาวะขาดน้ำได้