การดูแลสุขภาพ, การออกกำลังกาย, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้

หาว กับสัญญาณอันตราย

หาว กับสัญญาณอันตราย

 

การหาวถือเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่ร่างกายแสดงออกมาเพื่อที่ต้องการที่จะสูดอากาศเข้าไปให้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ การหาวของบางคนอาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือในขณะที่บางคนอาจจะไม่ค่อยเกิดขึ้นเลย หรือบางคนอาจจะหาวทุกครั้งเมื่อมีใครสักคนข้างๆที่กำลังหาวอยู่

เหตุผลใดปฏิกิริยาทางร่างกายนี้จึงมักเกิดขึ้นกับเรา และมีความลับอะไรที่ซ่อนอยู่ภายใต้การแสดงออกทางร่างกาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบเรียนรู้เหตุผลความเป็นมาของข้อมูลเหล่านี้ บทความนี้มีคำตอบให้คุณค่ะ

หาว กับสัญญาณอันตราย
หาว กับสัญญาณอันตราย. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/young-woman-awakening-in-bed-in-morning-7622506/

การหาว ถือเป็นหนึ่งในอาการที่เชื่อว่าไม่ว่าใครก็ต้องเคยเป็นมาก่อน ซึ่งนักวิจัยอาจจะยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการหาวได้ แต่ก็มีทฤษฎีสำคัญที่บ่งชี้ถึงสาเหตุของการหาวว่าโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นจากความง่วงนอน ความเหนื่อยล้า และความเบื่อหน่าย เพราะการที่เราเกิด 3 สิ่งที่กล่าวมานี้ มักจะทำให้ระบบการหายใจของเราไม่เป็นปกติ และการหาวจะเข้ามาช่วยทำให้การหายใจของเราได้รับการกระตุ้น ร่างกายจะสามารถนำเอาออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น และเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสเลือดได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงช่วยทุเลาความง่วง ความเมื่อยล้า หรือความเบื่อหน่ายได้ในทันที

มีอีกหนึ่งทฤษฎีที่กล่าวว่า…การหาวเป็นกระบวนการในการสร้างความเย็นแก่สมอง ทฤษฎีนี้นำเสนอว่าการหาวจะช่วยลดอุณหภูมิของสมองได้ โดยในขณะที่เราหาวจะเกิดการยืดของกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ซึ่งมันจะไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณลำคอ ใบหน้า และศีรษะ

การหายใจเข้าลึกในขณะที่เกิดอาการหาว จะทำให้อากาศเย็นผ่านเข้าไปในช่องปาก และอากาศเย็นเหล่านี้ก็จะไปเพิ่มความเย็นให้แก่น้ำไขสันหลังและเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองต่อไปนั่นเอง

ทฤษฎีที่พูดถึงสาเหตุของการหาว ก็คือ การหาวจะช่วยยืดเนื้อเยื่อปอด รวมไปถึงกล้ามเนื้อข้อต่อต่างๆ ซึ่งจะไปช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้ผู้ที่กำลังหาวอยู่รู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ดีมากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นความเชื่อว่าการหาวจะช่วยกระตุ้นสารหล่อลื่นภายในปอด ทำให้เนื้อเยื่อภายในปอดมีความชุ่มชื้น และป้องกันปอดทำงานล้มเหลว และยังเชื่ออีกว่าหากเราไม่มีการหาวเลยจะทำให้การหายใจเข้าลึกๆเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

หาว กับสัญญาณอันตราย
หาว กับสัญญาณอันตราย. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/tired-lady-yawning-while-preparing-for-exams-at-home-7034619/

ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีใดที่กล่าวถึงความเชื่อหรือสาเหตุในการหาว เราก็เชื่อได้ว่ากลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นนี้ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้ หลายๆคนยังเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีที่เราพบเห็นคนหนึ่งกำลังหาวอยู่ จะยิ่งทำให้เรามีความรู้สึกอยากหาวขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน เหตุผลก็เพราะว่าการที่คนๆหนึ่งกำลังหาวอยู่ เขาอาจจะกำลังสูดออกซิเจนเข้าไปในร่างกายและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในสภาวะแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งการที่เราอยู่ในสภาวะแวดล้อมเดียวกันนั้น อาจจะทำให้ออกซิเจนของเราตกต่ำลง จนทำให้ร่างกายโหยหาอากาศที่เต็มไปด้วยออกซิเจน และทำให้เกิดเป็นกลไกการหาวตามมานั่นเอง

เราสามารถบรรเทาอาการหาวได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น การนอนหลับให้เต็มที่ การกำจัดอุปสรรคที่รบกวนการนอน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการ การทำกิจกรรมนอกบ้านและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงด้วยอาการอ่อนเพลีย การงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน การไม่สูบบุหรี่ และการไม่ใช้ยาเสพติด

ทั้งนี้ เราสามารถบรรเทาอาการหาวได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ การกำจัดอุปสรรคที่รบกวนการนอนหรือการตื่นการดึก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ การทำกิจกรรมนอกบ้านและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงเป็นอาการอ่อนเพลีย การงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน การไม่สูบบุหรี่ และการไม่ใช้ยาเสพติด เป็นต้น

ส่วนใครที่มักจะเกิดอาการหาวบ่อยๆ โดยมีการหาวมากกว่า 1 ครั้งต่อนาที อาจจะเป็นเพราะคุณกำลังมีความผิดปกติบางอย่างที่เป็นผลพวงมาจากโรคบางโรค ไม่ว่าจะเป็น

1 ปัญหาการนอน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคลมหลับ

2 ผลข้างเคียงจากการใช้ยาในกลุ่มรักษาโรคซึมเศร้าหรือรักษาภาวะวิตกกังวล

3 ภาวะอาการป่วยที่รุนแรง ซึ่งถือแม้ว่ามีโอกาสการพบที่ค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเกิดว่าคุณมีอาการหาวบ่อยๆ อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะกำลังเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลมชัก ไตวาย เนื้องอกในสมอง เป็นต้น

ถึงแม้ว่าการหาวจะไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆต่อร่างกาย แต่หากว่าสิ่งเหล่านี้เป็นบ่อยจนกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือคุณไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการหาว เราก็แนะนำให้คุณเดินเข้าไปหาแพทย์เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยอาการด้วยการซักถามประวัติ และอาจจะมีการตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อตามหาความจริง รวมไปถึงอาจจะมีการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography) คลื่นสมองไฟฟ้า (Electroencephalogram: EEG) หรือ การฉายภาพด้วยเครื่องสแกนสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) ในกรณีที่มีความผิดปกติที่ร้ายแรงมากขึ้น

อาการหาวไม่จำเป็นต้องรักษาให้หายไป เพราะมันถือเป็นอาการที่ใครก็สามารถเกิดขึ้นได้ และการหาวก็เป็นหนึ่งในวิธีง่ายๆที่ร่างกายใช้เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่การหาวที่มากเกินไปเข้าไปกระทบกับการใช้ชีวิต หรือเป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ คุณก็ต้องรีบเรียนรู้และหาทางแก้ไขมันได้อย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ผลร้ายแรงของมันมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อตัวคุณเอง

Sending
User Review
0 (0 votes)