การดูแลสุขภาพ, บทความน่ารู้, บทความสุขภาพ, สุขภาพ, สุขภาพดี, สุขภาพน่ารู้

โรคขาดความรักไม่ได้

โรคขาดความรักไม่ได้

ความรักทำให้โลกสดใส ความรักช่วยเติมเต็มให้ชีวิตสมบูรณ์แบบ และใครก็ตามที่มีความรักไม่ว่าจะเป็นความรักจากครอบครัวหรือความรักจากคู่รัก ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สวยงามทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ ใครหลายคนจึงพยายามไขว่คว้าหาความรัก แต่ก็มีคนบางคนมีอาการหนักไปกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นอาการที่มีความต้องการความรักที่สูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการแสดงอารมณ์หรือท่าทางที่เกินกว่าคนทั่วไป เพื่อดึงดูดความสนใจต่อคนรอบข้าง ซึ่งเราอาจจะรู้จักกันในนามของ “โรคฮิสทีเรีย”

ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้ คิดว่าเป็นโรคที่รุนแรงและขาดความรักไม่ได้ ลองมาเรียนรู้กันใหม่ และทำความเข้าใจกับโรคนี้กันอย่างถูกต้องอีกครั้งหนึ่งค่ะ

โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดได้กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใครก็ตามที่มีปัญหาโรคนี้จะมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์หรือความวิตกกังวลตัวเองได้ต่ำ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ไม่เท่ากับที่คนปกติทั่วไป แต่ไม่ได้เป็นอาการขาดผู้ชายไม่ได้อย่างที่ใครหลายๆคนอาจจะเคยเข้าใจกัน

ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/person-holding-white-printer-paper-3826670/

ฮิสทีเรียไม่ใช่โรคทางจิตใจที่ร้ายแรง คนที่มีอาการฮิสทีเรียยังสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป เพียงแต่พวกเขาอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนปกติ หรือมีทักษะบางอย่างที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในสังคม โดยพอจะกล่าวถึงอาการที่บ่งบอกว่ากำลังป่วยเป็นฮิสทีเรีย ได้ดังนี้

– รู้สึกไม่สบายใจเมื่อตนเองไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง

– มีอารมณ์แปรปรวน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

– มักจะชอบดึงดูดความสนใจจากผู้อื่นโดยการแสดงออกพฤติกรรมทางกาย

– สามารถพูดหรือแสดงออกเพื่อสร้างความประทับใจได้อย่างเกินจริง

– มักถูกครอบงำจากผู้อื่นได้ง่าย

โรคฮิสทีเรีย สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่

1 โรคประสาทฮิสทีเรีย ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการรับรู้และการเคลื่อนไหว โดยอาการที่มีจะกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรง แต่หากต้องการตรวจพิสูจน์ทางการแพทย์ อาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ เพราะโรคนี้เกิดขึ้นมาจากจิตใจของผู้ป่วยล้วนๆ

2 โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย สำหรับโรคนี้อาจจะพบได้น้อยกว่าโรคชนิดแรก สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยต้องการที่จะเป็นจุดสนใจจากคนรอบข้าง จึงมักจะมีการพูดจาหรือแสดงท่าทางเกินจริง และผู้ป่วยโรคนี้มักจะทนไม่ได้เมื่อไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง

สำหรับต้นเหตุของโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย มักจะเป็นสาเหตุมาจากความฝังใจในอดีต ที่พวกเขาอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความผิดหวังมากๆ ไม่สมหวังในบางสิ่งบางอย่าง หรืออาจจะเป็นเพราะได้รับการสั่งสอนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับความรักหรือความเข้าใจที่มากเพียงพอ จนทำให้เกิดเป็นอาการโหยหาความรัก แต่กลับไม่ได้ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งแต่อย่างใด

ในปัจจุบัน…ยังไม่สามารถที่จะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดบุคลิกที่ผิดปกติเช่นนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ก็พบว่ามีปัจจัยบางประการที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรมจากครอบครัว การเรียนรู้พฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก การใกล้ชิดกับคนรอบข้าง การเลี้ยงดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว รวมไปถึงปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดการอารมณ์และความเครียดในแต่ละบุคคล หากเกิดปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ก็สามารถนำไปสู่ความผิดปกติได้ทั้งสิ้น

ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/brown-steel-letter-b-wall-decor-4065880/

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบรรเทาความเจ็บป่วยนี้ ก็คือ การอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเอง เพราะนี่เป็นโรคที่เกิดจากจิตใจ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติทั่วไป คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจ และใส่ใจกับความผิดปกติดังกล่าว รวมไปถึงการให้เวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้พวกเขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตในอนาคตตามแบบที่คนปกติเป็นได้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับวิธีการรักษาต้องบอกว่าเนื่องจากโรคฮิสทีเรียอาจไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวเองว่ามีอาการป่วยดังกล่าวนี้ ทั้งที่จริงๆแล้วกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงความผิดปกติ ก็จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา โดยมีวิธีในการรักษาโรค 3 แนวทาง ได้แก่

1 จิตบำบัดอย่างลึก 2 จิตบำบัดเฉพาะตัว และ 3 จิตบำบัดแบบกลุ่ม

ไม่ว่าจะเป็นการรักษาในลักษณะใด การรักษาเหล่านี้จะเน้นการบำบัดทางจิตใจทั้งสิ้น และหากผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า แพทย์อาจจะพิจารณาให้มีการใช้ยาร่วมด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างดีมากที่สุดนั่นเอง

 

การอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้ป่วยเองและจากคนรอบข้าง เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้โรคที่เกิดจากจิตใจนี้จางหายไป ระยะเวลาในการฟื้นฟูสำหรับแต่ละบุคคลอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับของอาการ ความร่วมมือของผู้ป่วย และการได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง

การใส่ใจกับความผิดปกติของคนรอบข้าง รวมไปถึงการให้เวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง จะทำให้ผู้ป่วยฮิสทีเรียกลับมาปกติเป็นได้อีกครั้งหนึ่ง ขอเพียงแค่อย่ามองพวกเขาเป็นคนไม่ปกติ รังเกียจ หรือขับไล่พวกเขาออกจากสังคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว

 

ความรักทำให้โลกสดใส ความรักช่วยเติมเต็มให้ชีวิตสมบูรณ์แบบ และใครก็ตามที่มีความรักไม่ว่าจะเป็นความรักจากครอบครัวหรือความรักจากคู่รัก ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สวยงามทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ ใครหลายคนจึงพยายามไขว่คว้าหาความรัก แต่ก็มีคนบางคนมีอาการหนักไปกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นอาการที่มีความต้องการความรักที่สูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการแสดงอารมณ์หรือท่าทางที่เกินกว่าคนทั่วไป เพื่อดึงดูดความสนใจต่อคนรอบข้าง ซึ่งเราอาจจะรู้จักกันในนามของ “โรคฮิสทีเรีย”

ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้ คิดว่าเป็นโรคที่รุนแรงและขาดความรักไม่ได้ ลองมาเรียนรู้กันใหม่ และทำความเข้าใจกับโรคนี้กันอย่างถูกต้องอีกครั้งหนึ่งค่ะ

โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คือ เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดได้กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใครก็ตามที่มีปัญหาโรคนี้จะมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์หรือความวิตกกังวลตัวเองได้ต่ำ รวมถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ไม่เท่ากับที่คนปกติทั่วไป แต่ไม่ได้เป็นอาการขาดผู้ชายไม่ได้อย่างที่ใครหลายๆคนอาจจะเคยเข้าใจกัน

โรคขาดความรักไม่ได้. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/person-holding-white-printer-paper-3826670/

ฮิสทีเรียไม่ใช่โรคทางจิตใจที่ร้ายแรง คนที่มีอาการฮิสทีเรียยังสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป เพียงแต่พวกเขาอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนปกติ หรือมีทักษะบางอย่างที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในสังคม โดยพอจะกล่าวถึงอาการที่บ่งบอกว่ากำลังป่วยเป็นฮิสทีเรีย ได้ดังนี้

– รู้สึกไม่สบายใจเมื่อตนเองไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง

– มีอารมณ์แปรปรวน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

– มักจะชอบดึงดูดความสนใจจากผู้อื่นโดยการแสดงออกพฤติกรรมทางกาย

– สามารถพูดหรือแสดงออกเพื่อสร้างความประทับใจได้อย่างเกินจริง

– มักถูกครอบงำจากผู้อื่นได้ง่าย

โรคฮิสทีเรีย สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่

1 โรคประสาทฮิสทีเรีย ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการรับรู้และการเคลื่อนไหว โดยอาการที่มีจะกำเริบรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งทางจิตใจอย่างรุนแรง แต่หากต้องการตรวจพิสูจน์ทางการแพทย์ อาจจะไม่พบความผิดปกติใดๆ เพราะโรคนี้เกิดขึ้นมาจากจิตใจของผู้ป่วยล้วนๆ

2 โรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย สำหรับโรคนี้อาจจะพบได้น้อยกว่าโรคชนิดแรก สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยต้องการที่จะเป็นจุดสนใจจากคนรอบข้าง จึงมักจะมีการพูดจาหรือแสดงท่าทางเกินจริง และผู้ป่วยโรคนี้มักจะทนไม่ได้เมื่อไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง

สำหรับต้นเหตุของโรคบุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย มักจะเป็นสาเหตุมาจากความฝังใจในอดีต ที่พวกเขาอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความผิดหวังมากๆ ไม่สมหวังในบางสิ่งบางอย่าง หรืออาจจะเป็นเพราะได้รับการสั่งสอนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับความรักหรือความเข้าใจที่มากเพียงพอ จนทำให้เกิดเป็นอาการโหยหาความรัก แต่กลับไม่ได้ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งแต่อย่างใด

ในปัจจุบัน…ยังไม่สามารถที่จะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดบุคลิกที่ผิดปกติเช่นนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ก็พบว่ามีปัจจัยบางประการที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรมจากครอบครัว การเรียนรู้พฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก การใกล้ชิดกับคนรอบข้าง การเลี้ยงดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว รวมไปถึงปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดการอารมณ์และความเครียดในแต่ละบุคคล หากเกิดปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ก็สามารถนำไปสู่ความผิดปกติได้ทั้งสิ้น

โรคขาดความรักไม่ได้. — ภาพจาก : https://www.pexels.com/photo/brown-steel-letter-b-wall-decor-4065880/

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบรรเทาความเจ็บป่วยนี้ ก็คือ การอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเอง เพราะนี่เป็นโรคที่เกิดจากจิตใจ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติทั่วไป คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจ และใส่ใจกับความผิดปกติดังกล่าว รวมไปถึงการให้เวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้พวกเขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตในอนาคตตามแบบที่คนปกติเป็นได้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับวิธีการรักษาต้องบอกว่าเนื่องจากโรคฮิสทีเรียอาจไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวเองว่ามีอาการป่วยดังกล่าวนี้ ทั้งที่จริงๆแล้วกำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยรับรู้ถึงความผิดปกติ ก็จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา โดยมีวิธีในการรักษาโรค 3 แนวทาง ได้แก่

1 จิตบำบัดอย่างลึก 2 จิตบำบัดเฉพาะตัว และ 3 จิตบำบัดแบบกลุ่ม

ไม่ว่าจะเป็นการรักษาในลักษณะใด การรักษาเหล่านี้จะเน้นการบำบัดทางจิตใจทั้งสิ้น และหากผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า แพทย์อาจจะพิจารณาให้มีการใช้ยาร่วมด้วย เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างดีมากที่สุดนั่นเอง

การอาศัยความร่วมมือจากทั้งตัวผู้ป่วยเองและจากคนรอบข้าง เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้โรคที่เกิดจากจิตใจนี้จางหายไป ระยะเวลาในการฟื้นฟูสำหรับแต่ละบุคคลอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับของอาการ ความร่วมมือของผู้ป่วย และการได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง

การใส่ใจกับความผิดปกติของคนรอบข้าง รวมไปถึงการให้เวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างจริงจัง จะทำให้ผู้ป่วยฮิสทีเรียกลับมาปกติเป็นได้อีกครั้งหนึ่ง ขอเพียงแค่อย่ามองพวกเขาเป็นคนไม่ปกติ รังเกียจ หรือขับไล่พวกเขาออกจากสังคม ก็คงจะเพียงพอแล้ว

User Review
0 (0 votes)

Enjoy this blog? Please spread the word :)

Exit mobile version